การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) หมายถึง การลงทุนข้ามพรมแดนที่นักลงทุนจากประเทศหนึ่งมีความสนใจในการลงทุนและสร้างอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อองค์กรในอีกประเทศอื่น การลงทุนประเภทนี้เกี่ยวข้องกับการไหลของเงินทุนจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง โดยนักลงทุนต่างชาติจะได้รับสิทธิ์ในการถือหุ้นในบริษัทและทรัพย์สินของประเทศเจ้าบ้านจำนวนมากพอที่มีผลต่อการควบคุมการดำเนินกิจการ การลงทุนจากต่างประเทศ จึงหมายถึงการที่นักลงทุนต่างชาติมีบทบาทในการบริหารจัดการหรือถือหุ้นจำนวนมากในระดับที่สามารถมีอิทธิพลต่อกลยุทธ์ทางธุรกิจขององค์กรนั้นได้

ประเทศไทยถือเป็น ‘ประเทศอุตสาหกรรมใหม่’ โดยเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจเกษตรกรรมไปสู่เศรษฐกิจอุตสาหกรรม มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อยู่ที่ 1.517 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ณ สิ้นปี พ.ศ. 2566 ซึ่งทำให้เป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 9 ในเอเชีย1 ประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรและเอื้อประโยชน์ต่อนักลงทุนชาวต่างชาติ2 อย่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตั้งแต่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2509  

นอกเหนือจากการลงทุนภายในประเทศแล้ว ประเทศไทยยังเป็นหนึ่งในนักลงทุนที่สำคัญที่สุดในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) โดยเฉพาะในประเทศต่าง ๆ เช่น กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม รวมถึงการลงทุนในโครงการที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน เช่น โครงการพลังงานน้ำ เป็นต้น

กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ

พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 เป็นกฎหมายที่กำกับดูแลกิจกรรมการลงทุนโดยบุคคลที่ไม่ใช่คนไทยโดยเฉพาะ โดยเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2564 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการด้านการเข้าเมือง ภาษี และการถือครองที่ดิน เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ผู้เกษียณอายุที่มีความมั่งคั่ง ผู้เชี่ยวชาญที่สามารถทำงานจากระยะไกลในประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะสูง อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวกำหนดกลุ่มธุรกิจบางประเภทที่ชาวต่างชาติไม่สามารถดำเนินการได้หากไม่มีใบอนุญาตเพิ่มเติมหรือการได้รับการยกเว้น เช่น ธนาคาร การประกันภัย และการสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งเป็นกิจการที่สงวนไว้สำหรับคนไทย โดยการถือหุ้นของชาวต่างชาติในธุรกิจเหล่านี้จะถูกจำกัดไม่เกิน 50% ของการลงทุนทั้งหมด

กฎหมายสำคัญอื่นๆ ที่กำกับดูแลการลงทุนของชาวต่างชาติ ได้แก่ พระราชบัญญัติการทำงานคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 หากคุณเป็นชาวต่างชาติที่ต้องการทำงานในประเทศไทย คุณต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 ซึ่งกำหนดให้ต้องขอใบอนุญาตทำงานจากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน หรือเข้าข่ายได้รับยกเว้นตามที่ระบุไว้ในกฎหมายดังกล่าว สำหรับพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จะดำเนินนโยบายส่งเสริมการลงทุน ซึ่งมุ่งดึงดูดและสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงสิทธิประโยชน์ทั้งด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี สิทธิประโยชน์ด้านภาษีประกอบด้วยการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในช่วงระยะเวลาที่กำหนด และการยกเว้นอากรนำเข้าสำหรับเครื่องจักรและวัตถุดิบในระยะแรกของธุรกิจ สิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษีรวมถึงการช่วยเหลือในการขอใบอนุญาตทำงานสำหรับพนักงานต่างชาติ อาจมีการอนุญาตให้ถือครองที่ดินโดยชาวต่างชาติ (ซึ่งโดยทั่วไปจะสงวนไว้สำหรับคนไทย) และโอกาสในการถือหุ้นทั้งหมดโดยชาวต่างชาติในหลากหลายภาคส่วนที่ได้รับการส่งเสริมโดยบีโอไอ

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม รับผิดชอบในการพัฒนาและจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมตามนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของรัฐบาล โดยให้บริการที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ พร้อมทั้งมอบสิทธิประโยชน์และสิทธิพิเศษแก่ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม บริการแบบเบ็ดเสร็จของกนอ. ครอบคลุมความต้องการต่างๆ อย่างครบวงจร รวมถึงการซื้อและเช่าที่ดิน คำแนะนำเกี่ยวกับสถานที่ตั้งโรงงาน และการออกใบอนุญาตโรงงาน

นักลงทุนหลัก

ในทุกปีระหว่างปี พ.ศ. 2558 ถึง 2565 ญี่ปุ่นเป็นนักลงทุนหลักในประเทศไทย อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2566 จีนได้กลายเป็นนักลงทุนต่างชาติอันดับหนึ่งในประเทศไทย ตามมาด้วยสิงคโปร์ที่เป็นอันดับสอง และสหรัฐอเมริกาที่อยู่ในอันดับสาม ด้วยโครงการจำนวน 40 โครงการ มูลค่า 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ญี่ปุ่นอยู่ในอันดับที่สี่ และไต้หวันอยู่ในอันดับที่ห้า และในปี พ.ศ. 2566 ยังเป็นปีที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) บันทึกจำนวนคำขอการลงทุนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวจากการชะลอตัวของการลงทุนในช่วงที่ COVID-19 ระบาดหนัก

