ข่าว

ธปท. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครึ่งหลังของปี’2567

นักวิเคราะห์กล่าวว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งหลังของปี พ.ศ.2567 ซึ่งสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวที่คล้ายกันของธนาคารกลางสหรัฐ นักวิเคราะห์กล่าว เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศต้องการการสนับสนุนเพิ่มเติมเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตในปีหน้าBMI ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของ Fitch Solutions ในนิวยอร์ก เชื่อว่า นโยบายการเงินแบบเข้มงวดของธนาคารกลางไทยสิ้นสุดลงแล้ว หลังจากข้อมูลเดือนตุลาคมแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะเงินฝืดเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ.2564 BMI กล่าวว่า “ในขณะที่เราคาดว่าแรงกดดันด้านราคาจะฟื้นตัว ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ภาพที่ใหญ่กว่าคืออัตราเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในกรอบเป้าหมายของธนาคารกลางที่ 1-3% ในปี 2567” อ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์

ธปท. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.5% เพื่อรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติเป็นเอกฉันท์ในการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.5% ต่อปีนายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)  เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยโดยรวมยังคงมีแนวโน้มฟื้นตัว แม้ว่าภาคการส่งออกและการผลิตจะชะลอตัวลงก็ตาม อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ.2567 และ พ.ศ.2568 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวต่อเนื่องมากขึ้นจากอุปสงค์ในประเทศ การท่องเที่ยว และการฟื้นตัวของภาคการส่งออกกนง. มองว่าอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ.2567 สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและแรงกดดันด้านอุปทานจากปรากฏการณ์ระดับโลก เช่น เอลนีโญอ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

คาดว่าอัตราดอกเบี้ย จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (EIC) คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 1 หรือ 2 ครั้งในปีนี้ เนื่องจากมีความเสี่ยงขาขึ้นต่ออัตราเงินเฟ้อในขณะที่เศรษฐกิจฟื้นตัวศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (Economic Intelligence Center; EIC) ซึ่งเป็นหน่วยวิจัยของธนาคารไทยพาณิชย์ คาดการณ์ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ทั้งในเดือนสิงหาคมและกันยายน ภายใต้ประมาณการ ซึ่งอัตราจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.5% จากปัจจุบัน 2%อ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์

ธนาคารคาดชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เชื่อว่า ภาคการธนาคารจะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ตามการที่ ธปท. คาดการณ์ว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปนายพยง ศรีวานิช ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวในการประชุมคณะกรรมการ กกร. เมื่อวันพุธว่า ภายใต้แนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ธนาคารต่าง ๆ อาจไม่ตอบสนองต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในทันที เพื่อรองรับผู้กู้ท่ามกลางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ค่อยเป็นค่อยไป อ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์

ธปท. คงอัตราดอกเบี้ย ชี้โอไมครอนเป็นความเสี่ยง

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ จากการประชุมติดต่อกันเป็นครั้งที่ 13 ในวันพุธ เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยว ซึ่งเผชิญกับความเสี่ยงใหม่จากการแพร่กระจายของไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนคณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธปท. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืน 1 วัน ไว้ที่ 0.50% ตามที่นักเศรษฐศาสตร์ทั้ง 22 คนคาดไว้ในโพลของรอยเตอร์ในขณะที่ ธปท. คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวต่อไป แต่ก็ได้ให้ความสนใจถึงความเสี่ยงจากการแพร่กระจายของไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนอ่านต่อ ...

ธปท. ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง

ธนาคารแห่งประเทศตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยสำคัญไว้ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.50% ตามที่คาดกาณ์ไว้โดยยังคงรักษากระสุนไว้ได้อย่างจำกัด เนื่องจากเศรษฐกิจต้องดิ้นรนหลังต้องเผชิญกับการระบาดระลอกสาม การระบาดครั้งล่าสุดทำให้กิจกรรมในประเทศชะลอตัว เศรษฐกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยวในช่วงเวลาที่เตรียมเปิดรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง แต่การส่งออกที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญอีกประการหนึ่งเป็นตัวสนับสนุนในบางส่วนในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร 1 วัน (RP 1 วัน) นับเป็นครั้งที่แปดติดต่อกันอ่านต่อ ...

ครม. เห็ยชอบแก้กฎหมายลดดอกเบี้ยปรับผิดสัญญาเงินกู้ – ชำระหนี้ [วิดีโอ]

คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติการผ่อนปรนกฎหมายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งกฎหมายนี้ใช้มาแล้วกว่า 95 ปี โดยลดอัตราดอกเบี้ยกรณีผิดสัญญาเงินกู้และกรณีผิดนัดชำระหนี้ เพื่อทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงประโยชน์ของกฎหมายและมีโอกาสชำระหนี้ได้มากขึ้นดูต่อ ...

ธปท.คงประกาศอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

ธนาคารแห่งประเทศไทยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำมาอย่างยาวนาน เนื่องจากมาตรการทางการคลังถือเป็นผู้นำในการฟื้นฟูเศรษฐกิจท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด -19วันพุธนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยมีมัติเป็ฯเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% หลังจากที่ปรับลงไปแล้ว 75 จุดพื้นฐาน (BPS) เมื่อปีที่แล้ว โดยนักเศรษฐศาสตร์ 25 จาก 27 คนตามการสำรวจของบลูมเบิร์กคาดการณ์ว่าจะยังคงมีการปรับลดงอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 25 จุดพื้นฐาน (BPS) อีก 2 ครั้งอ่านต่อ ...

ธปท.ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ลดภาระดอกเบี้ยของคนไทย

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้ออก มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดภาระอัตราดอกเบี้ยของคนไทยจากร้อยละ 16-25 เป็นร้อยละ 5.5-8.8นางธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการธปท. เปิดเผยว่ามาตรการรวมหนี้จะช่วยให้ผู้กู้สามารถรวมบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อเพื่อการจำนองเป็นเงินก้อนเดียวอ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

แบงค์ชาติระบุเศรษฐกิจเผชิญกับความไม่แน่นอนทางการเมืองที่เพิ่มสูงขึ้น

ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่เพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย หลังจากการเลือกตั้งมีความสำคัญต่อการประกาศกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยทำให้เกิดมุมมองสำหรับนโยบายเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยกล่าวในรายงานการประชุมเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการประกาศคงอัตราดอกเบี้ยอ่านต่อ ...

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

JtUju
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!