แม่แจ่มโมเดล

การแก้ไขปัญหาสิทธิที่ดินและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในภาคเหนือของประเทศไทยผ่านเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนความเป็นมาอำเภอแม่แจ่มมีประชากรประมาณ 60,000 คน เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำสำคัญทางยุทธศาสตร์ในพื้นที่สูงของภาคเหนือของประเทศไทย อำเภอนี้โดยพื้นฐานแล้วประกอบด้วยป่าสงวนแห่งชาติแม่แจ่ม ซึ่งจัดเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำระดับ 1A ซึ่งหมายความว่าบริเวณดังกล่าวห้ามตั้งถิ่นฐานหรือกิจกรรมทางการเกษตรทุกรูปแบบ ปัจจุบันมีการใช้พื้นที่ประมาณร้อยละ 20 (136,337 เอเคอร์ หรือประมาณ 344,835.165 ไร่) ของพื้นที่ทั้งอำเภอแม่แจ่ม เพื่อเป็นที่ดินสำหรับทำการเกษตรและเป็นที่อยู่อาศัยข้าวโพดเป็นพืชหลักที่ปลูกในอำเภอแม่แจ่มเสริมด้วยผักใบเขียว มันฝรั่งและผักอื่น ๆ การตัดไม้และการหาอาหารที่ผิดกฎหมายภายในป่าท้องถิ่นโดยเฉพาะการหาเห็ดและสมุนไพรเป็นแหล่งรายได้ที่คล้ายคลึงกัน รูปแบบทางเศรษฐกิจนี้ได้ก่อให้เกิดความกังวลเมื่อเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากการพึ่งพาการผลิตข้าวโพดผสมผสานกับประเพณีการเผาตอซังข้าวโพดในท้องถิ่นหลังจากการเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นแล้วทำให้เกิดหมอกและควันจำนวนมากขนาดของการเผามีขนาดใหญ่มากจนส่งผลกระทบไม่เพียงแต่ในพื้นที่อำเภอแม่แจ่มเท่านั้นแต่ยังรวมถึงเมืองเชียงใหม่และชุมชนรอบข้าง หมอกควันที่เกิดจากอำเภอแม่แจ่มและพื้นที่อำเภอใกล้เคียงรวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านส่งผลให้นักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 40 ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในท้องถิ่นซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาค คุณภาพอากาศต่ำยังมีผลกระทบเชิงลบอย่างมากต่อสุขภาพของผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่รายงานว่าประชาชนกว่า 8,000 คนในจังหวัดเชียงใหม่ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศที่เกิดจากไฟป่าและการเผาซังข้าวโพดในภูมิภาคในช่วงวันที่ 1 มีนาคม ถึง 11 มีนาคม 2558 ในจังหวัดเชียงใหม่มีการเผาซังข้าวโพดกลางแจ้งประมาณ 213,624.82 ตันทุกปีก่อให้เกิดอนุภาคขนาดเล็กปริมาณรวมประมาณ 7.28 ตัน  ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาการเพิ่มจำนวนที่ดินในป่าแม่แจ่มถูกนำมาใช้เพื่อการเกษตร โดยเฉพาะระหว่างปี พ.ศ. 2552-2554 และในช่วง พ.ศ. 2557 ที่ดินจำนวนมากถูกแปลงจากพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่เพื่อเกษตรกรรม ส่วนใหญ่เพื่อการปลูกข้าวโพด พื้นที่สำหรับปลูกข้าวโพดเพิ่มขึ้นจาก 86,304.27 […]

การแก้ไขปัญหาสิทธิที่ดินและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในภาคเหนือของประเทศไทยผ่านเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน

ความเป็นมา

อำเภอแม่แจ่มมีประชากรประมาณ 60,000 คน เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำสำคัญทางยุทธศาสตร์ในพื้นที่สูงของภาคเหนือของประเทศไทย อำเภอนี้โดยพื้นฐานแล้วประกอบด้วยป่าสงวนแห่งชาติแม่แจ่ม1 ซึ่งจัดเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำระดับ 1A2 ซึ่งหมายความว่าบริเวณดังกล่าวห้ามตั้งถิ่นฐานหรือกิจกรรมทางการเกษตรทุกรูปแบบ ปัจจุบันมีการใช้พื้นที่ประมาณร้อยละ 20 (136,337 เอเคอร์ หรือประมาณ 344,835.165 ไร่) ของพื้นที่ทั้งอำเภอแม่แจ่ม เพื่อเป็นที่ดินสำหรับทำการเกษตรและเป็นที่อยู่อาศัย