ตามรายงานของกรมประชาสัมพันธ์ ในช่วงห้าเดือนแรกของปี พ.ศ. 2567 บริษัทต่างชาติทั้งหมด 317 แห่งได้รับการอนุมัติให้ลงทุนในประเทศไทย โดยญี่ปุ่นยังคงเป็นนักลงทุนหลัก มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติทั้งหมด 84 โครงการ มูลค่า 40,214 ล้านบาท ตามด้วยสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา จีน และฮ่องกง ซึ่งเป็นนักลงทุน 5 อันดับแรกในช่วงเวลานี้3

อุตสาหกรรมและภาคส่วนการลงทุน  

ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา โดยจีนได้ย้ายบางส่วนของห่วงโซ่อุปทานมายังประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ และยานยนต์ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลไทยที่ต้องการพัฒนาประเทศให้เป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของภูมิภาคนี้ รัฐบาลไทยได้เห็นแผนการลงทุนจากผู้ผลิตรถยนต์ เช่น Mercedes ของเยอรมนี และ Great Wall Motor ของจีน4

ปัจจุบัน รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการลงทุนในอุตสาหกรรมหลักๆ ต่อไปนี้ (1) อุตสาหกรรมชีวภาพ-หมุนเวียน-สีเขียว (bio-circular-green industries) (2) รถยนต์ไฟฟ้า (3) อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (4) อุตสาหกรรมดิจิทัล และ (5) อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเน้นการลงทุนในอุตสาหกรรมเหล่านี้ภายในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง สิทธิประโยชน์สำหรับการลงทุนในเขตนี้รวมถึงการลดหย่อนภาษี ข้อยกเว้นด้านกฎระเบียบ และการเสนอสิ่งอำนวยความสะดวกด้านโครงสร้างพื้นฐานระดับสูง จากบริษัทต่างชาติทั้งหมด 317 แห่งที่ได้รับการอนุมัติการลงทุนในประเทศไทยจนถึงเดือนมิถุนายน 2567 มี 99 แห่งที่สนใจลงทุนในพื้นที่ EEC 

ในปี พ.ศ. 2566 มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) บันทึกการลงทุนโครงการต่างชาติ โดยก่อนหน้านี้ การลงทุนจะแยกตามประเภทต่าง ๆ ดังนี้:

  • เกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร
  • แร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นมูลฐาน
  • อุตสาหกรรมเบา
  • ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • เคมีภัณฑ์ พลาสติก และกระดาษ
  • บริการและสาธารณูปโภค
  • การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม

ข้อมูลการลงทุนจากต่างประเทศที่เข้ามาในประเทศไทยที่เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2566 ได้รับการจัดกลุ่มใหม่ในประเภทอุตสาหกรรมต่าง ๆ ดังนี้:

  • เกษตรกรรม อาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพ
  • การแพทย์
  • เครื่องจักรและยานยนต์
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • อุตสาหกรรมโลหะและวัสดุ
  • เคมีภัณฑ์และปิโตรเคมี
  • สาธารณูปโภค
  • ดิจิทัล
  • อุตสาหกรรมสร้างสรรค์
  • บริการที่มีมูลค่าสูง

เขตเศรษฐกิจพิเศษ 

เขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZs) ของประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่เพิ่งได้รับการกำหนดโดยคณะกรรมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของรัฐบาลไทย การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดนของประเทศไทยเริ่มต้นจากแนวคิดที่ธนาคารพัฒนาเอเชียเสนอในปี พ.ศ. 2541 เพื่อส่งเสริมการใช้เส้นทางทางเศรษฐกิจข้ามพรมแดน ซึ่งทำให้ประเทศไทยได้จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน เพื่อเปลี่ยนส้นทางขนส่งที่มีอยู่ให้กลายเป็นเส้นทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

ในปี พ.ศ. 2556 คณะรัฐมนตรีไทยได้มอบหมายให้มีการศึกษาเพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทย ต่อมาสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (NCPO) ได้ประกาศนโยบายใหม่เกี่ยวกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อเชื่อมเมืองชายแดนกับเมืองอื่น ๆ ในอาเซียน โดยมีการประกาศพัฒนา 10 เขตเศรษฐกิจพิเศษในสองระยะ

หนึ่งในเขตเศรษฐกิจพิเศษที่สำคัญ คือ เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) หรือที่รู้จักในชื่อพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศไทย ครอบคลุมสามจังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เขตนี้ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560 ด้วยงบประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท (43,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สำหรับห้าปีแรก และมีแผนเพิ่มเติมมูลค่า 1.35 ล้านล้านบาท (44,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เพื่อพัฒนาพื้นที่ EEC ให้กลายเป็นศูนย์กลางการเงินระดับภูมิภาคและเมืองอัจฉริยะระดับโลกภายในปี พ.ศ. 2580

นอกจากนี้ ยังมีแผนสร้างรถไฟความเร็วสูงใหม่ที่จะเชื่อมเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยรถไฟความเร็วสูงสายดอนเมือง–สุวรรณภูมิ–อู่ตะเภา จะเชื่อมต่อสนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา โดยมีกำหนดเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2572 และจะดำเนินการโดยบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ร่วมลงทุนกับพันธมิตร เช่น กลุ่มเจริญโภคภัณฑ์, ช.การช่าง, ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ, อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์, และ ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่น 

 

หน้าที่เกี่ยวข้อง

References

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

PDgYS
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!