ภัยพิบัติ
อุทกภัย
ไม่มีที่สิ้นสุด: ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร
เก้าปีหลังมหาอุทกภัยปี พ.ศ.2554 ในพื้นที่ภาคตะวันออกตอนบนของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำและเสี่ยงภัยน้ำท่วม ยังคงเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยเนื่องจากส่วนราชการจังหวัด อาจไม่สามารถพัฒนาโครงการกักเก็บน้ำจำนวน 6 โครงการ ได้ตามแผนที่วางไว้ในฤดูมรสุมปี พ.ศ.2554 ภาคตะวันออกตอนบนของ กทม. ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครั้งใหญ่ โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด ได้แก่ เขตคันนายาว มีนบุรี สายไหม และคลองสามวา เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ราบต่ำอ่านต่อ ...
สุพจน์ วรรณเจริญ
Facebook ร่วมกับคณะกรรมาธิการแม่นํ้าโขงสร้างความตระหนักเกี่ยวกับอุทกภัยและภัย แล้งในแม่นํ้าโขง
Facebook และสํานักเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่นํ้าโขง (MRC) ในวันนี้ได้เปิดตัวโครงการริเริ่มความร่วมมือเพื่อแจ้งเตือนภัยนํ้ าท่วมล่วงหน้าและข้อมูลการติดตามภัยแล้งแก่ ชุมชนและรัฐบาลในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ความร่วมมือครั้งแรกในลักษณะนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนทัวไปใน 4 ประเทศสมาชิกของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ได้แก่ กัมพูชา สปป. ลาว ไทย และเวียดนาม เกี่ยวกับระบบข้อมูลนํ้าท่วมและภัยแล้งของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง และเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการใช้ระบบดิจิทัลออนไลน์ ในช่วงปี พ.ศ. 2563-2564อ่านต่อ ...
การต่อสู้เพื่อจิตวิญญาณของแม่น้ำโขง
ในเดือนมิถุนายนของปีนี้ ตามรายงานการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโลกประจำปีของ FAO ได้จัดอันดับให้ลุ่มน้ำโขงเป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลกคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 15% ของประมงน้ำจืดประจำปีทั่วโลก ในขณะเดียวกันนักวิจัยของ WWF คาดการณ์ว่าการมีส่วนร่วมนั้นคิดเป็นหนึ่งในสี่ของการจับปลาน้ำจืดของโลก การประมงน้ำจืดขนาดใหญ่นี้มีความสำคัญต่อความมั่นคงด้านอาหารของประชากรหลายสิบล้านคนที่อาศัยอยู่ในกัมพูชาลาว ไทย และเวียดนาม และถูกขับเคลื่อนโดยวัฏจักรการไหลตามธรรมชาติของแม่น้ำโขงอ่านต่อ ...
กนอ. จับมือ JICA-ชิชิบุ เคมิคัล พัฒนานวัตกรรมรับมือน้ำท่วมป้องกันพื้นที่อุตสาหกรรม
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ร่วมมือกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) และ บริษัทชิชิบุ เคมิคัล เปิดตัวโครงการสาธิตนำร่องเพื่อการวิจัยก่อสร้างบ่อกักเก็บน้ำฝนใต้ดินด้วยโครงสร้างวัสดุพลาสติก (PRSS) เพื่อป้องกันความเสียหายจากการเกิดอุทกภัยภายในนิคมอุตสาหกรรมของประเทศไทย ณ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง กรุงเทพฯ เมื่อวันพฤหัสบดี (19 ธันวาคม) ที่ผ่านมาอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
ผู้เชี่ยวชาญเตือนเรื่องวัฏจักรน้ำท่วมของไทย 'ที่ไม่สิ้นสุด'
เหล่าวิศวกรต่างเตือนว่าประเทศไทยจะยังคงติดอยู่ในวัฏจักรของน้ำท่วมที่ไม่สิ้นสุด เว้นแต่ว่ารัฐบาลจะขยายพื้นที่เก็บกักน้ำตามธรรมชาติ เสริมคันดินป้องกันน้ำท่วม และสร้างระบบระบายน้ำใต้ดินเพิ่มเติมโดยเมื่อวานนี้สภาวิศวกรแห่งประเทศไทย (CoE) และสถาบันวิศวกรรมแห่งประเทศไทย (EIT) ได้เสนอแนวทางในการยุติ “วงจรภัยพิบัติน้ำท่วมที่ไม่มีที่สิ้นสุด”อ่านต่อ ...