ข้าวโพดเป็นพืชหลักที่ปลูกในอำเภอแม่แจ่มเสริมด้วยผักใบเขียว มันฝรั่งและผักอื่น ๆ การตัดไม้และการหาอาหารที่ผิดกฎหมายภายในป่าท้องถิ่นโดยเฉพาะการหาเห็ดและสมุนไพรเป็นแหล่งรายได้ที่คล้ายคลึงกัน รูปแบบทางเศรษฐกิจนี้ได้ก่อให้เกิดความกังวลเมื่อเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากการพึ่งพาการผลิตข้าวโพดผสมผสานกับประเพณีการเผาตอซังข้าวโพดในท้องถิ่นหลังจากการเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นแล้วทำให้เกิดหมอกและควันจำนวนมาก

Recent haze and air pollution in Chiang Mai

ปัญหาหมอกควันและมลพิษทางอากาศในเชียงใหม่เมื่อไม่นานนี้. ที่มา: เดอะเนชั่น. เมษายน 2561. ลิขสิทธิ์​ CC-BY-SA-4.0.  

ขนาดของการเผามีขนาดใหญ่มากจนส่งผลกระทบไม่เพียงแต่ในพื้นที่อำเภอแม่แจ่มเท่านั้นแต่ยังรวมถึงเมืองเชียงใหม่และชุมชนรอบข้าง หมอกควันที่เกิดจากอำเภอแม่แจ่มและพื้นที่อำเภอใกล้เคียงรวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านส่งผลให้นักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 40 ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในท้องถิ่นซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาค3 คุณภาพอากาศต่ำยังมีผลกระทบเชิงลบอย่างมากต่อสุขภาพของผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่รายงานว่าประชาชนกว่า 8,000 คนในจังหวัดเชียงใหม่ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศที่เกิดจากไฟป่าและการเผาซังข้าวโพดในภูมิภาคในช่วงวันที่ 1 มีนาคม ถึง 11 มีนาคม 25584

ในจังหวัดเชียงใหม่มีการเผาซังข้าวโพดกลางแจ้งประมาณ 213,624.82 ตันทุกปีก่อให้เกิดอนุภาคขนาดเล็กปริมาณรวมประมาณ 7.28 ตัน5  

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาการเพิ่มจำนวนที่ดินในป่าแม่แจ่มถูกนำมาใช้เพื่อการเกษตร โดยเฉพาะระหว่างปี พ.ศ. 2552-2554 และในช่วง พ.ศ. 2557 ที่ดินจำนวนมากถูกแปลงจากพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่เพื่อเกษตรกรรม ส่วนใหญ่เพื่อการปลูกข้าวโพด พื้นที่สำหรับปลูกข้าวโพดเพิ่มขึ้นจาก 86,304.27 ไร่ (หรือเท่ากับ 34,122 เอเคอร์) ในปี พ.ศ. 2552 เป็น 105,466.14 ไร่ (หรือเท่ากับ 41,698 เอเคอร์) ในปี พ.ศ. 2554 และเพิ่มขึ้นเป็น 144,879.99 ไร่ (หรือเท่ากับ​ 57,281 เอเคอร์) ในปี พ.ศ. 2556 โดยมีจำนวนเกษตรกรทั้งหมด 8,332 ราย ที่ปลูกข้าวโพดได้ ผลผลิตรวม 100,547 ตัน ในปี พ.ศ. 2556  

จนถึงปี พ.ศ. 2557 ราคาข้าวโพดตกต่ำ ส่งผลให้เกษตรกรบางส่วนหันไปปลูกพืชทางเลือก เช่น ยางพารา ฟักทอง หอมแดงและกะหล่ำปลี พื้นที่ปลูกข้าวโพดในฤดูฝนลดลงเหลือ 118,719.59 ไร่ (หรือเท่ากับ 46,938 เอเคอร์) ได้ผลผลิต 83,103 ตันต่อปี และมีเพียง 7,427 ครัวเรือน หรือคิดเป็น 43.35% ของครัวเรือนทั้งหมด (17,131 ครัวเรือน) ที่ยังคงปลูกข้าวโพดในปี พ.ศ. 25576

การทำการเกษตรของอำเภอแม่แจ่มในพื้นที่ลุ่มน้ำ. ถ่ายโดย: ไรอัน วินซ์. สิงหาคม 2561.

