ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พบขยะ 'พลาสติก' ในกระเพาะกวางป่ากว่า 7 กก.
เมื่อวันอังคาร (26 พ.ย.)ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้พบกวางป่านอนตาย โดยมีถุงพลาสติกและขยะอื่น ๆ หนักกว่า 7 กิโลกรัม อยู่ภายในกระเพาะอาหาร สร้างความตระหนักถึงปัญหาการทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำและป่าไม้ของประเทศไทยซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้บริโภคพลาสติกรายใหญ่ที่สุดของโลกโดยคนไทยใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวมากถึง 3,000 ถุงต่อปีไม่ว่าจะเป็นการห่ออาหาร ใส่กาแฟกลับบ้าน หรือใช้ใส่ของจากร้านขายของชำอ่านต่อ ...
ไทยดีขึ้น 4 อันดับ จากอันดับประเทศทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลมากที่สุดในโลก
ประเทศไทยติด 20 อันดับประเทศที่ก่อมลพิษพลาสติกทางทะเลที่ใหญ่ที่สุด โดยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 10 ดีขึ้น 4 อันดับจากที่ 6 ในปีก่อนหน้า ซึ่งจัดอันดับจากมวลขยะพลาสติกที่มีการจัดการไม่ถูกต้องปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การปรับปรุงส่วนใหญ่เกิดจากการริเริ่มของรัฐบาล และความพยายามของภาครัฐและภาคเอกชนในการลดถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวและกล่องโฟมบรรจุอาหารอ่านต่อ ...
Greeley Pulitzer
ความเพิกเฉยทางการเมืองเป็นเชื้อเพลิงเพิ่มวิกฤติมลพิษทางอากาศ
นักวิชาการชั้นนำกล่าวว่า มันคงไม่มีหนทางใด นอกเหนือจากที่รัฐบาลนี้มีความพร้อมที่จะหยุดวิกฤติมลพิษทางอากาศไม่ให้ลุกลามจนเกินการควบคุม แม้จะมีการประกาศเป้าหมายของ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ต้องการแก้ปัญหา PM2.5 ภายในปี พ.ศ.2565 แต่วัฒนธรรมการกำหนดนโยบายดูเหมือนจะมืดบอดกับสิ่งที่ธรรมชาติกำลังบอกเรา แต่ผู้ร่างกฎหมายกลับมองข้ามการคุกคามต่อสุขภาพของประชาชน และมองผลประโยชน์เหนือการแก้ปัญหาอ่านต่อ ...
Supita Roengjit
กระทรวงสาธารณสุขเตรียมรับมือกับ PM2.5
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุขและผู้บริหารกระทรวงฯได้จัดประชุมทางวิดีโอกับแพทย์ในศูนย์สาธารณสุขประจำจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อจัดทำและติดตามผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละออง PM2.5 ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในเดือนธันวาคมของทุกปีการประชุมทางวิดีโอได้จัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ณ ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรีอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
ภัยแล้งยังคงส่งผลกระทบต่อประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง โดยมีความเสี่ยงต่อการผลิตพืชผล และ การขาดแคลนน้ำ
คาดการณ์ว่าภัยแล้งในระดับที่รุนแรงจนถึงขั้นสุดขั้วจะส่งผลกระทบต่อประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างตั้งแต่วันนี้ถึงมกราคม พ.ศ.2563 ประเทศไทยและกัมพูชาจะได้รับผลกระทบหนักที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับ สปป.ลาวและเวียดนามการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของคณะกรรมาธิการลุ่มน้ำโขง (MRC) แสดงให้เห็นว่าภัยแล้งเกิดจากปริมาณน้ำฝนที่ไม่เพียงพอในช่วงฤดูฝนที่มาช้า และมรสุมที่หมดเร็วกว่าปกติ พร้อมกับสภาวะ El Nino ที่ทำให้เกิดอุณหภูมิ และการระเหยที่สูงผิดปกติอ่านต่อ ...
