แรงงาน
นโยบายแรงงานและการบริหารจัดการ
ทางการหนุนค่าแรงรายชั่วโมง รับมือคนตกงานช่วงโควิด-19
รัฐบาลเตรียมผลักดันให้มีการนำเอาค่าแรงรายชั่วโมงมาใช้ ในขณะที่นักเคลื่อนไหวด้านแรงงานยังคงระแวดระวังว่าแรงงานในบางอุตสาหกรรมจะถูกเอารัดเอาเปรียบยิ่งขึ้นเนื่องจากการว่างงานที่พุ่งสูงขึ้นจากการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยคาดการณ์ว่าคนไทยกว่า 9 ล้านคนจะตกงานอันเป็นผลมาจากการระบาดของโควิด -19 ทำให้ทางการต้องเร่งส่งเสริมการจ้างงานนอกเวลา โดยเฉพาะในภาคบริการ เช่น การขายอาหารและสินค้า การจัดการผลิตภัณฑ์และการขนส่งสินค้าอ่านต่อ ...
เพ็ญจันทร์ เจริญสุทธิพันธ์
สิทธิแรงงานลดลงในช่วง COVID-19
กระทรวงแรงงานของประเทศไทยประกาศใช้ พ.ร.ก. สถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อห้ามมิให้มีการนัดหยุดงานในช่วงที่มีการระบาดของโรค Covid-19 ข้อพิพาทแรงงานต่างๆ จะถูกโอนไปยังคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่ได้รับการแต่งตั้งจาก ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานโดยคำสั่งมีผลตั้งแต่ 6 พฤษภาคมเป็นต้นไป ในสถานการณ์ปกติกฎหมายปัจจุบันอนุญาตให้มีการนัดหยุดงาน ในข้อพิพาทที่หาข้อสรุปไม่ได้ยกเว้นในอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น รัฐบาลสามารถแทรกแซงได้ก็ต่อเมื่อประเทศอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกหรือคำสั่งฉุกเฉิน หรือเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกำหนดว่าข้อพิพาทแรงงานอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนอ่านต่อ ...
กระทรวงแรงงานพร้อมให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม
ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ทางกระทรวงจะขอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติข้อเสนอใหม่เกี่ยวกับความช่วยเหลือทางการเงินแก่กลุ่มคนงานอีก 800,000 ราย ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด -19 โดย ม.ร.ว.จัตุมงคล กล่าวว่า คนงานเหล่านี้ไม่ได้รับการคุ้มครองจากมาตรการบรรเทาที่ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีผลเฉพาะกับผู้ที่ตกงานหรือถูกพักงาน เนื่องจากรัฐบาลสั่งให้ปิดกิจการเพื่อระงับการระบาดอ่านต่อ ...
เพ็ญจันทร์ เจริญสุทธิพันธ์
ผ่อนผันค่าแรงขั้นต่ำ เพื่อสนับสนุน SMEs
รัฐบาลกำลังพิจารณาถึงการยกเลิกข้อกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำรายวันชั่วคราว เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการรักษาการจ้างงานในช่วงการระบาดใหญ่นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์กรนายจ้างผู้ประกอบการค้าอุตสาหกรรมไทย กล่าวว่า ทางสภาคาดการณ์ว่าอัตราการว่างงานของประเทศทั้งหมดจะอยู่ที่ 9-10 ล้านคน ภายในสิ้นเดือนนี้หลังจากที่รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและเคอร์ฟิวทั่วประเทศ โดยเพิ่มขึ้นจาก 6.5 ล้านในเดือนมีนาคมอ่านต่อ ...
Chatrudee Theparat
ไทยต้องคุ้มครองสิทธิแรงงาน หากต้องการเลี่ยงหลีกมาตรการลงโทษจากสหรัฐฯ
นอกเหนือจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ภาคการส่งออกของไทยจะได้รับผลกระทบอย่างมากอีกครั้ง เมื่อสหรัฐตัดสินใจลดสิทธิการค้าปลอดภาษีของไทย เนื่องจากไทยไม่สามารถให้การคุ้มครองสิทธิแรงงานที่ดีได้นับตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา การระงับสิทธิพิเศษทางการค้าภายใต้ระบบสิทธิพิเศษภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) จะส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและสูญเสียเม็ดเงินไปแล้วกว่า 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 3.93 หมื่นล้านบาทอ่านต่อ ...
ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ และ ราตรี ประสมทรัพย์
เหล่าผู้ใช้แรงงานกำลังกังวลกับเศรษฐกิจในปีนี้
ผู้เชี่ยวชาญและผู้นำแรงงาน กล่าวว่า ในปีนี้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำอาจไม่เพิ่มขึ้นไปมากกว่านี้ เนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่ยืดเยื้อซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างหนัก“การเก็บออมรายได้เพื่อชำระหนี้ และ การทำงานล่วงเวลาที่กำลังหยุดลง” เป็นคำแนะนำที่สรุปแนวโน้มสำหรับแรงงานในปีนี้อ่านต่อ ...
เพ็ญจันทร์ เจริญสุทธิพันธ์
การปรับขึ้นค่าแรงเป็นเพียงการบรรเทาเล็กน้อย
การปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันเพียงไม่กี่บาท โดยขึ้นอยู่กับสถานที่จะมีผลบังคับใช้ในวันพุธที่จะถึงนี้ (1 มกราคา 2563) เปรียบเหมือนการมอบของขวัญปีใหม่ให้กับผู้ใช้แรงงานโดยโครงสร้างใหม่ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันศุกร์ที่ผ่านมา ได้กำหนดค่าแรงขั้นต่ำรายวันจะสูงถึง 313-346 บาท จากอัตราปัจจุบัน 308-330 บาทซึ่งเริ่มนำไปใช้กับ 10 กลุ่มจังหวัดอ่านต่อ ...
บรรณาธิการ
SMEs จุก หลังขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
สภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (สภาเอสเอ็มอี) เผยบริษัทขนาดเล็กอาจชะลอการลงทุนและการสรรหาบุคลากรในปีหน้า เนื่องจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 5-6 บาทต่อวันเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งคณะกรรมการค่าจ้างแห่งชาติตกลงที่จะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรายวันจาก 308-330 บาท เป็น 313-336 บาท โดยคณะผู้พิจารณาจะเสนอเรื่องเข้าสู่คณะรัฐมนตรี เพื่อให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมนี้อ่านต่อ ...
ลมลเพ็ชร อภิสิทธิ์นิรันดร์
คณะทำงานเรียกร้องให้ประเทศไทยแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเนื่องจากการระงับ GSP
จากการที่รัฐบาลสหรัฐฯได้ระงับสิทธิทางการค้าต่อประเทศไทยมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์เนื่องจากปัญหาสิทธิแรงงาน โดยองค์กรที่เข้าร่วมในคณะทำงานด้านอาหารทะเลได้ออกแถลงการณ์ เนื่องในวันสิทธิมนุษยชน พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลไทยเร่งดำเนินการปฏิรูปที่จำเป็น เพื่อให้ได้สิทธิทางการค้ากลับมา อีกทั้งองค์กรทั้ง 23 แห่งยังเรียกร้องให้บริษัทระดับโลกที่นำเข้าอาหารทะเลจากประเทศไทย สามารถมั่นใจได้ว่าสิทธิของแรงงานได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่ในห่วงโซ่อุปทานอ่านต่อ ...
ม.รังสิตเผยการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ จะไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ
ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย เศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป สถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำระหว่าง 5 บาทถึง 6 บาทจะไม่เป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ประกอบการหรือเพิ่มอัตราเงินเฟ้อโดย ดร.อนุสรณ์ กล่าวเสริมว่า “การขึ้นค่าแรงจะไม่ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจ” และ “อย่างไรก็ตามรัฐบาลควรส่งเสริมมาตรการ เพื่อช่วยเหลือ บริษัทขนาดเล็กที่อาจได้รับผลกระทบจากภาระค่าจ้างที่สูงขึ้น นอกจากนี้ควรมีโครงสร้างเงินเดือนที่กำหนดไว้สำหรับบริษัทที่มีพนักงานมากกว่า 50 คน เพื่อเป็นหลักประกันค่าจ้าง”อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น