ข่าว
การเพิ่มขึ้นเชิงดิจิทัลของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในประเทศไทย
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวทั่วโลก มีนักท่องเที่ยวมากถึง 25 ล้านคนต่อปี โดยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีอิทธิพลอย่างมากต่อประเทศในปี 2556 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีส่วนแบ่งร้อยละ 9 ของจีดีพีประจำปีของประเทศ ซึ่งไม่น่าแปลกใจที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 10 ประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากที่สุดในโลกอ่านต่อ ...
เมืองอัจฉริยะของประเทศไทยประกาศในไทยแลนด์ 4.0
ประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาเมืองอัจฉริยะหรือสมาร์ทซิตี้มากขึ้นตามโครงการนำร่องที่เกี่ยวข้องกับ 3 เมือง พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวสุนทรพจน์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2560 ว่า ภายใน 20 ปี จะมีเมืองอัจฉริยะ 100 เมือง เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตในเขตเมือง ซึ่งเมืองนำร่องโครงการเมืองอัจฉริยะ ได้แก่ ภูเก็ต เชียงใหม่ และขอนแก่น โดยรัฐบาลมีแผนที่จะพัฒนาเมืองอีก 3 แห่งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) คือ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา นอกจากนี้ยังมีแผนจะพัฒนากรุงเทพฯให้เป็นเมืองอัจฉริยะอีกด้วยอ่านต่อ ...
สิ่งที่การศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทยจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในเวลาอันใกล้
ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่ ได้ให้คำสั่ง 4 ข้อซึ่งคำสั่งที่ 1 เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาประเทศ ไทยแลนด์ 4.0 คำสั่งที่ 2 เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมผู้สูงอายุ โดยวิธีการที่สอดคล้องกับคำสั่งที่ 2 มีความคลุมเครือเท่ากัน คำสั่งที่ 3 เพื่อส่งเสริมงานวิจัยที่นำไปสู่การใช้งานในทางปฏิบัติ ในขณะที่คำสั่งที่ 4 คือรวมสาขาวิชาทั้งหมดเข้าด้วยกันเพื่อให้บัณฑิตมีความสามารถหลากหลายในทุกสาขาวิชาอ่านต่อ ...
เชียงรายเปิดท่าเรือท่องเที่ยวแห่งแรกของภาคเหนืออย่างเป็นทางการ
ท่าเรือท่องเที่ยวแห่งแรกในภาคเหนือของไทยได้เปิดที่จังหวัดเชียงราย นายภาสกร บุญญลักษม์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานในพิธีเปิดท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 1 เป็นท่าเรือท่องเที่ยวแห่งแรกของภาคเหนือ ตามมติคณะรัฐมนตรีที่ได้อนุมัติให้ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 1 เป็นท่าเรือท่องเที่ยว เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา เพื่อให้จังหวัดเชียงรายเป็นระเบียงในการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ หวังกระตุ้นการท่องเที่ยวทางแม่น้ำโขงระหว่างไทย สปป.ลาว เมียนมา จีนตอนใต้ กัมพูชาและเวียดนามอ่านต่อ ...
ความสำคัญของข้อบังคับทางกฎหมายในการพัฒนาอาเซียน
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าข้อบังคับทางกฎหมายมีความสำคัญต่อความสำเร็จของประเทศ และในเดียวกันก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าข้อบังคับทางกฎหมาย ความมั่นคงและการพัฒนาจะพึ่งพากัน ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) 2030 ของสหประชาชาติ ซึ่งได้รวมเป้าหมายเฉพาะเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว คือ เป้าหมายที่ 16 “สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก” เป็นที่รู้กันว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนต้องมีการส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและเข้าถึงได้ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและมีประสิทธิผล มีความรับผิดชอบ รวมถึงสถาบันบูรณาการอ่านต่อ ...