ปลดล็อกรายงานตรวจสอบแทนที่ EIA เขื่อนกันคลื่น
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจะใช้ “รายการตรวจสอบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น” เพื่อตรวจสอบข้อเสนอเกี่ยวกับการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งรายการตรวจสอบจะได้รับการออกแบบในลักษณะที่แสดงประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญอย่างชัดเจน ซึ่งผู้ยื่นโครงการต้องระบุในการวางแผนโครงการ โดยทางกระทรวงฯระบุว่ารายการตรวจสอบนี้จะเข้ามาแทนที่ข้อกำหนดการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) สำหรับโครงการที่เกี่ยวข้องกับกำแพงกันคลื่นอ่านต่อ ...
อภิญญา วิภาตะโยธิน
กรุงเทพฯติดที่ 12 ในอันดับเมืองที่มีคุณภาพอากาศเลวร้ายที่สุดในโลก
แอปพลิเคชั่น Air Visual ได้รายงานเมื่อวันอังคาร (19 พฤศจิกายน) ว่าระดับมลพิษทางอากาศของกรุงเทพฯ ตามมาตรฐาน AQI ของสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 136 โดยมีระดับ PM 2.5 อยู่ที่ 57.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (µg / m3) ส่งผลให้ติดอันดับที่ 12 ของอันดับเมืองที่มีคุณภาพอากาศเลวร้ายที่สุดในโลกดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) เป็นมาตรฐานที่บ่งบอกถึงคุณภาพอากาศ และระดับมลพิษ โดยระดับ 0-50 หมายถึงคุณภาพอากาศที่ดี 51-100 หมายถึงคุณภาพปานกลาง 101-105 จะเริ่มส่งผลกระทบต่อกลุ่มที่มีความละเอียดอ่อน 151-200 เป็นอันตรายต่อสุขภาพเล็กน้อย 201-300 เป็นอันตรายอย่างมาก และ 301-500 หมายถึงระดับที่อันตรายมากอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
มลพิษอัมพาต: โครงสร้างของประเทศไทยที่ไม่เอื้อต่ออากาศที่บริสุทธิ์
มลพิษทางอากาศได้เข้าปกคลุมกรุงเทพมหานคร และประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่อีกครั้งในเดือนนี้ โดยประชาชนต่างหวังว่ารัฐบาลได้แก้ไขด้วยมาตรการฉุกเฉิน แต่ยังไม่มีการแก้ปัญหาที่ต้นตอของปัญหาเครื่องฟอกอากาศต้นแบบของกรุงเทพมหานคร ซึ่งติดตั้งในใจกลางเมือง เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา แต่ทว่าอุปกรณ์ที่ติดตั้งนั้นก็ยังไม่เพียงพอและอาจจะสายเกินไปอ่านต่อ ...
ศุภิตา เรืองฤทธิ์
สหประชาชาติเรียกร้องให้ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทบทวนปัญหามลพิษจากพลาสติก
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ตามรายงานของสหประชาชาติระบุว่า ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ป็นหนึ่งในผู้ก่อมลพิษทางทะเลที่เลวร้ายที่ต้องการกฎระเบียบที่เข้มงวดสำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติก เพื่อควบคุมการรั่วไหลของมลพิษลงสู่ทะเลภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตัวการหลักในการทิ้งขยะพลาสติกบนพื้นดินสู่มหาสมุทรของโลก โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งมาจาก 4 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทยรวมถึงจีนซึ่งเป็นผู้ก่อมลพิษอันดับหนึ่งอ่านต่อ ...
รัฐบาลหนุนแคมเปญ "ลดรับ ลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติก"
คณะรัฐมนตรีไฟเขียวให้กับแคมเปญ “ลดรับ ลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติก” ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 1 มกราคมปีหน้า ก่อนที่จะมีการสั่งห้ามใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวในปี พ.ศ.2564เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ณ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ จังหวัดกาญจนบุรี นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติการรณรงค์ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ในการลดการแจกถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว และบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์