สุพจน์ วรรณเจริญ
อีสานยังคงท่วม คาดฝนยังคงตกอย่างต่อเนื่อง
น้ำท่วมจะยังคงมีอยู่ใน 7 จังหวัดภาคอีสาน พร้อมคาดว่าจะยังมีฝนตกหนักต่อไป เนื่องจากอิทธิพลของพายุคาจิกินายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้รายงานสถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดอำนาจเจริญ ขอนแก่น พิจิตร พิษณุโลก ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี และยโสธรอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
พร้อมใช้ ‘ธนาคารน้ำใต้ดิน’ โดยมีต้นแบบจากญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคมนี้
นายจักรพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ทางกรุงเทพฯจะทำการสร้าง ‘ธนาคารน้ำใต้ดิน (water bank)’ บริเวณถนนอโศก – ดินแดงที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดน้ำท่วมในเดือนหน้า เพื่อป้องกันพื้นที่จากน้ำท่วมที่รุนแรงขึ้นมาตรการป้องกันอุทกภัยใหม่ ซึ่งจำลองมาจากธนาคารน้ำใต้ดินในญี่ปุ่น คือบ่อคอนกรีตที่สามารถใช้ในการกักเก็บน้ำฝนในช่วงฝนตกหนัก โดยแต่ละหลุมเชื่อมต่อกับท่อ และรางระบายน้ำเพื่อรับมือกับน้ำท่วมอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
น้ำทะเลหนุนไหลบ่าทะลักเข้าท่วมหมู่บ้านในสมุทรปราการ
ในวันศุกร์ที่ผ่านมา ได้มีการยกระดับคันดินให้สูงขึ้นบริเวณประตูระบายน้ำที่กำลังก่อสร้างในอำเภอบางบ่อ หลักจากเกิดน้ำทะเลหนุนขึ้นสูง ส่งผลให้น้ำทะเลไหลบ่าทะลักเข้าท่วมในพื้นที่ โดยมีบ้านเรือนที่รับความเสียหายกว่า 40 หลังในคืนวันพฤหัสบดีที่ผ่านพื้นที่หมู่ 5 ตำบลคลองด่านถูกน้ำเข้าท่วม โดยไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า เวลาประมาณ 19.30 น. และภายใน 10 นาที บ้านเรือนกว่า 40 หลังถูกน้ำท่วมลึกถึงหนึ่งเมตร โดยไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ แต่ทรัพย์สินเสียหายหนักอ่านต่อ ...
สุทธิวิทย์ ชยุตม์วรกานต์
นายกรัฐมนตรีกระตุ้นให้บรรเทาอุทกภัยในกรุงเทพฯ
นายกรัฐมนตรีขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาทางบรรเทาอุทกภัยในกรุงเทพมหานคร เพื่ออำนวยสะดวกแก่ประชาชนดูต่อ ...
อุโมงค์ยักษ์ 'จะไม่ช่วยป้องกันน้ำท่วม' กรุงเทพฯ
นักวิชาการเรียกร้องให้ทางกรุงเทพมหานครกำหนดให้โครงการคอนโดมิเนียมขนาดใหญ่ปรับปรุงรูปแบบอาคารเพื่อสร้างธนาคารน้ำใต้ดิน แม้ว่าจะมีอุโมงค์ระบายน้ำขนาดยักษ์ถึง 20 แห่ง แต่ทว่ากรุงเทพฯก้ยังไม่ปลอดภัยจากน้ำท่วมศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการคาดการณ์ว่า หากทางกรุงเทพมหานครได้เริ่มใช้โครงสร้างเหล่านี้เพื่อช่วยจัดการกับปัญหาน้ำท่วมในเมืองหลวงอ่านต่อ ...
จุฬารัตน์ แสงปัสสา