Bloomberg

ประเทศไทยเร่งกระจายวัคซีนโควิด 6 ล้านโดส ในเดือนมิถุนายน

ประเทศไทยตั้งเป้าที่จะฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ได้มากถึง 6 ล้านโดสในเดือนนี้ โดยถือเป็นจุดเริ่มโครงการกระจายฉีดวัคซีนท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนาที่เลวร้ายที่สุดของประเทศนับตั้งแต่เกิดโรคระบาดน.พ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรคเปิดเผยว่ารัฐบาลมีแผนจะแจกจ่าย AstraZeneca Plc และ Sinovac Biotech Ltd. ประมาณ 2 ล้านโดสไปยังสถานที่ฉีดวัคซีนทั่วประเทศไทย ก่อนการเปิดตัวในวันที่ 7 มิถุนายน ซึ่งในเดือนมิถุนายนจะมีการฉีดวัคซีนให้มากถึง 6 ล้านโดส โดยมีเป้าหมายการฉีดอยู่ที่ประมาณ 500,000 โดสต่อวันอ่านต่อ ...

ราชกิจจานุเบกษาประกาศ พ.ร.ก.กู้เงินโควิดเพิ่มเติม 5 แสนล้าน

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณรับรองแผนกู้เงินอีก 5 แสนล้านบาท เพื่อปกป้องเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากผลกระทบของการระบาดของไวรัสโคโรนาที่กำลังคุกคามการฟื้นตัว และแผนการที่จะเปิดพรมแดนให้กับนักท่องเที่ยวอีกครั้งตามประกาศราชกิจจานุเบกษาที่เผยแพร่เมื่อวันอังคารนี้ รัฐบาลสามารถกู้ยืมเงิน 500,000 ล้านบาท (16,000 ล้านดอลลาร์) ทั้งจากตลาดในประเทศหรือต่างประเทศ เพื่อเป็นเงินทุนในมาตรการเยียวยาโควิดสำหรับประชาชน และธุรกิจ หนี้ก้อนใหม่ที่เพิ่มขึ้นเป็นเงินกู้หรือผ่านการขายหลักทรัพย์อื่น ๆ จะต้องสิ้นสุดภายในเดือนกันยายน พ.ศ.2565อ่านต่อ ...

ไทยขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เนื่องจากยอดผู้เสียชีวิตโควิดพุ่ง

ประเทศไทยอาจพิจารณาขยายสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาออกไปอีกสองเดือน เนื่องจากการระบาดระยะที่ 3 ที่ระบาดอย่างหนักอยู่ ณ ขณะนี้ ยังไม่มีสัญญาณว่าจะคลี่คลายลงนพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดเผยว่าทางศบค.ได้อนุมัติให้ขยายพ.ร.ก.ฉุกเฉินออกไปจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม ซึ่งพ.ร.ก.ดังกล่าวจะช่วยให้รัฐบาลสามารถปรับปรุงแผนการควบคุมโรคโดยไม่ต้องรับการอนุมัติจากหลายหน่วยงานตั้งแต่เดือนมีนาคมปีที่แล้วอ่านต่อ ...

ไทยกู้เพิ่ม 7 แสนล้าน รับมือโควิด

ประเทศไทยมีแผนกู้เงินเพิ่มอีก 7 แสนล้านบาท (22.3 พันล้านดอลลาร์) เพื่อใช้ในมาตรการรับมือการระบาดระลอกใหญ่ของโควิด -19 ที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจไทยที่ใหญ่เป็นอันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการประชุมคณะรัฐมนตรีที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้อนุมัติแผนการกู้ยืมครั้งใหม่จากกระทรวงการคลัง โดยปฏิเสธที่จะระบุก่อนที่จะประกาศต่อสาธารณะอ่านต่อ ...

ธนาคารโลกเผยอาเซียนสูญเสียงบประมาณมูลค่า 6 พันล้านดอลลาร์ไปกับขยะพลาสติก

ธนาคารโลกเผยผลการศึกษาใหม่พบว่าประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้สูญเสียเงินไปมากถึง 6 พันล้านดอลลาร์ต่อปี เนื่องจากพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียว ซึ่งส่วนใหญ่ถูกทิ้งไปแทนที่จะนำกลับมาใช้ใหม่และรีไซเคิลตามรายงานระบุว่าพลาสติกรีไซเคิลมากกว่าร้อยละ 75 ในมาเลเซียไทยและฟิลิปปินส์ถูกทิ้งให้เป็นขยะ ซึ่งแสดงถึงโอกาสทางธุรกิจที่เสียไปในเศรษฐกิจหมุนเวียนอ่านต่อ ...

