ข่าว
การเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 'กุญแจสู่การลงทุนที่ปลอดภัย'
สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) เรียกร้องให้รัฐบาลชุดต่อไปเร่งรัดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนซึ่งรวมถึงการฟื้นฟูโครงการท่าเรือระนองและการเปิดเส้นทางการค้าไปยังอินเดีย เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางทะเลในภูมิภาคนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวว่า ความขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำนาจ เช่น จีนและสหรัฐอเมริกา ตลอดจนสงครามในยุโรประหว่างรัสเซียและยูเครน ตลอดจนความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ต่าง ๆ ทั่วโลก ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายการลงทุนไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะเวียดนาม อินโดนีเซีย และไทยอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
ภาคเอกชนเพิ่มการลงทุนในอีอีซี
การลงทุนที่แท้จริงในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ของรัฐบาลคาดว่าจะสูงถึง 4 แสนล้านบาทในปีนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากการลงทุนภาคเอกชนและโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เปิดเผยว่า เงินลงทุนจากทั้งหมด 3 แสนล้านบาทคาดว่าจะได้รับการลงทุนจากภาคเอกชน ในขณะที่ 1 แสนล้านบาทจะมาจากโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ ดอนเมือง และอู่ตะเภา ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดเฟส 3 และท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
การพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำโขง ทำให้เกิดความกังวลเรื่องความยั่งยืน
การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนเขื่อนริมแม่น้ำโขง กำลังเปลี่ยนแปลงเครือข่ายพลังงาน อาหาร การขนส่ง ความปลอดภัย และระบบนิเวศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งขณะนี้เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ 11 แห่ง ตั้งอยู่แม่น้ำสายหลักก่อนที่จะออกจากจีน โดยมีอีกหลายร้อยเขื่อนที่มีการวางแผนไว้หรืออยู่ระหว่างการก่อสร้างในประเทศอื่น ๆ ที่มีบางส่วนของต้นน้ำแม่น้ำโขงที่สำคัญนี้ ซึ่งการพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็วและยังไม่ทราบผลที่ตามมาที่กระทบต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่อ่านต่อ ...
รัฐฯเล็งระดมทุนใน EEC แตะ 4 แสนล้านบาท
รัฐบาลมองในแง่ดีว่าการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC จะสามารถแตะ 4 แสนล้านบาทในปีหน้า หากได้แรงหนุนจากการลงทุนภาคเอกชนและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการลงทุนภาคเอกชนในการลงทุนทั้งหมด 3 แสนล้านบาท คาดว่าจะได้รับจาก ในขณะที่ 1 แสนล้านบาทจะมาจากโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา การปรับปรุงสนามบินอู่ตะเภา ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดเฟส 3 และท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
คณะรัฐมนตรีเสนอแผน มูลค่า 1.87 หมื่นล้านบาทเพื่อเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา
เมื่อวันอังคาร (21 มกราคม) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา มูลค่า 1.87 หมื่นล้านบาท โดยน.ส.รัชดา กล่าวหลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรในจังหวัดนราธิวาสว่า การลงทุนนี้จะครอบคลุมถึงการสร้างเมืองท่าเรือน้ำลึก เครือข่ายการขนส่งทางน้ำ และทางบก โรงไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนด้วยก๊าซธรรมชาติ และก๊าซชีวภาพอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
สมคิดเร่งออกแพคเกจกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งการลงทุนทั้งในภาครัฐและเอกชน รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวและบริการ เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้คาดการณ์การเติบโตในปี พ.ศ.2562 ไว้ที่ 2.5% ซึ่งต่ำสุดในรอบ 5 ปี และคาดการณ์การเติบโตในปีนี้ไว้ที่ 2.8% โดยการลงทุนภาคเอกชนมีเพียง 16% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ในขณะที่เงินบาทกลายเป็นสกุลเงินที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในเอเชียในปี พ.ศ.2562 ซึ่งแข็งค่าเพิ่มขึ้นเกือบ 9% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
รัฐบาลจะเวนคืนที่ดิน 50,000 ไร่ เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
รัฐบาลมีแผนที่จะเวนคืนที่ดินไม่เกิน 50,000 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตร เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกและส่วนอื่น ๆ ของประเทศโดยโครงการดังกล่าวประกอบด้วย ระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และรถไฟรางคู่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งรัฐบาลได้คำนึงถึงผลกระทบของการเวนคืนที่ดินต่อการทำมาหากินของเกษตรกรอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
คณะรัฐมนตรีเตรียมรับแผนแม่บทเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เตรียมขอให้คณะรัฐมนตรีรับแผนแม่บทการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในวันอังคารที่จะถึงนี้ เนื่องจากรัฐบาลพยายามเริ่มการเชื่อมโยงระหว่างเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายในพม่า และเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (อีอีซี) เข้าด้วยกันอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
นักเศรษฐศาสตร์พิจารณาอนาคตอันมืดมนของอีอีซี
รัฐบาลใหม่หลังจากการเลือกตั้งอาจสนับสนุนการลงทุนในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (อีอีซี) มากขึ้น แต่อาจยกเลิกโครงการสำคัญบางโครงการเช่นกันนายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ เหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ทีมเศรษฐกิจและกลยุทธ์ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า “การลงทุนของรัฐบาลในโครงการอีอีซี นั้นน่าผิดหวังอย่างแท้จริง รัฐบาลได้ลดการลงทุนลงทุกปี และในช่วงห้าปีที่ผ่านมาอัตราการจ่ายเงินลงทุนโดยเฉลี่ยอยู่ที่เพียงร้อย 70 ของการลงทุนที่วางแผนไว้ ในขณะที่ปีที่แล้วเป็นปีที่น่าผิดหวังมาก ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 56%”อ่านต่อ ...
