ข่าว

ประเทศไทยลดการใช้ถุงพลาสติกได้ กว่า 148,000 ตันใน 3 ปี

เมื่อวันพุธ (15 ก.พ.) กรมควบคุมมลพิษได้ยกย่องการรณรงค์ของประชาชนในการลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งและถุงช้อปปิ้งพลาสติก รวมกันมากกว่า 148,000 ตันในระยะเวลาประมาณ 3 ปีนายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า กรมฯ ได้เปิดตัวโครงการร่วมกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) ในปี พ.ศ.2561 โดยมีเป้าหมายลดการใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวและถุงช้อปปิ้งพลาสติกลง 43% ภายในปี พ.ศ.2564อ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

ธนาคารโลกเผยอาเซียนสูญเสียงบประมาณมูลค่า 6 พันล้านดอลลาร์ไปกับขยะพลาสติก

ธนาคารโลกเผยผลการศึกษาใหม่พบว่าประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้สูญเสียเงินไปมากถึง 6 พันล้านดอลลาร์ต่อปี เนื่องจากพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียว ซึ่งส่วนใหญ่ถูกทิ้งไปแทนที่จะนำกลับมาใช้ใหม่และรีไซเคิลตามรายงานระบุว่าพลาสติกรีไซเคิลมากกว่าร้อยละ 75 ในมาเลเซียไทยและฟิลิปปินส์ถูกทิ้งให้เป็นขยะ ซึ่งแสดงถึงโอกาสทางธุรกิจที่เสียไปในเศรษฐกิจหมุนเวียนอ่านต่อ ...

ข้อตกลงเพื่อลดการใช้พลาสติก

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กำลังร่วมมือกับผู้ให้บริการจัดส่งอาหารในการลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในข้อตกลงเมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดปริมาณพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งอ่านต่อ ...

อภิญญา วิภาตะโยธิน

โควิด-19 ทำแผนลดขยะพลาสติกล้ม

พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวกำลังกลับมาอีกครั้ง ในขณะที่คนไทยต่างสั่งซื้ออาหารกลับบ้านและจัดส่งสินค้าในปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากโรคระบาดนี่เป็นปีที่ประเทศไทยเริ่มการห้ามใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวตามแผนการลดขยะพลาสติกของรัฐบาล ในช่วงต้นปี พ.ศ.2563 โดยผู้ค้าปลีกรายใหญ่ตกลงที่จะหยุดการแจกถุงพลาสติก ซึ่งเป็นนโยบายที่ควรขยายไปสู่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)อ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์

รัฐบาลหนุนแคมเปญ "ลดรับ ลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติก"

คณะรัฐมนตรีไฟเขียวให้กับแคมเปญ “ลดรับ ลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติก” ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 1 มกราคมปีหน้า ก่อนที่จะมีการสั่งห้ามใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวในปี พ.ศ.2564เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ณ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ จังหวัดกาญจนบุรี นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติการรณรงค์ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ในการลดการแจกถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว และบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์

ทีดีอาร์ไอผลักดันให้รัฐบาลนำการจัดการขยะเป็นหนึ่งวาระแห่งชาติ

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้เรียกร้องให้รัฐบาลรวมการจัดการขยะเป็นส่วนหนึ่งของวาระแห่งชาติ และเสนอให้รัฐบาลห้ามการใช้โฟม และให้ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินเพื่อขอถุงพลาสติกอ่านต่อ ...

ผุสดี อรุณมาศ

กรีนพีซเสนอให้เก็บค่าธรรมเนียมในการจัดการขยะพลาสติก

กรีนพีซได้เสนอให้มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในดำเนินการตามวิธีกำจัดถุงพลาสติกและบรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง รวมถึงการจัดตั้งกองทุนอิสระเพื่อการฟื้นฟูทะเลในประเทศไทยซึ่งข้อเสนอของกลุ่มสิ่งแวดล้อมชื่อดังนั้นเกิดจากการตายของ 2 พะยูนที่ใกล้สูญพันธุ์ โดยหนึ่งในนั้นได้เสียชีวิตจากการเกิดขยะพลาสติกในทะเลอ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

เรียกร้องให้มีการห้ามการใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทั้งหมด

การเสียชีวิตของพะยูนน้อยมาเรียม มีสาเหตุมาจากปัญหาเกี่ยวกับถุงพลาสติกที่ปิดกั้นระบบย่อยอาหารของมาเรียม ทำให้มีการเรียกร้องให้มีการควบคุมถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวอย่างเข้มงวดมากขึ้นหรือการห้ามใช้อย่างสมบูรณ์ดร. ทอนธำรง นาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลและรองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวกับ Thai PBS ว่าการรณรงค์ล่าสุดในการลดการใช้ถุงพลาสติกนั้นอาจ “ไม่เพียงพอ”อ่านต่อ ...

เด็ก 10 ขวบกับแนวคิดเรื่องปัญหาขยะพลาสติก

เด็กหญิงวัย 11 ปีคนหนึ่งได้ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยพลังแห่งการอ้อนวอน เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย และบางทีอาจมากกว่าคนทั้งประเทศร่วมกันนับตั้งแต่เธออายุได้ 8 ขวบ “ลิลลี่” เด็กหญิงระริน  สถิตธนาสาร ได้เข้าประชุมกับผู้บริหารห้างเพื่อเรียกร้องให้ลดขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว การตัดสินใจล่าสุดของกลุ่มเซ็นทรัลที่จะหยุดให้ถุงในห้างสรรพสินค้านั้นเป็นส่วนหนึ่งของคำเรียกร้องของเธออ่านต่อ ...

เอสรี ไทยตระกูลพาณิช

ความหวังบนพลาสติก ‘ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม’ เปลี่ยนเป็นกระแสต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อม

พลาสติกที่มีฉลากที่ระบุว่าสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพโดยอุตสาหกรรมได้กลายเป็นที่นิยม และมีราคาที่ไม่แพง เนื่องจากประชาชนได้ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากความเสียหายมากมายที่เกิดจากพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ภาชนะบรรจุอาหาร หลอดพลาสติก และสิ่งของอื่น ๆอ่านต่อ ...

นพคุณ ลิ้มสมานพันธ์

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

EHaxU
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!