โครงการพัฒนาแม่แจ่ม

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 มีการประชุมหารือระหว่างชุมชนและภาครัฐหลายครั้งในจังหวัดเชียงใหม่และอำเภอแม่แจ่มเพื่อดำเนินการกับการเกษตรที่ขาดความรับผิดชอบ จากการประชุมที่จัดขึ้นหลายครั้ง อย่างน้อยก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการประท้วงเรื่องปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 25567 นอกจากนี้ กำไรที่ลดลงจากการปลูกข้าวโพด และหนี้ที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มเกษตรกรทำให้สภาชาวบ้านแห่งบ้านดอยสันเกี๋ยง อำเภอแม่แจ่ม มุ่งมั่นค้นหาเกษตรกรรมทางเลือกแทนการปลูกข้าวโพด ที่จะช่วยให้กำไรมากกว่าและมีความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ มีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมในระดับอำเภอและระดับจังหวัดเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาคุณภาพอากาศในอำเภอแม่แจ่ม ซึ่งเป็นกระบวนการที่นำไปสู่การพัฒนาระบบการจัดการร่วมกัน ระบบการจัดการร่วมดำเนินการให้มีการปรับปรุงฐานข้อมูลระบบจีพีเอส (ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์) เพื่อให้ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินมีความทันสมัย และสามารถจำแนกความแตกต่างระหว่างที่ดินที่ใช้ทำการเกษตรหรือที่อยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ มีการประชุมสภาหมู่บ้านเพื่อหารือการจัดการที่ดินและการใช้ทรัพยากรในหมู่บ้าน และเปิดโอกาสให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในกระบวนการทำงาน

ไม่นานหลังจากการประชุมสภาหมู่บ้าน การจัดการปัญหาในระยะสั้นก็เริ่มขึ้น มีการสร้างรั้วบริเวณโดยรอบป่าเพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้ และเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดได้รับการส่งเสริมให้ปลูกพืชอื่นที่ไม่ใช่ข้าวโพด8 นอกจากนี้ มีแผนสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยจัดสรรแหล่งน้ำแห่งใหม่ในพื้นที่นอกระบบชลประทาน9 มาตรการบรรเทาผลกระทบระยะสั้นอื่น ๆ ที่ได้ดำเนินการแล้ว รวมถึงการผลิตอาหารสดหรือหมักโคจากเปลือกข้าวโพดจำนวนกว่า 10,000 ตัน (มีการสร้างโรงงานผลิตอาหารหมักที่ตำบลท่าผามูลค่า 14,242.42 เหรียญสหรัฐ) เปลี่ยนเปลือกและซังข้าวโพดเป็นปุ๋ย การนำเปลือกและซังข้าวโพดไปใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพและการผลิตพลังงาน และการสอนให้เด็กนักเรียนทำกระทงและพวงหรีดจากเปลือกข้าวโพด10

สำหรับแนวทางแก้ปัญหาระยะยาวจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวิถีการเกษตรแบบดั้งเดิมให้ได้ผลและยั่งยืน ตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จปรเมนทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เรื่องการจัดการน้ำฝนและการทำให้ป่ามีความชุ่มน้ำเพื่ออนุรักษ์น้ำและลดการเกิดไฟป่า การจัดการน้ำในอำเภอแม่แจ่มได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นโดยการสร้างฝาย อ่างเก็บน้ำ และรูปแบบการจัดการน้ำสำหรับนาข้าว11 ชาวบ้านสามารถประกอบอาชีพอื่น ๆ เช่น ปลูกผักและผลไม้อื่น ๆ เช่น ลำไย เป็นต้น และสามารถหารายได้จากการผลิตปุ๋ยหมักได้เช่นกัน ชุมชนได้รับการพัฒนาโดยกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือความรับผิดชอบต่อสังคมพื้นที่ต้นน้ำภายใต้แผนงานการปลูกป่า นายอภัยชนม์ วัชรสินธุ์ รองประธานเครือเจริญโภคภัณฑ์ เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้กลไกการตลาดเพิ่มความตระหนักของสาธารณชน กลุ่มพันธมิตรธุรกิจหลักด้านความรับผิดชอบต่อสังคมอื่น ๆ ประกอบด้วย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจคอร์ปอเรชั่น กิจการเพื่อสังคมประชารัฐเชียงใหม่ ฯลฯ12 ดร. สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อธิบายว่าการพัฒนาหมู่บ้าน ทั้งบ้านดอยสันแก้ว บ้านแม่ปานและบ้านใหม่พุย ในอำเภอแม่แจ่ม ได้กลายเป็นชุมชนตัวอย่างที่สามารถอยู่ร่วมกับป่าได้​13 รูปแบบการพัฒนาแม่แจ่มมีกระบวนการดังแผนภาพด้านล่างนี้ สำหรับรายละเอียดจะแสดงในส่วนถัดไป

