ข่าว
ความพยายามร่วมกันในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ค่าไฟฟ้าในครัวเรือนพุ่งสูงขึ้นในเดือนเมษายนเนื่องจากอุณหภูมิในประเทศไทยพุ่งสูงถึง 44.6 องศาเซลเซียส ตามด้วยอุณหภูมิเฉลี่ยโลกที่สูงเป็นประวัติการณ์ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งธุรกิจและรัฐบาลต่างคำนึงถึงสิ่งที่ต้องดำเนินการเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศองค์การสหประชาชาติได้ออกคำเตือน เกี่ยวกับการมาถึงของยุค “ภาวะโลกเดือด” เนื่องจากผู้คนจำนวนมากขึ้นได้ดำเนินการ เพื่อจัดการกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากเป็นการเพิ่มต้นทุนในการดำเนินธุรกิจและการครองชีพในครัวเรือนรัฐบาลและบริษัทบางแห่งเริ่มดำเนินนโยบายเพื่อจัดการกับปัญหานี้ เช่น การผลักดันแบบจำลองเศรษฐกิจชีวภาพ หมุนเวียน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (BCG) หรือการนำหลักการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) มาใช้ แต่ความพยายามเหล่านี้อาจพิสูจน์ได้ว่าน้อยเกินไป สายเกินไปเนื่องจากระดับของภาวะโลกร้อนที่รุนแรงมากขึ้นอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
พระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนชื่อ กรมการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็น กรมการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม มีผลบังคับใช ตามพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การเปลี่ยนชื่อมีผลบังคับใช้เมื่อวานนี้ พร้อมเสริมว่ากรมฯใหม่จะปรับโครงสร้างเพื่อตอบสนองความท้าทายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศใหม่ถ้อยแถลงล่าสุดของ นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส (António Guterres) เลขาธิการสหประชาชาติเกี่ยวกับ “ภาวะโลกเดือด (global boiling)” โดยนายวราวุธ กล่าวว่า หน่วยงานใหม่นี้มีความสำคัญต่อความพยายามของประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งกูแตร์เรสได้กล่าวว่า อุณหภูมิพื้นผิวโลกและมหาสมุทรพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเป็นสัญญาณว่าภาวะโลกร้อนสิ้นสุดลงแล้ว และยุค “ภาวะโลกเดือด” ได้มาถึงแล้วอ่านต่อ ...
อภิญญา วิภาตะโยธิน
5 แนวทางแก้ไขภาวะโลกร้อนจาก GCNT Forum 2021
สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทยร่วมกับองค์การสหประชาชาติ ได้จัดการประชุม GCNT Forum 2021: Thailand’s Climate Leadership Summit 2021 ในหัวข้อ “A New Era of Accelerated Actions” ในการประชุมภาคเช้า องค์กรสมาชิกได้ให้คำมั่นที่จะ “ป้องกันและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” โดยมีเป้าหมายในการบรรลุ Net Zero ภายในปี 2050 หรืออย่างช้าที่สุดภายในปี 2070 นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่องค์กรและธุรกิจทุกขนาดที่เป็นสมาชิก GCNT ได้ร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาความยั่งยืนระดับโลกที่สำคัญและเร่งด่วน ซึ่งรวมถึงวิกฤตภาวะโลกร้อนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยความมุ่งมั่นนี้ สมาชิก GCNT ซึ่งประกอบด้วยผู้นำในภาคเอกชนของประเทศไทย ได้แสดงพลังในฐานะผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับประเทศและระดับโลกอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
ดาว-ทช.-IUCN ยกระดับการอนุรักษ์ป่าชายเลนในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อนและขยะทะเล
เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัทดาวประเทศไทย ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) จัดพิธีลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ โครงการ ดาว – เครือข่ายชายฝั่ง รักษ์พิทักษ์ป่าชายเลน เพื่อความยั่งยืน” (Dow & Thailand Mangrove Alliance) ความร่วมมือดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาอนุรักษ์ป่าชายเลนตามชายฝั่งทะเลของประเทศไทยครอบคลุม 5 จังหวัด บนพื้นที่กว่า 5,000 ไร่ เพื่อลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อนและขยะทะเลอย่างยั่งยืน โดยพื้นที่นำร่องจะอยู่ในตำบลปากน้ำประแสร์ จังหวัดระยองอ่านต่อ ...