ความต้องการความเร็วในการรับ 5G
หาก ‘ประเทศไทย 4.0′ ได้ดำเนินการอย่างจริงจัง จะไม่สามารถละทิ้งการสนับสนุนเทคโนโลยีของประเทศได้ ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องเร่งรัดการประมูลความถี่คลื่นวิทยุที่สำคัญสำหรับภาคเอกชนในการพัฒนาบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 5 (5G) โดยที่ต้องพิจารณาถึงความใฝ่ฝันทางเศรษฐกิจแบบดิจิตอลอย่างจริงจัง ตามการวิเคราะห์ของหัวเหว่ยอ้างอิงจากฐานข้อมูลจีดีพีของธนาคารโลกในประเทศสมาชิก ระบุว่า 5G จะนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ สู่ยุคใหม่สำหรับเศรษฐกิจและสังคมยุคดิจิทัลของไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมการผลิต การเกษตร การค้าส่งและค้าปลีก บริการสาธารณะและอื่น ๆอ่านต่อ ...
ประเทศลุ่มน้ำโขงตกลงในการแบ่งปันข้อมูล
ผู้แทนจาก 6 ประเทศลุ่มน้ำโขงได้กำหนดแนวทางการแบ่งปันข้อมูลและเทคโนโลยีเพื่อร่วมกันบริหารจัดการแม่น้ำข้ามชาติในการประชุมวิชาการที่จัดขึ้นในประเทศไทยสัปดาห์นี้ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของไทย โดยนายวรศาสน์ อภัยพงษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กล่าวไว้เมื่อวานนี้ว่า การแบ่งปันข้อมูลจะช่วยลดความเสียหายเมื่อประเทศต้นน้ำต้องการปล่อยน้ำจากเขื่อนในแม่น้ำโขงอ่านต่อ ...
การปราบปรามแรงงานข้ามชาติส่งผลกระทบต่อกระแสแรงงานของอาเซียน
ข้อจำกัดที่เข้มงวดมากขึ้นเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวในมาเลเซียและไทยได้ทำให้แรงงานอพยพหลายล้านคนเรียกร้องการเพิ่มค่าจ้างและส่งผลต่อแบบจำลองการเติบโตที่พึ่งพาเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายและแรงงานราคาถูก โดยนาย Lim Wee Chai กล่าวว่า บริษัท Top Glove ของมาเลเซียซึ่งเป็นผู้ผลิตถุงมือยางรายใหญ่ที่สุดในโลกได้เผชิญกับค่าแรงที่เพิ่มขึ้นอย่างมากโดยแรงงานในบริษัทมี พนักงานเป็นแรงงานต่างด้าวกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมด คิดเป็นจำนวนอยู่ที่ 13,000 คนอ่านต่อ ...
มลพิษทางอากาศระดับอันตรายในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มลพิษทางอากาศในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือทวีความรุนแรงมากขึ้นเนื่องจากพบว่ามีระดับฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) อยู่ในระดับที่เป็นอันตรายในหลายจังหวัด ข้อมูลจากระบบการตรวจสอบคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ (PCD) เมื่อวานนี้ แสดงให้เห็นว่าระดับ PM2.5 เฉลี่ยรายวันในจังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น และลำปาง ได้เพิ่มขึ้นเกินระดับความปลอดภัยของประเทศไทยที่ระดับ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งวัดปริมาณ PM2.5 ในจังหวัดเหล่านั้นอยู่ที่ 80.65, 64.95 และ 50 มิลลิกรัมตามลำดับอ่านต่อ ...
ชาวบ้านต้องการความช่วยเหลือหลังจากมีรายงานสรุปถึงอันตรายจากเหมือง
การทดสอบน้ำบาดาลในพื้นที่จังหวัดพิจิตร ระบุว่าซัลเฟตที่เป็นพิษและโลหะหนักมาจากสถานที่เก็บกักเก็บกากแร่ของบริษัทอัครา ประชาชนที่ได้รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากบริษัทอัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินกิจการเหมืองทองคำชาตรีในจังหวัดพิจิตร ได้เรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐแก้ปัญหานี้ หลังจากทราบถึงผลการทดสอบโดยนักวิทยาศาสตร์ของสถานที่กักเก็บกากแร่แห่งแรกของเหมือง (TSF1) ยืนยันว่ามีการรั่วซึมของสารพิษสู่สิ่งแวดล้อมอ่านต่อ ...