ธปท.คงประกาศอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

ธนาคารแห่งประเทศไทยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำมาอย่างยาวนาน เนื่องจากมาตรการทางการคลังถือเป็นผู้นำในการฟื้นฟูเศรษฐกิจท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด -19วันพุธนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยมีมัติเป็ฯเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% หลังจากที่ปรับลงไปแล้ว 75 จุดพื้นฐาน (BPS) เมื่อปีที่แล้ว โดยนักเศรษฐศาสตร์ 25 จาก 27 คนตามการสำรวจของบลูมเบิร์กคาดการณ์ว่าจะยังคงมีการปรับลดงอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 25 จุดพื้นฐาน (BPS) อีก 2 ครั้งอ่านต่อ ...

ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยเลวร้ายลง จากการแพร่กระจายของไวรัส

ตามการสำรวจระดับชาติ รายงานว่า คาดการณ์ว่าสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยจะแย่ลงอีกในปีนี้ เนื่องจากประเทศต่างๆ กำลังต่อสู้กับการระบาดของไวรัสโคโรนาจาดผลการศึกษาที่จัดทำโดยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พบว่า ประมาณ 52.2% ของผู้ตอบแบบสอบถาม คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2564 จะแย่ลงกว่าปีที่แล้ว ในขณะที่ 14.6% คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอ่านต่อ ...

ธปท.แจงจีดีพีอาจแย่กว่าที่คาดในปีหน้า

ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวเมื่อวันศุกร์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของไทยในปีหน้าอาจได้ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ หากการท่องเที่ยวยังคงอ่อนแอ แม้ว่าผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจในปีนี้อาจสูงกว่าการคาดการณ์อย่างมากก็ตามตัวเลือกนโยบายที่เหมาะสมทั้งหมดอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาประกอบกับสถานการณ์ในขณะนี้ แม้ว่าขณะนี้ ธปท. จะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการผ่อนคลายเชิงปริมาณ แต่ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวกับผู้สื่อข่าวในการบรรยายสรุปที่กรุงเทพฯ ว่า นโยบายการเงินจะยังคงผ่อนคลายและมุ่งเน้นไปที่การเติบโตในขณะที่การกระตุ้นทางการคลังควรมีอยู่จนถึงกลางปีหน้าอ่านต่อ ...

คาด GDP ของไทยปี’63 ลดลง 7.7% ดีกว่าคาดการณ์ก่อนหน้านี้

เศรษฐกิจของไทยในปีนี้จะหดตัวน้อยกว่าที่ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากมาตรการสนับสนุนของรัฐบาลได้ช่วยบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาเห็นได้ว่าประเทศไทย ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคระบาดต่อการค้าและการท่องเที่ยวโดย GDP จะหดตัว 7.7% ในปี พ.ศ.2563 นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง และรองโฆษกกระทรวงฯ กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีว่า เมื่อเดือนกรกฎาคม ทางกระทรวงฯ ได้คาดการณ์ว่า GDP จะลดลงถึง 8.5%อ่านต่อ ...

ประเทศไทยมีแผนเปิดรับนักท่องเที่ยวเข้าพักระยะยาวอีกครั้งในฤดูหนาวนี้

ประเทศไทยกำลังสรุปแผนที่จะทำให้ชาวยุโรปที่เกษียณอายุ และต้องการอาบแดดในเวลาช่วงฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึงในประเทศเพื่อพยายามกอบกู้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ซบเซานพ.บุญ วนาสิน ประธานกรรมการบริษัทธนบุรี เฮลแคร์ กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ถึงแม้พรมแดนส่วนใหญ่ของประเทศในภูมิภาคเอเชียจะถูกปิดสำหรับชาวต่างชาติ ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม เพื่อต่อสู้กับโรคระบาด แต่ขณะนี้รัฐบาลกำลังวางแผนที่จะให้วีซ่าแก่ชาวต่างชาติที่ต้องการอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานานถึง 9 เดือน อ่านต่อ ...

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

bCe9C
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!