ภัยพิบัติและการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน

ไทยอาจเจอภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 40 ปี จนน้ำประปาของกรุงเทพฯ อาจกลายเป็นน้ำเค็ม

ผู้อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ บางรายอาจกำลังลิ้มรสความเสี่ยงของภัยแล้งที่อาจเกิดขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากภาวะน้ำประปาเค็มในบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ ซึ่งเกิดจากภัยแล้งที่ทำให้ปริมาณน้ำจืดในแม่น้ำเจ้าพระยาลดน้อยลง ส่งผลให้น้ำทะเลเกิดการรุกล้ำเข้ามาแผ่นดินการรุกล้ำของน้ำเค็มเป็นเพียงสัญญาณเดียวของสภาพอากาศแห้ง ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาที่พยากรณ์ว่าจะเป็นภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 40 ปีอ่านต่อ ...

กนอ. จับมือ JICA-ชิชิบุ เคมิคัล พัฒนานวัตกรรมรับมือน้ำท่วมป้องกันพื้นที่อุตสาหกรรม

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ร่วมมือกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) และ บริษัทชิชิบุ เคมิคัล เปิดตัวโครงการสาธิตนำร่องเพื่อการวิจัยก่อสร้างบ่อกักเก็บน้ำฝนใต้ดินด้วยโครงสร้างวัสดุพลาสติก  (PRSS) เพื่อป้องกันความเสียหายจากการเกิดอุทกภัยภายในนิคมอุตสาหกรรมของประเทศไทย ณ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง กรุงเทพฯ เมื่อวันพฤหัสบดี (19 ธันวาคม) ที่ผ่านมาอ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

ปภ.ประกาศเขตฯ ภัยแล้ง 11 จังหวัด

ตามรายงานของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระบุว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับภัยแล้ง หลังมีการประกาศเขตภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ในพื้นที่ 11 จังหวัด รวม 54 อำเภอ นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ปัจจุบัน (17 ธ.ค.62) มีจังหวัดที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) 11 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน นครพนม มหาสารคาม บึงกาฬ หนองคาย บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา และเพชรบูรณ์อ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์

เขื่อนในแม่น้ำโขงต้องการการปรับปรุงใหม่

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ประชาชนในประเทศไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในอาคารสูงต่างตกอยู่ในความหวาดกลัว เมื่อตึกของพวกเขาได้สั่นไหว พวกเขาไม่ทราบว่าในช่วงเวลาที่เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง ซึ่งจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศลาวห่างจากบ้านน้ำช้าง ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่านโดยกรมอุตุนิยมวิทยา รายงานเมื่อเวลา 04.03 น. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.9 ลึก 5 กม.ที่ประเทศลาว และหลังจากนั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมงได้เกิดแผ่นดินไหวอีกครั้งขนาด 6.4 ที่ประเทศลาว อ่านต่อ ...

วสันต์ เตชะวงศ์ธรรม

คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงอนุมัติยุทธศาสตร์การจัดการภัยแล้ง และนโยบายอื่น ๆ เพิ่มขีดความสามารถของประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับภัยพิบัติในอนาคต

ผู้แทนรัฐมนตรีจากคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ได้ร่วมตัวกันในการประชุมประจำปี ณ กรุงพนมเปญในการอนุมัติยุทธศาสตร์การจัดการภัยแล้ง ปี พ.ศ.2563-2568 ทำให้กัมพูชา สปป. ลาว ไทย และเวียดนามเตรียมความพร้อม และจัดการภัยแล้งโดยรวมโดยยุทธศาสตร์ที่ได้รับการอนุมัตินั้นเกิดขึ้น เนื่องจากภูมิภาคกำลังประสบกับปัญหาภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุด ซึ่งทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดลงถึงจุดต่ำสุด ในช่วงชีวิตหรือในรอบ 60 ปีที่ผ่านมาอ่านต่อ ...

ภัยแล้งยังคงส่งผลกระทบต่อประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง โดยมีความเสี่ยงต่อการผลิตพืชผล และ การขาดแคลนน้ำ

คาดการณ์ว่าภัยแล้งในระดับที่รุนแรงจนถึงขั้นสุดขั้วจะส่งผลกระทบต่อประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างตั้งแต่วันนี้ถึงมกราคม พ.ศ.2563  ประเทศไทยและกัมพูชาจะได้รับผลกระทบหนักที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับ สปป.ลาวและเวียดนามการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของคณะกรรมาธิการลุ่มน้ำโขง (MRC) แสดงให้เห็นว่าภัยแล้งเกิดจากปริมาณน้ำฝนที่ไม่เพียงพอในช่วงฤดูฝนที่มาช้า และมรสุมที่หมดเร็วกว่าปกติ พร้อมกับสภาวะ El Nino ที่ทำให้เกิดอุณหภูมิ และการระเหยที่สูงผิดปกติอ่านต่อ ...

แผ่นดินไหว จุดศูนย์กลางสปป.ลาว ใกล้กับจังหวัดน่าน

ในช่วงเช้าที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.1 ริกเตอร์ทางเหนือของประเทศ โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศลาว ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ จ.น่านโดยในขณะนี้ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตหรือความเสียหายในทันทีแม้ว่าทาง Thaiger จะได้รับการติดต่อจากประชาชนจำนวนมากในช่วงเช้าวันนี้ โดยอ้างว่าชาวจังหวัดน่านต่างรู้สึกได้ถึงการสั่นสะเทือนอ่านต่อ ...

คณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

ตามรายงานของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ระบุว่า คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติร่างกฎกระทรวงที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรน้ำและการจัดการกับสถานการณ์น้ำท่วมและภัยแล้งที่ดีขึ้น นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า ร่างข้อบังคับ 11 ข้อ เกี่ยวข้องกับการเลือกสมาชิกคณะกรรมการลุ่มน้ำ และการจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำ รวมถึงบทบาท และความรับผิดชอบอ่านต่อ ...

มงคล บางประภา

ปภ. ติดตามผลกระทบของพายุโพดุลและคาจิกิ

กรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยได้จัดประชุมวิดีโอคอนเฟอเรนกับเจ้าหน้าที่จากศูนย์บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามผลกระทบที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากจากพายุโซนร้อนโพดุลและคาจิกิ ในจังหวัดอุบลราชธานีดูต่อ ...

ผู้เชี่ยวชาญเตือนเรื่องวัฏจักรน้ำท่วมของไทย 'ที่ไม่สิ้นสุด'

เหล่าวิศวกรต่างเตือนว่าประเทศไทยจะยังคงติดอยู่ในวัฏจักรของน้ำท่วมที่ไม่สิ้นสุด เว้นแต่ว่ารัฐบาลจะขยายพื้นที่เก็บกักน้ำตามธรรมชาติ เสริมคันดินป้องกันน้ำท่วม และสร้างระบบระบายน้ำใต้ดินเพิ่มเติมโดยเมื่อวานนี้สภาวิศวกรแห่งประเทศไทย (CoE) และสถาบันวิศวกรรมแห่งประเทศไทย (EIT) ได้เสนอแนวทางในการยุติ “วงจรภัยพิบัติน้ำท่วมที่ไม่มีที่สิ้นสุด”อ่านต่อ ...

สุพจน์ วรรณเจริญ

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

n2tVf
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!