ข่าว
คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงอนุมัติยุทธศาสตร์การจัดการภัยแล้ง และนโยบายอื่น ๆ เพิ่มขีดความสามารถของประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับภัยพิบัติในอนาคต
ผู้แทนรัฐมนตรีจากคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ได้ร่วมตัวกันในการประชุมประจำปี ณ กรุงพนมเปญในการอนุมัติยุทธศาสตร์การจัดการภัยแล้ง ปี พ.ศ.2563-2568 ทำให้กัมพูชา สปป. ลาว ไทย และเวียดนามเตรียมความพร้อม และจัดการภัยแล้งโดยรวมโดยยุทธศาสตร์ที่ได้รับการอนุมัตินั้นเกิดขึ้น เนื่องจากภูมิภาคกำลังประสบกับปัญหาภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุด ซึ่งทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดลงถึงจุดต่ำสุด ในช่วงชีวิตหรือในรอบ 60 ปีที่ผ่านมาอ่านต่อ ...
ภัยแล้งยังคงส่งผลกระทบต่อประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง โดยมีความเสี่ยงต่อการผลิตพืชผล และ การขาดแคลนน้ำ
คาดการณ์ว่าภัยแล้งในระดับที่รุนแรงจนถึงขั้นสุดขั้วจะส่งผลกระทบต่อประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างตั้งแต่วันนี้ถึงมกราคม พ.ศ.2563 ประเทศไทยและกัมพูชาจะได้รับผลกระทบหนักที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับ สปป.ลาวและเวียดนามการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของคณะกรรมาธิการลุ่มน้ำโขง (MRC) แสดงให้เห็นว่าภัยแล้งเกิดจากปริมาณน้ำฝนที่ไม่เพียงพอในช่วงฤดูฝนที่มาช้า และมรสุมที่หมดเร็วกว่าปกติ พร้อมกับสภาวะ El Nino ที่ทำให้เกิดอุณหภูมิ และการระเหยที่สูงผิดปกติอ่านต่อ ...
ความพยายามในการพัฒนาร่วมกัน เพื่อความยั่งยืนของแม่น้ำโขง
ผู้แทน 180 คน จากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ ได้มารวมตัวกันที่ประชุมระดับภูมิภาคเวทีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง(MRC) เพื่อถอดบทเรียนจากความพยายามร่วมกันในปัจจุบัน และหาวิธีที่ดีกว่าในการจัดการกับความท้าทายเร่งด่วนที่กำลังเผชิญในแม่น้ำโขง ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศกัมพูชา ลาว ไทย เวียตนาม จีน และพม่า รวมถึงสถาบันวิจัย ภาคเอกชน พันธมิตรเพื่อการพัฒนาและองค์กรภาคประชาสังคมอ่านต่อ ...
เยอรมนี และสหภาพยุโรปเพิ่มเงินทุนเพื่อเร่งโครงการในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (29 พ.ย.) สำนักข่าวคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) เปิดเผยว่า ทางคณะกรรมาธิการได้รับเงินสนับสนุนก้อนใหม่มูลค่า 8.92 ล้านยูโร (10.15 ล้านเหรียญสหรัฐ) จากเยอรมนี และสหภาพยุโรป เพื่อกระชับความร่วมมือด้านน้ำข้ามพรมแดนระหว่างประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ได้แก่ กัมพูชา ลาว ไทย และเวียดนามอ่านต่อ ...
การต่อสู้กับจีนในลุ่มน้ำโขง
ประเทศในลุ่มน้ำแม่น้ำโขง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ลุ่มน้ำตอนล่างของแม่น้ำที่ยาวที่สุดเป็นอันดับที่เจ็ดของเอเชียกำลังต้องการผลักดันยุทธศาสตร์ร่วมกัน เพื่อรักษาอนาคตของตน โดยการควบคุมส่วนต้นน้ำของจีน และการเปลี่ยนแปลงภูมิศาสตร์การเมืองสากลอย่างต่อเนื่องอ่านต่อ ...
ผู้สนับสนุนกล่าว ไม่ควรทำธุรกิจเขื่อนเพื่อผลกำไรเพียงอย่างเดียว
การพังทลายของเขื่อนโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อย เมื่อเดือนที่ผ่านมา ในแขวงอัตตะปือ ประเทศลาว โดยมีการผู้เสียชีวิตถึง 35 ชีวิต หายสาญสูญร่วม 99 รายและหลายพันชีวิตต้องสูญเสียบ้าน โศกนาฏกรรมครั้งนี้ได้กระตุ้นให้รัฐบาลลาวจัดตั้งทีม เพื่อหาสาเหตุของเหตุการณ์ และหาว่าใครควรจะเป็นผู้รับผิดชอบ นอกจากนี้ยังได้สั่งให้มีการตรวจสอบความปลอดภัยในทุกเขื่ของประเทศ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการตัดสินใจระงับการสร้างเขื่อนใหม่ และกำลังทบทวนแผนการที่จะกลายเป็น “แบตเตอรี่แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”อ่านต่อ ...
ปิยะพร วงศ์เรือง
ญี่ปุ่นเดินหน้าสนับสนุนการปรับปรุงระบบชลประทานในลุ่มน้ำโขง
กระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงของญี่ปุ่น (MAFF) ยืนยันในที่ประชุม ณ กรุงเวียงจันทน์ ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะยังคงสนับสนุนคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ในโครงการปรับปรุงระบบชลประทานในประเทศลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างของกัมพูชา ลาว ไทย และเวียดนามอ่านต่อ ...
สุชาณี รุ่งเหมือนพร
หลีกเลี่ยงปัญหาทะเลจีนใต้ กับดักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในเดือนที่ผ่านมา การประชุมสุดยอดคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ครั้งที่ 3 ที่จัดขึ้น ณ เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ซึ่งนายกรัฐมนตรีลาว ไทย และเวียดนาม เข้าร่วมการประชุม โดยมีสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม เช่นเดียวกับในการประชุมครั้งก่อน ๆ ประเทศจีนที่เป็นประเทศต้นน้ำ แต่เป็นเพียงคู่เจรจาเท่านั้น และพม่าด้วยเช่นกันอ่านต่อ ...
Ravi Velloor
คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงชักจูงจีนหลีกเลี่ยงความเสียหายจากเขื่อน
อนาคตของลุ่มแม่น้ำโขงกลับมาเป็นประเด็นสำคัญอีกครั้งหลังการประชุมสุดยอดคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2561 ณ เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชาแม่น้ำโขงไหลลงจากประเทศจีน (บริเวณที่เรียกว่าลังกา) ผ่านพม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม อย่างไรก็ตามมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ในประเทศจีน และในประเทศท้ายน้ำอ่านต่อ ...
Wang Yan
สนธิสัญญาเรียกร้องให้มีการหารือก่อนโครงการสำคัญ ๆ ของแม่น้ำโขง
ผู้นำของประเทศลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง – ไทยลาวกัมพูชาและเวียดนาม-ได้ตกลงกันเมื่อวานนี้ (4 เมษายน) ในการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการใช้น้ำภายใต้คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) เพื่อควบคุมโครงการที่มีการถกเถียงกันในแม่น้ำที่ยาวที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น