ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

รัฐบาลต้องเตรียมรับมือเอลนีโญ

ผู้เชี่ยวชาญเตือนให้ประเทศไทยเตรียมรับมือกับปริมาณฝนเฉลี่ยที่ต่ำผิดปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่ภัยแล้งอันเป็นผลมาจากสภาพภูมิอากาศแบบเอลนีโญ ดังนั้น รัฐบาลต้องดำเนินการเชิงรุกด้วยแผนการจัดการน้ำที่ครอบคลุม เพื่อลดผลกระทบให้เหลือน้อยที่สุด เมื่อวานนี้ (15 มิถุนายน) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดประชุมวิชาการด้านการบริหารจัดการน้ำ เพื่อรับมือปรากฏการณ์เอลนีโญซึ่งจะเกิดขึ้นในปีนี้ต่อไปอ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์

เศรษฐกิจไทยต้องเร่งลดคาร์บอนเนื่องจากข้อจำกัดทั่วโลกเพิ่มขึ้น

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ได้ออกคำเตือนว่า ประเทศไทยต้องดำเนินการอย่างเด็ดขาดมากขึ้น เพื่อเปลี่ยนแผนการลดคาร์บอนให้เป็นจริงประเทศกำลังเผชิญกับแรงกดดันด้านกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้นจากตลาดส่งออกและนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งจำเป็นต้องตอบสนองเชิงรุกนายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวถึง กฎระเบียบสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย นั่นคือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) ที่สหภาพยุโรปนำมาใช้ โดย CBAM จะเรียกเก็บเงินจากผู้ส่งออกที่ไม่ใช้เทคโนโลยีในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

กุญแจความร่วมมือในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ประเทศไทยเน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระหว่างการประชุมระดับภูมิภาคประจำปี “79th Commission Session [CS79]” เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาการประชุมเรื่อง “การเร่งดำเนินการด้านสภาพอากาศในเอเชียและแปซิฟิกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” จัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ (UNCC) ในกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 15-19 พฤษภาคม โดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (Escap)อ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

กรมสรรพสามิตจะเก็บภาษีคาร์บอนใน 3 ภาคส่วน

ภาษีคาร์บอนที่กรมสรรพสามิตได้กำหนดขึ้น คาดว่าจะช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ.2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ.2063กรมสรรพสามิตวางแผนที่จะเรียกเก็บภาษีคาร์บอนในภาคพลังงาน ภาคการขนส่ง และภาคอุตสาหกรรม เพื่อช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ.2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ.2063 ตลอดจนลดต้นทุนการนำเข้าเชื้อเพลิงอ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

แนะให้เพิ่มการลดคาร์บอนในระดับภูมิภาค

ตามรายงานของธนาคารพัฒนาเอเชีย ระบุว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำเป็นต้องเร่งการลดคาร์บอนในห่วงโซ่คุณค่าโลก (global value chains : GVCs) เนื่องจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจเผชิญกับการสูญเสียผลิตภัณฑ์รวมในประเทศ หรือ จีดีพี มากถึง 30% ต่อปีภายในปี ค.ศ.2100 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Mr.Winfried Wicklein รองผู้อำนวยการธนาคารพัฒนาเอเชีย กล่าวในการประชุมที่บาหลีว่าอาเซียนเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่เปราะบางที่สุดในแง่ของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์

การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในประเทศไทย เพิ่มขึ้นเล็กน้อย หลังการยกเลิกมาตรการคุมเข้มการระบาดของโควิด

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานกล่าวเมื่อวันอาทิตย์ว่า ประเทศไทยปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 247.7 ล้านตันในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้น 1.5% เมื่อเทียบเป็นรายปี เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวจากโรคระบาด .นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กล่าวว่า การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเกิดจากความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคบริการและการท่องเที่ยว ซึ่งเกิดขึ้นจากการยกเลิกมาตรการคุมเข้มการระบาดของโควิด-19อ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

การเลือกตั้งทั่วไปปี 2566: พรรคการเมืองใดที่มีนโยบาย 'เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม' มากที่สุด?

การเลือกตั้งทั่วไปจะมีขึ้นในวันที่ 14 พฤษภาคมที่กำลังใกล้เข้ามา พรรคการเมืองส่วนใหญ่ได้เสนอนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม โดยเดอะ เนชั่น  พิจารณาถึงสิ่งที่พรรคชั้นนำทั้ง 8 พรรค ได้นำเสนอปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม และไฟป่า ล้วนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งสภาพอากาศที่รุนแรงในปีที่แล้วเป็นการเตือนมนุษยชาติ ในเหตุการณ์ที่อุณหภูมิในยุโรปสูงขึ้นกว่า 2 เท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลกในรอบ 30 ปี และประเทศไทยประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ในภาคตะวันออกอ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

ประเทศไทยพยายามจัดประเภทกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ตามผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า กำลังเร่งออกมาตรฐานเพื่อจำแนกกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยประเทศรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Thailand Taxonomy standards) จะช่วยสนับสนุนการจัดหาเงินทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะที่บริษัทต่างๆ เปลี่ยนไปใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green) ของรัฐบาลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

ความร่วมมือเพื่อสภาพภูมิอากาศ

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ความมุ่งมั่นในความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากผลกระทบยังคงส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องต่อเศรษฐกิจและผู้คนในภูมิภาคผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของข้อตกลงดังกล่าวชัดเจน หนึ่งในนั้นคือความเสี่ยงเล็กน้อยที่คาดว่าหมอกควันข้ามพรมแดนอาจส่งผลกระทบต่ออินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ในปีนี้ ตามการประเมินของสถาบันวิเทศสัมพันธ์แห่งสิงคโปร์ (SIIA)อ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์

ปตท.สผ. เตรียมเปิดตัวโครงการดักจับคาร์บอนแห่งแรกของประเทศภายในปี พ.ศ.2569

องค์กรหนึ่งของกลุ่มน้ำมันและก๊าซของไทย บริษัท ปตท. ตั้งเป้าที่จะนำโครงการดักจับและการจัดเก็บคาร์บอนแห่งแรกของประเทศ โดยจะเริ่มดำเนินการภายในปี พ.ศ.2569 ซึ่งเป็นก้าวสำคัญสู่เป้าหมายของประเทศไทยในการบรรลุความเป็นกลางของคาร์บอนภายในปี พ.ศ.2593บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ตั้งใจที่จะกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาจากแหล่งอาทิตย์บริเวณนอกชายฝั่งในอ่าวไทยใต้พื้นทะเล โดยการศึกษาความเป็นไปได้ที่เริ่มขึ้นในปี พศ.2564 ได้ข้อสรุปเมื่อเร็วๆ นี้ และโครงการนี้อยู่ในขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้น บริษัทกล่าวอ่านต่อ ...

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

GNC38
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!