ข่าว

คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงอนุมัติยุทธศาสตร์การจัดการภัยแล้ง และนโยบายอื่น ๆ เพิ่มขีดความสามารถของประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับภัยพิบัติในอนาคต

ผู้แทนรัฐมนตรีจากคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ได้ร่วมตัวกันในการประชุมประจำปี ณ กรุงพนมเปญในการอนุมัติยุทธศาสตร์การจัดการภัยแล้ง ปี พ.ศ.2563-2568 ทำให้กัมพูชา สปป. ลาว ไทย และเวียดนามเตรียมความพร้อม และจัดการภัยแล้งโดยรวมโดยยุทธศาสตร์ที่ได้รับการอนุมัตินั้นเกิดขึ้น เนื่องจากภูมิภาคกำลังประสบกับปัญหาภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุด ซึ่งทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดลงถึงจุดต่ำสุด ในช่วงชีวิตหรือในรอบ 60 ปีที่ผ่านมาอ่านต่อ ...

ภัยแล้งยังคงส่งผลกระทบต่อประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง โดยมีความเสี่ยงต่อการผลิตพืชผล และ การขาดแคลนน้ำ

คาดการณ์ว่าภัยแล้งในระดับที่รุนแรงจนถึงขั้นสุดขั้วจะส่งผลกระทบต่อประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างตั้งแต่วันนี้ถึงมกราคม พ.ศ.2563  ประเทศไทยและกัมพูชาจะได้รับผลกระทบหนักที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับ สปป.ลาวและเวียดนามการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของคณะกรรมาธิการลุ่มน้ำโขง (MRC) แสดงให้เห็นว่าภัยแล้งเกิดจากปริมาณน้ำฝนที่ไม่เพียงพอในช่วงฤดูฝนที่มาช้า และมรสุมที่หมดเร็วกว่าปกติ พร้อมกับสภาวะ El Nino ที่ทำให้เกิดอุณหภูมิ และการระเหยที่สูงผิดปกติอ่านต่อ ...

ความพยายามในการพัฒนาร่วมกัน เพื่อความยั่งยืนของแม่น้ำโขง

ผู้แทน 180 คน จากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ ได้มารวมตัวกันที่ประชุมระดับภูมิภาคเวทีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง(MRC) เพื่อถอดบทเรียนจากความพยายามร่วมกันในปัจจุบัน และหาวิธีที่ดีกว่าในการจัดการกับความท้าทายเร่งด่วนที่กำลังเผชิญในแม่น้ำโขง ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศกัมพูชา ลาว ไทย เวียตนาม จีน และพม่า รวมถึงสถาบันวิจัย ภาคเอกชน พันธมิตรเพื่อการพัฒนาและองค์กรภาคประชาสังคมอ่านต่อ ...

เยอรมนี และสหภาพยุโรปเพิ่มเงินทุนเพื่อเร่งโครงการในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (29 พ.ย.) สำนักข่าวคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) เปิดเผยว่า ทางคณะกรรมาธิการได้รับเงินสนับสนุนก้อนใหม่มูลค่า 8.92 ล้านยูโร (10.15 ล้านเหรียญสหรัฐ) จากเยอรมนี และสหภาพยุโรป เพื่อกระชับความร่วมมือด้านน้ำข้ามพรมแดนระหว่างประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ได้แก่ กัมพูชา ลาว ไทย และเวียดนามอ่านต่อ ...

การต่อสู้กับจีนในลุ่มน้ำโขง

ประเทศในลุ่มน้ำแม่น้ำโขง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ลุ่มน้ำตอนล่างของแม่น้ำที่ยาวที่สุดเป็นอันดับที่เจ็ดของเอเชียกำลังต้องการผลักดันยุทธศาสตร์ร่วมกัน เพื่อรักษาอนาคตของตน โดยการควบคุมส่วนต้นน้ำของจีน และการเปลี่ยนแปลงภูมิศาสตร์การเมืองสากลอย่างต่อเนื่องอ่านต่อ ...

ผู้สนับสนุนกล่าว ไม่ควรทำธุรกิจเขื่อนเพื่อผลกำไรเพียงอย่างเดียว

การพังทลายของเขื่อนโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อย เมื่อเดือนที่ผ่านมา ในแขวงอัตตะปือ ประเทศลาว โดยมีการผู้เสียชีวิตถึง 35 ชีวิต หายสาญสูญร่วม 99 รายและหลายพันชีวิตต้องสูญเสียบ้าน โศกนาฏกรรมครั้งนี้ได้กระตุ้นให้รัฐบาลลาวจัดตั้งทีม เพื่อหาสาเหตุของเหตุการณ์ และหาว่าใครควรจะเป็นผู้รับผิดชอบ  นอกจากนี้ยังได้สั่งให้มีการตรวจสอบความปลอดภัยในทุกเขื่ของประเทศ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการตัดสินใจระงับการสร้างเขื่อนใหม่ และกำลังทบทวนแผนการที่จะกลายเป็น “แบตเตอรี่แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”อ่านต่อ ...

ปิยะพร วงศ์เรือง

ญี่ปุ่นเดินหน้าสนับสนุนการปรับปรุงระบบชลประทานในลุ่มน้ำโขง

กระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงของญี่ปุ่น (MAFF) ยืนยันในที่ประชุม ณ กรุงเวียงจันทน์ ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะยังคงสนับสนุนคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ในโครงการปรับปรุงระบบชลประทานในประเทศลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างของกัมพูชา ลาว ไทย และเวียดนามอ่านต่อ ...

สุชาณี รุ่งเหมือนพร

หลีกเลี่ยงปัญหาทะเลจีนใต้ กับดักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในเดือนที่ผ่านมา การประชุมสุดยอดคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ครั้งที่ 3 ที่จัดขึ้น ณ เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ซึ่งนายกรัฐมนตรีลาว ไทย และเวียดนาม เข้าร่วมการประชุม โดยมีสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม เช่นเดียวกับในการประชุมครั้งก่อน ๆ ประเทศจีนที่เป็นประเทศต้นน้ำ แต่เป็นเพียงคู่เจรจาเท่านั้น และพม่าด้วยเช่นกันอ่านต่อ ...

Ravi Velloor

คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงชักจูงจีนหลีกเลี่ยงความเสียหายจากเขื่อน

อนาคตของลุ่มแม่น้ำโขงกลับมาเป็นประเด็นสำคัญอีกครั้งหลังการประชุมสุดยอดคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2561 ณ เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชาแม่น้ำโขงไหลลงจากประเทศจีน (บริเวณที่เรียกว่าลังกา) ผ่านพม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม อย่างไรก็ตามมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ในประเทศจีน และในประเทศท้ายน้ำอ่านต่อ ...

Wang Yan

สนธิสัญญาเรียกร้องให้มีการหารือก่อนโครงการสำคัญ ๆ ของแม่น้ำโขง

ผู้นำของประเทศลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง – ไทยลาวกัมพูชาและเวียดนาม-ได้ตกลงกันเมื่อวานนี้ (4 เมษายน) ในการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการใช้น้ำภายใต้คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) เพื่อควบคุมโครงการที่มีการถกเถียงกันในแม่น้ำที่ยาวที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้อ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

EaHMS
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!