โครงการพัฒนาแม่แจ่มและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

SDG 1 เป้าหมายที่ 4  นายทศพล เผื่อนอุดม นายอำเภอแม่แจ่ม กล่าวว่าชุมชนเห็นชอบที่จะลงนามในข้อตกลงที่จะลดการก่อให้เกิดไฟป่าภายใน 3 ปีในขณะเดียวกันก็หยุดยั้งการบุกรุกที่ดินและลดการใช้สารเคมีในพื้นที่ต้นน้ำภายใน 5 ปี โดยชุมชนต้องการให้รัฐบาลให้สิทธิที่ดินแก่ประชาชนเป็นการแลกเปลี่ยน ครอบคลุมที่ดินทำกินรวมทั้งสิ้น 213,461.56 ไร่ หรือ 84,396 เอเคอร์ เนื่องจากพวกเขาเกิดและอาศัยบนที่ดินทำกินดังกล่าวมาเป็นเวลานาน

SDG 2.3 ภายในปี พ.ศ. 2573 ผลผลิตทางการเกษตรและรายได้ของผู้ผลิตอาหารรายย่อยจะเพิ่มเป็นสองเท่า โดยเฉพาะผู้หญิง ชนพื้นเมือง ครอบครัวเกษตรกร เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ และชาวประมง ทั้งนี้รวมถึงความมั่นคงและความเท่าเทียมในการเข้าถึงที่ดิน ทรัพยากรการผลิต และปัจจัยการผลิตอื่น ๆ ความรู้ บริการทางการเงิน ตลาด และโอกาสในการเพิ่มมูลค่าและการจ้างงานนอกภาคเกษตร

การวางแผนระบบการจัดการร่วมของทรัพยากรธรรมชาติจากพืช (เช่น ไม้ไผ่) การพัฒนาวิชาชีพ การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และการสนับสนุนธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม จะช่วยปรับปรุงระบบธุรกิจของชุมชนแม่แจ่ม ระบบธุรกิจที่ครอบคลุมทุกด้านจะเริ่มจากมาตรการลุ่มน้ำ ที่มีแผนงานการปลูกป่าและการสร้างรายได้ เช่น การปลูกไม้ไผ่เพื่อชำระหนี้ และเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ (การส่งเสริมการจัดการความรู้ด้านการแปรรูปและการเชื่อมโยงการตลาด) การส่งเสริมปศุสัตว์ สนับสนุนโคและการทำฟาร์มหญ้า สนับสนุนเทคโนโลยีการเกษตร เช่น การสับขยะจากเศษผักให้เป็นพลังงาน การส่งเสริมการผลิตปุ๋ยหมักโดยชุมชน การท่องเที่ยวและการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์พื้นบ้านเพื่อสร้างรายได้เสริม

นายทวีศักดิ์ กันตรัตน์ นักยุทธศาสตร์ของกรมอุทยานแห่งชาติ กล่าวว่าเขาเคยไปเยือนบ้านปางอุ๋งในอำเภอแม่แจ่ม ดังนั้น เขาจึงเสนอให้พัฒนาหมู่บ้านให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ด้วยสภาพภูมิอากาศ ธรรมชาติ และทัศนียภาพที่สวยงาม มากกว่า 30,000 คนต่อปี เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว อำเภอแม่แจ่มต้องดำเนินการปลูกป่าให้เป็นส่วนหนึ่งของทัศนียภาพอันงดงาม14  

SDG 15.2  ภายในปีพ.ศ 2563 ส่งเสริมการจัดการป่าไม้ทุกประเภทอย่างยั่งยืน ยุติการตัดไม้ทำลายป่า ฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมและเพิ่มพื้นที่ป่าไม้อย่างยั่งยืน และปลูกป่าเพิ่มทั่วโลก

มีการพัฒนาระบบการจัดการร่วมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ การฟื้นฟู การป้องกันการบุกรุกอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าไม้โดยการสนับสนุนการปลูกป่าและการกำหนดการใช้ที่ดินเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจที่สามารถบริโภคเองได้และสร้างรายได้จากป่า เช่น การปลูกกาแฟ การปลูกไม้ไผ่ในสวนป่า การสร้างฝาย อ่างเก็บน้ำ และรูปแบบการจัดการน้ำสำหรับการปลูกข้าว15 ปรับนาขั้นบันไดและพืชเพื่อผสมผสานการฟื้นฟูและอนุรักษ์ดิน16

 

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง:

References