ด้านประชากร
ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ชนเผ่าพื้นเมือง 10 กลุ่มชาติพันธ์ุกลายเป็นกลุ่มประชากรขนาดเล็กของประชากรในหมู่บ้านจากการพัฒนาท้ังโครงสร้างและบริบทพื้นที่หมู่บ้านตามความหมายของทางราชการ ประชากรชนเผ่าพื้นเมืองจึงกลายเป็นคนกลุ่มน้อยของหมู่บ้าน ส่งผลให้จำนวนประชากรชนเผ่าพื้นเมืองมีผลต่อการบริหารอำนาจการตัดสินใจและเข้าถึงการบริการของภาครัฐของหมู่บ้าน
ด้านเศรษฐกิจ
นโยบายจากภาครัฐและการเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมายส่งผลกระทบอย่างมากต่อวิถีการดำรงชีวิตของชนเผ่าพื้นเมือง โดยเฉพาะส่งผลต่อการอพยพเคลื่อนย้ายถิ่นทำกิน ข้อมูลที่รวบรวมในการศึกษาครั้งนี้แสดงถึงข้อกังวลด้านเศรษฐกิจของชนเผ่าพื้นเมืองทั้ง 10 กลุ่มคือ ความไม่มั่นคงในที่ดินทำกิน ความสามารถในการเข้าถึงและจัดการทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน และรายได้ที่มาจากการเป็นแรงงานรับจ้างตามฤดูกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองชาวประมงในภาคใต้
ด้านสังคม
การศึกษาแสดงให้เห็นถึงข้อกังวลของชนเผ่าพื้นเมืองด้านการสูญเสียเอกลักษณ์ รวมถึงภาษาพูดของชนเผ่าพื้นเมือง และพิธีกรรมและแนวปฏิบัติทางวัฒนธรรมต่าง ๆ ถึงแม้จะมีความพยายามในการอนุรักษ์หรือฟื้นฟูวัฒนธรรมของชนเผ่าพื้นเมือง แต่ปัจจุบันแนวปฏิบัติและพิธีกรรมในระดับครัวเรือนเริ่มลดลง
ด้านการเมือง
ประชากรชนเผ่าพื้นเมืองหลายคนยังไม่ได้รับสัญชาติไทย นั่นก็หมายถึงว่าไม่ได้รับสิทธิบริการและสวัสดิการพื้นฐานด้วย จึงมีการคาดหวังว่าการขับเคลื่อนของสถาบันของชนเผ่าพื้นเมืองจะช่วยให้ผู้นำของชนเผ่าพื้นเมืองในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์มีอำนาจและธำรงอำนาจของความเป็นชนเผ่าพื้นเมืองไว้อย่างมั่นคง มีการตัดสินใจด้วยตนเอง และมีศรัทธาในความเป็นตัวตนชนเผ่าพื้นเมือง
คุณสามารถดาวน์โหลดและอ่านรายงานสังเคราะห์ฉบับเต็มเพิ่มเติมได้
References
- 1. มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม. 2561. รายงานสังเคราะห์ ความเป็นคนชายขอบของชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มเปราะบาง ในประเทศไทย. เข้าถึงเมื่อสิงหาคม 2563.