'โครงการแถบและเส้นทาง' ของจีน เป็นความเสี่ยงต่อเป้าหมายสภาพภูมิอากาศตามข้อตกลงปารีส
การพัฒนาแหล่งคาร์บอนในประเทศเป็นส่วนหนึ่งของโครงการริ่เริมแถบและเส้นทางของจีน อาจทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายสภาพภูมิอากาศตามข้อตกลงปารีสได้ ตามการวิเคราะห์ใหม่ในโครงการโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกขนาดใหญ่ที่เผยแพร่ในวันจันทร์ที่ผ่านมา พบว่า เครือข่ายขนาดใหญ่ของท่าเรือ รถไฟ ถนน และนิคมอุตสาหกรรมในเอเชีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง และยุโรปจะเห็นการลงทุนมูลค่าล้านล้านในโครงสร้างพื้นฐานใหม่ใน 126 ประเทศอ่านต่อ ...
ชาวป่าเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ
ในขณะนี้ ธารน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์กำลังละลายในอัตราต่อวันสูงถึง 4.4 ล้าน เทียบกับสระว่ายน้ำมาตรฐานและกรุงเทพฯอาจจมอยู่ใต้น้ำได้เร็วกว่าที่คาดคิดไว้ซึ่งข่าวร้ายไม่ใช่เพียงเท่านั้น ชั้นดินเยือกแข็งอาร์กติก (Permafrost) ยังคงละลายอย่างรวดเร็วด้วยคลื่นความร้อนที่เลวร้ายที่สุดเท่าที่โลกเคยบันทึกไว้ ชั้นดินเยือกแข็งที่หลอมละลายนั้นได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากที่ติดอยู่ในน้ำแข็งเป็นพันปี เป็นเหตุให้เร่งภาวะโลกร้อนให้เลวร้ายเร็วขึ้นอ่านต่อ ...
งานวิจัยพบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเป็นจุดจบของอารยธรรมมนุษย์
จากการวิเคราะห์ มีการคาดการณ์ว่าจะเกิดผลลัพธ์ที่รุนแรงหากอุณหภูมิเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 องศาเซลเซียสภายในปี พ.ศ.2593 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อความมั่นคงของโลก และต้องการการตอบสนองอย่างทันท่วงทีมิฉะนั้นจะสายเกินไปที่จะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ “โลกร้อน” และเป็นการสิ้นสุดของอารยธรรมมนุษย์อ่านต่อ ...
ปรัชญ์ รุจิวนารมย์
นักสิ่งแวดล้อมไทยเข้าร่วมประท้วงหาทางแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ในวันศุกร์ที่ผ่านมา ประชาชนที่อยู่ในแวดวงสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยต่างเข้าร่วมกิจกรรมด้านสภาพภูมิอากาศที่จัดขึ้นทั่วโลก เพื่อรณรงค์หาทางแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผู้คนมากกว่า 100 คนเข้าร่วมในงาน “Climate Strike Bangkok” ในใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญใหญ่ “Climate Strike for For Future” ที่จัดขึ้นพร้อมกันใน 2,350 เมืองใน 25 ประเทศทั่วโลกอ่านต่อ ...
ปรัชญ์ รุจิวนารมย์
ยุติความเสียหาย
รองศาสตราจารย์สุชนา ชวนิชย์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และทีมงานได้บรรยายงานใหม่ของทีมหลังจากเดินทางไปทั่วโลกรวมถึงแถบทวีปอาร์กติก และแอนตาร์กติก เพื่อสังเกต รวบรวมและศึกษาตัวอย่าง ด้วยภารกิจเพื่อช่วยโลกที่เสื่อมสภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรศ.สุชนา นักชีววิทยาทางทะเลจากภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ตอนนี้เราเป็นผู้วางแผนครอบครัวสำหรับแนวปะการัง” และ “หน้าที่ของเรา เพื่อให้แน่ใจว่าเหล่าปะการังสามารถปล่อยไข่และสเปิร์ม เพื่อการสืบพันธุ์ ถ้าไม่เช่นนั้น เราจะหาวิธีช่วยพวกมันให้ได้”อ่านต่อ ...
อรุษา พิสุทธิพันธ์
กรุงเทพฯ ต้องเตรียมแผน เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
กรุงเทพฯ ต้องการเริ่มต้นในการปรับตัวต่อความท้าทาย เช่น อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น น้ำท่วม และโรคร้ายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าในขณะที่ตึกระฟ้า คอนกรีตและถนนเข้าครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองหลวง รถยนต์ และเครื่องปรับอากาศส่วนใหญ่ต่างพ่นก๊าซเรือนกระจกออกมาสู่เมือง เพื่อต่อสู้ในการรักษาความเย็นอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น