ประกาศ

ขอเชิญชวนเข้าร่วมค้นหาพื้นที่ตัวอย่าง เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) ขอเชิญชวนหน่วยงานต่าง ๆ และผู้ที่สนใจ ร่วมค้นหาพื้นที่ตัวอย่าง เพื่อถอดบทเรียนรายประเด็น จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคส่วน ‘เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย’ร่วมส่งพื้นที่ตัวอย่างและข้อเสนอเข้าร่วมกิจกรรม ภายใต้โครงการ “การสร้างวงจรแห่งการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย” โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้1) พื้นที่ ที่มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่มีความเกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม โดยใช้หลักการการพัฒนาที่ยั่งยืน2) พื้นที่ ที่มีความร่วมมือระหว่างภาคส่วน หรือทำงานร่วมมือแบบบูรณาการ3) พื้นที่ ที่พร้อมเข้าสู่กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเป็นตัวอย่างให้กับพื้นที่อื่นพื้นที่ที่ได้รับเลือกจะได้รับใบประกาศนียบัตร ของที่ระลึก การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง SDGs และสนับสนุนให้เป็นพื้นที่ตัวอย่างในการถอดบทเรียนเพื่อนำเสนอในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคส่วน “เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2566ระยะเวลาในการรับสมัคร: ตั้งแต่วันนี้ – 12 กุมภาพันธ์ 2566อ่านข้อมูลเพิ่มเติม ...

การประชุมสัมมนานานาชาติเรื่อง อุตสาหกรรมสีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ครั้งที่ 5

ขอเรียนเชิญทุกท่านเข้าร่วมการประชุมสัมมนานานาชาติเรื่อง “อุตสาหกรรมสีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (5th Green Industry Conference: Green Industry for Sustainable Development)” หรือ GIC5 จัดโดยองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) ร่วมกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) และกระทรวงอุตสาหกรรม ระหว่างวันที่ 3-5 ตุลาคม 2561 ณ ศูนย์ประชุมแห่งสหประชาชาติ (UNCC) ถนนราชดำเนินนอก ท่านที่สนใจ โปรดลงทะเบียนออนไลน์ได้ https://www.unido.org/5th-green-industry-conference-sustainable-development ภายในวันที่ 15 กันยายน 2561ผู้จัดการประชุมสัมมนายินดีต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมจากทุกภาคส่วน ทั้ง ภาครัฐ ภาคธุรกิจรายใหญ่ วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และขนาดเล็ก สถาบันวิชาการและมหาวิทยาลัย และภาคประชาสังคมสำหรับหน่วยงาน องค์กร สถาบัน และบริษัทที่สนใจร่วมเปิดบู้ทนิทรรศการแลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ...

การประชุมหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 5

การประชุมหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 5 มุ่งเน้นในหัวข้อ  “การเปลี่ยนแปลงผ่านสู่สังคมที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน”นอกจากการหารือในหัวข้อการประชุมที่จัดขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2561 ในเรื่องของการเมืองระดับสูงด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (HLPF 2018) ซึ่งสัมพันธ์กับมุมมองในระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาค โดยการเตรียมความพร้อมนี้จะทบทวนกลุ่มเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)ที่จะหารือในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ HLPF 2018 ได้แก่ เป้าหมายที่ 6 (การจัดการน้ำและสุขาภิบาล) เป้าหมายที่ 7  (พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้) เป้าหมายที่ 11 (เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน) เป้าหมายที่ 12 (แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน) เป้าหมายที่ 15 (การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก) และเป้าหมายที่ 17 (ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน)วันที่: 28-30 มีนาคม 2561สถานที่: กรุงเทพมหานคร ประเทศไทยติดต่อ: คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)อีเมล์: escap-apfsd@un.orgเว็บไซต์: http://www.unescap.org/events/apfsd5สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชม ที่นี่ ...

UNESCO Hackathon ในงาน FOSSASIA Summit

UNESCO Hackathon ในงาน FOSSASIA Summit จะจัดขึ้นตั้งแต่วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม ถึง วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2561 ที่สถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประเทศสิงคโปร์งานนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อรวมความคิดของพลเมืองต่อนักประดิษฐ์ แฮกเกอร์ นักวิทยาศาสตร์ และผู้ผลิตจากทั่วโลก ในเอเชีย สร้างแอพพลิเคชันและเกมโอเพ่นซอร์สที่สามารถจัดการกับปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ สภาพแวดล้อม และความท้าทายในการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงการส่งเสริมสตรีและให้สตรีมีส่วนร่วมในการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถทำซ้ำและสามารถปรับได้โดย hackathon เป็นเหตุการณ์ความร่วมมือที่ครอบคลุม ที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียและภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมและการลงทะเบียน กรุณาคลิก  ที่นี่ ...

UNESCO Hackathon

การประชุมหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 5 : การเปลี่ยนแปลงผ่านสู่สังคมที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน

ในฐานะการเตรียมความพร้อมระดับภูมิภาคและครบวงจรสำหรับประชุมการเมืองระดับสูงด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (HLPF) ที่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (Economic and Social Council : ECOSOC) เป็นเจ้าภาพ การประชุมจะจัดขึ้นที่สำนักงานใหญ่นครนิวยอร์กในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2561 โดยการประชุมหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย-แปซิฟิกจะประกอบด้วยประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ หน่วยงานระหว่างประเทศ กลุ่มต่างๆ และผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆที่ให้ความสำคัญกับมุมมองของภูมิภาคและอนุภูมิภาคในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมืองระดับสูงด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน พ.ศ.2561 ในหัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงผ่านสู่สังคมที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน” สำหรับการประชุมจะเป็นการทบทวนกลุ่มเป้าหมายในเชิงลึกของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองระดับสูง ได้แก่ เป้าหมายที่ 6 (การจัดการน้ำและสุขาภิบาล) เป้าหมายที่ 7  (พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้) เป้าหมายที่ 11 (เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน) เป้าหมายที่ 12 (แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน) เป้าหมายที่ 15 (การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก) และเป้าหมายที่ 17 (ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) รวมถึงการเชื่อมโยงกลุ่มเป้าหมายและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอื่นๆ การประชุมสนับสนุนการนำเสนอผลการทบทวนระดับนานาชาติและจะประเมินความคืบหน้าเกี่ยวกับแผนนำทางสู่เป้าหมายในระดับภูมิภาคสำหรับวาระการประชุมหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย-แปซิฟิกที่จะจัดขึ้นในปี พ.ศ.2573กิจกรรมที่จะจัดขึ้นก่อนเวทีประชาสังคม ...

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

fKfKU
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!