เขตเศรษฐกิจพิเศษ

เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย คือ บริเวณพื้นที่ที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) กำหนดให้เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งรัฐจะสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน สิทธิประโยชน์การลงทุน การบริหารแรงงานต่างด้าวแบบไป-กลับ การให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จและการบริการอื่นที่จำเป็น1

ตัวอย่างเขตเศรษฐกิจพิเศษ สระแก้ว กำลังดำเนินการพัฒนาบริเวณชายแดนนไทย-กัมพูชา ส่วนหนึ่งของระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ลุ่มน้ำโขงอนุภูมิภาค​​

ตัวอย่างเขตเศรษฐกิจพิเศษ สระแก้ว กำลังดำเนินการพัฒนาบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ส่วนหนึ่งของระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง​​ เน้นการขนส่งสินค้าจากไทยไปยังเวียดนามใต้ ​อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ เกษตรกรรม เฟอร์นิเจอร์ อัญมณี อิเล็กทรอนิกส์ พลาสติก ยา การท่องเที่ยว เป็นต้น ​ที่มา: สำนักงานต่างประเทศ รัฐบาลไทย

การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณชายแดนของประเทศไทย เริ่มจากการผลักดันของธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ภายใต้กลยุทธ์ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากโครงการระเบียงเศรษฐกิจ ในปี พ.ศ. 2541 โดยกำหนดการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนใส่ในแผนปฏิบัติการเพื่อการเปลี่ยนระเบียงการขนส่ง (Transport Corridors) ให้เป็นระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridors)2

31 มี.ค. 2556 มติคณะรัฐมนตรีมอบหมายสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ศึกษาความเหมาะสมการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ3   เพื่อนำนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเป็นส่วนหนึ่งของแผนที่นำทางในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ปี 2557 ประเทศไทยโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ประกาศนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อสร้างฐานการผลิตเชื่อมโยงกับอาเซียนและพัฒนาเมืองชายแดน และได้มีคําสั่งที่ 72/2557 เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2557 แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) โดยมีหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นประธาน มี สศช. เป็นฝ่ายเลขานุการ และมีคณะอนุกรรมการหลักๆ อีก 6 คณะ ทําหน้าที่ขับเคลื่อนงานด้านต่างๆ ที่เป็นหัวใจสําคัญของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษทั้งในส่วนกลางและระดับพื้นที่4 

ในปีถัดมา มีประกาศกำหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ตามหลักเกณฑ์และจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ชายแดนที่มีศักยภาพและเหมาะสมพัฒนาเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จำนวน 10 จังหวัด โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้5

ระยะแรก 5 จังหวัด ได้แก่ ตาก มุกดาหาร สระแก้ว ตราด และสงขลา ประกอบด้วย 10 อำเภอ 36 ตำบล (เริ่มดำเนินการได้ในปี 2558)

ระยะที่สอง 5 จังหวัด ได้แก่ หนองคาย นราธิวาส เชียงราย นครพนม และกาญจนบุรี ประกอบด้วย 12 อำเภอ 55 ตำบล (เริ่มดำเนินการในปี 2559)

กรอบแนวคิดในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของไทย

กนพ. ได้กำหนดแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญให้เกิดการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคโดยใช้โอกาสจากอาเซียน ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่บริเวณชายแดน รวมทั้ง เพิ่มความสามารถในการแข่งขันและการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน6

ช่วงแรกของการดำเนินงาน เป็นการเตรียมความพร้อมในพื้นที่และกำหนดรูปแบบ การพัฒนาที่เหมาะสม ภาครัฐเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาให้เป็นไปตามเป้าหมายและอำนวยความสะดวกการลงทุนของภาคเอกชนในพื้นที่ชายแดนทั้ง 10 แห่ง  

แนวทางการดำเนินงาน

กนพ. เปิดโอกาสให้จังหวัดเป็นผู้จัดทำข้อเสนอการพัฒนาเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ซึ่งครอบคลุมขอบเขตพื้นที่ที่จะพัฒนาเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน กิจกรรมที่ต้องการพัฒนาในพื้นที่ โครงสร้างพื้นฐานที่ต้องการได้รับการพัฒนา และสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนที่ต้องการได้รับการสนับสนุน โดยข้อเสนอดังกล่าวต้องผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม ของประชาชนและภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ การพิจารณาของคณะอนุกรรมการภายใต้ กนพ. ในด้านที่เกี่ยวข้อง และนําเสนอต่อ กนพ. และคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอน เมื่อ กนพ. และคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดําเนินการแผนงาน โครงการ และมาตรการต่างๆ ตามมติคณะรัฐมนตรี โดยนับตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา กนพ. ได้ดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ต่างๆ ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 10 จังหวัด ดังนี้7

1. กำหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 รวม 10 จังหวัด

2. การจัดหาที่ดินและการบริหารจัดการ  

ในรัฐบาล คสช. สั่งการเรื่องการจัดหาที่ดินเพื่อการใช้ประโยชน์สำหรับการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ทั้งในส่วนของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ถนน ด่านศุลกากร และนิคมอุตสาหกรรมเพื่อให้ภาคเอกชนเช่าดำเนินกิจกา

3. การให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน อาทิเช่น

  • สิทธิประโยชน์สำหรับนักลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน กรณีกิจการทั่วไปตามประกาศ กกท. ที่ 2/2557 และกรณีกิจการเป้าหมายตามที่ กนพ. กำหนด ซึ่งกิจการเป้าหมายในการส่งเสริมการลงทุน มี 13 กลุ่มกิจการ 62 ประเภทกิจการย่อย และภายหลังได้ให้ความเห็นชอบเพิ่มเติมอีก 10 ประเภทกิจการย่อย
  • สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น มาตรการด้านภาษีและสินเชื่อ
  • สิทธิประโยชน์ด้านการเช่าที่ดินในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

4. การจัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุน (OSS) ในแต่ละพื้นที่

5. การจัดระบบแรงงานข้ามชาติ ให้สามารถเข้ามาทำงานในลักษณะไป-กลับ ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย ตาก และกาญจนบุรี

6. การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากร ช่วยอำนวยความสะดวกให้เกิดการขยายตัวของการค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในระยะ 2 ทศวรรษที่ผ่านมาและในอนาคต8

7. การจัดทำผังเมืองรวมเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 

มีการจัดทำผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน ผังคมนาคมขนส่ง รวมทั้งการออกแบบการกำหนดโซนนิ่งระดับย่าน พร้อมวางระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ให้สอดคล้องกับพื้นที่และสอดคล้องกับโอกาสขยายตัวในอนาคต

จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนล่าสุด พบว่ามีโครงการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 8 จังหวัด จำนวน 52 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 9,059 ล้านบาท โดยเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตากเป็นพื้นที่ศักยภาพการลงทุนสูงที่สุด จำนวน 28 โครงการ ซึ่งเกี่ยวกับเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องจักรและชิ้นส่วน เป็นต้น รองลงมาคือ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา สระแก้ว และมุกดาหาร9

ความท้าทายด้านกฎหมายและนโยบาย

ด้วยพัฒนาการด้านกฎหมายและกลไกทางนโยบายที่อำนวยความสะดวกให้เกิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ แต่ก็ได้รับการต่อต้านจากองค์กรภาคประชาสังคม ชุมชน และหน่วยงานท้องถิ่นที่ระบุว่า นโยบายที่ประกาศใช้ส่วนใหญ่เอื้อต่อความต้องการของนักลงทุนมากกว่าความต้องการของคนในท้องถิ่น ผลงานการศึกษาล่าสุด10พยายามวิเคราะห์ช่องว่างของนโยบายและพบประเด็นสำคัญที่ควรกล่าวถึง ดังนี้ 

  • การเกิดเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอาเซียน ถือเป็นเรื่องยาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศสมาชิก 
  • ตัวอย่างเช่น ต้นทุนแรงงานในประเทศไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน อย่างพม่า กัมพูชา และลาว ประมาณ 3-5 เท่า ถือเป็นการคุกคามต่อค่าจ้างงานในท้องถิ่น ในขณะที่เศรษฐกิจไทยเติบโตจากการจ้างแรงงานไร้ฝีมือกว่า 6 ล้านคน 
  • การนำสินค้าข้ามชายแดนในปริมาณที่เพิ่มขึ้นช่วยให้ผู้บริโภคในประเทศเพื่อนบ้านซื้อสินค้าได้มากขึ้นในราคาที่ถูกลง ซึ่งส่งผลดีและผลเสียต่อเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ  

ในปัจจุบัน การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐที่สำคัญ จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะลงมือปฏิบัติ โดยพบว่า มีความกังวลและผลกระทบจากการกำหนดนโยบายและข้อกฎหมายต่างๆ มากมาย จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ และองค์กรภาคประชาสังคมจับตาตรวจสอบกระบวนการดำเนินการ เช่น นโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดิน การจัดการในเขตเศรษฐกิจพิเศษ​ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และปัญหาการจัดการน้ำ ฯลฯ อ่านเพิ่มเติม.

 

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

References

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

HYESe
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!