สิทธิแรงงานลดลงในช่วง COVID-19

กระทรวงแรงงานของประเทศไทยประกาศใช้ พ.ร.ก. สถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อห้ามมิให้มีการนัดหยุดงานในช่วงที่มีการระบาดของโรค Covid-19 ข้อพิพาทแรงงานต่างๆ จะถูกโอนไปยังคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่ได้รับการแต่งตั้งจาก ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานโดยคำสั่งมีผลตั้งแต่ 6 พฤษภาคมเป็นต้นไป ในสถานการณ์ปกติกฎหมายปัจจุบันอนุญาตให้มีการนัดหยุดงาน ในข้อพิพาทที่หาข้อสรุปไม่ได้ยกเว้นในอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น รัฐบาลสามารถแทรกแซงได้ก็ต่อเมื่อประเทศอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกหรือคำสั่งฉุกเฉิน หรือเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกำหนดว่าข้อพิพาทแรงงานอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนอ่านต่อ ...

ไทยต้องคุ้มครองสิทธิแรงงาน หากต้องการเลี่ยงหลีกมาตรการลงโทษจากสหรัฐฯ

นอกเหนือจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ภาคการส่งออกของไทยจะได้รับผลกระทบอย่างมากอีกครั้ง เมื่อสหรัฐตัดสินใจลดสิทธิการค้าปลอดภาษีของไทย เนื่องจากไทยไม่สามารถให้การคุ้มครองสิทธิแรงงานที่ดีได้นับตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา การระงับสิทธิพิเศษทางการค้าภายใต้ระบบสิทธิพิเศษภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) จะส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและสูญเสียเม็ดเงินไปแล้วกว่า 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 3.93 หมื่นล้านบาทอ่านต่อ ...

ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ และ ราตรี ประสมทรัพย์

คณะทำงานเรียกร้องให้ประเทศไทยแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเนื่องจากการระงับ GSP

จากการที่รัฐบาลสหรัฐฯได้ระงับสิทธิทางการค้าต่อประเทศไทยมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์เนื่องจากปัญหาสิทธิแรงงาน โดยองค์กรที่เข้าร่วมในคณะทำงานด้านอาหารทะเลได้ออกแถลงการณ์ เนื่องในวันสิทธิมนุษยชน พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลไทยเร่งดำเนินการปฏิรูปที่จำเป็น เพื่อให้ได้สิทธิทางการค้ากลับมา อีกทั้งองค์กรทั้ง 23 แห่งยังเรียกร้องให้บริษัทระดับโลกที่นำเข้าอาหารทะเลจากประเทศไทย สามารถมั่นใจได้ว่าสิทธิของแรงงานได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่ในห่วงโซ่อุปทานอ่านต่อ ...

เครือซีพีให้คำมั่นว่าจะปกป้องสิทธิมนุษยชนของแรงงาน หลังไทยถูกกดดันจากสหรัฐฯ

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CP Foods) ได้ให้คำมั่นว่าจะบรรลุการพัฒนาด้านสิทธิแรงงานอย่างยั่งยืนทั่วทั้งเครือบริษัทฯ และห่วงโซ่อุปทานโดยทางบริษัทฯ กล่าวว่า มีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติที่ดีภายใต้กระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนเนื่องจากได้ทำการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงและผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนจากกิจกรรมทางธุรกิจอ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

นักวิชาการเรียกร้องให้รัฐบาลเพิ่มการคุ้มครองสิทธิแรงงาน เพื่อตอบสนองต่อการระงับ GSP

นักวิชาการ กล่าวว่า ประเทศไทยยังไม่มีการคุ้มครองสิทธิของแรงงานทั้งไทยและต่างประเทศที่เพียงพอ และแม้ว่าจะมีการปรับปรุงบ้าง แต่กฎหมาย และข้อบังคับที่มีอยู่ยังคงจำกัดสิทธิของพวกแรงงานอยู่โดยความคิดเห็นของบรรดานักวิชาการเกิดขึ้นหลังจากผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ประกาศเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ตัดสินใจระงับสิทธิพิเศษทางการค้าภายใต้ระบบสิทธิพิเศษภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) มูลค่า 1.3 พันล้านดอลลาร์ โดยอ้างว่าไทยล้มเหลวในการคุ้มครองสิทธิแรงงานอ่านต่อ ...

วิชิต ใจตรง

ลูกจ้างชั่วคราวสังกัด สพฐ.เรียกร้องปรับสัญญาจ้าง

ในวันพุธที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการได้รับแรงกดดันจากลูกจ้างชั่วคราวของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้ยอมรับที่จะจ้างงานภายใต้ระบบแบบเก่า ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าปัจจุบัน และมีความมั่นคงในการงานมากกว่าอ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์

รัฐบาลถูกกระตุ้นให้ยกเลิกกฎหมายแรงงานที่ผ่อนคลาย

ผู้สนับสนุนด้านสิทธิมนุษยชนกำลังเรียกร้องให้รัฐบาลติดตามความพยายามในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ และการเอารัดเอาเปรียบ ตามความสำเร็จในการพัฒนาสถานะของประเทศไทยในประเด็นนี้อ่านต่อ ...

เพ็ญจันทร์ เจริญสุทธิพันธ์

แก้ไขกฎหมายว่าด้วยการย้ายที่ทำงานในประเทศไทย

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2562 การแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานของประเทศไทยได้แนะนำการเปลี่ยนแปลงข้อผูกพันต่าง ๆ ของนายจ้าง เพื่อเพิ่มการคุ้มครองพนักงานรวมถึงการจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมาย การลาคลอดบุตร และการลาด้วยเหตุที่จำเป็น นอกจากนี้ยังมีการแก้ไขที่สำคัญในกฎหมายว่าด้วยการย้ายถิ่นฐานในที่ทำงาน และนายจ้างควรทำความเข้าใจกับบทบัญญัติใหม่เหล่านี้ เนื่องจากอาจเกิดผลกระทบกับการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจในอนาคตอ่านต่อ ...

การละเมิดสิทธิแรงงานที่เพิ่มขึ้นในอาเซียน

การละเมิดสิทธิแรงงานในอาเซียนเป็นผลกระทบด้านลบจากการเพิ่มขึ้นของการผลิต อันเนื่องมาจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้มีการเปลี่ยนฐานการผลิตจากจีนไปสู่ภูมิภาคนี้ ในขณะที่ภูมิภาคกำลังเริ่มการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 อุตสาหกรรมจำนวนมากในอาเซียนยังคงพึ่งพาโรงงานที่ใช้แรงงานมาก ไม่สามารถลงทุนในความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่จะทำให้การผลิตเป็นอัตโนมัติ และลดภาระงาน โรงงานจำนวนมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เต็มไปด้วยแรงงานข้ามชาติที่ปรากฏในข่าวด้วยลักษณะที่ไม่ถูกต้องมากนักอ่านต่อ ...

สายด่วนเพื่อผู้ใช้แรงงาน: เรียกร้องสิทธิแก่แรงงานในประเทศไทย

มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน ซึ่งทำงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาล ภาคเอกชน และผู้ใช้แรงงาน เพื่อการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนทั้งในและต่างประเทศมานานหลายทศวรรษ พบว่า หนึ่งในความจริงที่แสนเจ็บปวดที่สุดที่พบ คือ เหล่าผู้ใช้แรงงานมักไม่ทราบถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่พวกเขาพึงได้ โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตนเองมีสิทธิอันใดบ้างอ่านต่อ ...

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

Tzub4
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!