กฎหมายและตุลาการ
กรอบกฎหมาย
รอนาน หรือก้าวยาวเกินไป?
ประเทศไทยเผชิญกับภัยคุกคามที่ไม่เหมือนใครจากการโจมตีทางไซเบอร์ที่จะเพิ่มขึ้น เมื่อเศรษฐกิจกลายเป็นดิจิทัลมากขึ้น เมื่อมีการผ่านพระราชบัญญัติความมั่นคงทางไซเบอร์ รัฐบาลพยายามที่จะเผชิญหน้ากับปัญหานี้อย่างจริงจังโดยการบังคับใช้อำนาจ แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนกลัวว่าอำนาจดังกล่าวอาจถูกใช้ไปในทางที่ผิด และขาดการกำกับดูแลที่เหมาะสมอ่านต่อ ...
สุจิตร ลีสงวนสุข
ประกาศนโยบายกัญชาเพิ่มเติม
วันอังคารนี้ จะเป็นวันสุดท้ายของการนิรโทษกรรมของรัฐบาลสำหรับผู้ที่ต้องการประกาศการครอบครองกัญชา โดยมีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ บุคคลนอกเหนือจากนี้จะสามารถถูกจับกุม และตั้งข้อหาในยาเสพติดไว้ในครอบครองได้โดยการนิรโทษกรรมถูกประกาศเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ อันเป็นผลมาจากการแก้ไขกฎหมายยาเสพติดโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันที่ 24 ธันวาคมปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการยกเว้นการใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์จากการถูกดำเนินคดีอ่านต่อ ...
Anchalee Kongrut
รายงานพิเศษ: กัญชาเพื่อการแพทย์กับหนทางยังอีกยาวไกล
นายเดชา ศิริภัทร วัย 71 ปี ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบยาแผนโบราณ แต่เขายังเหลือขั้นตอนอีกไม่กี่ขั้นก่อนที่จะใช้กัญชารักษาผู้ป่วยนายเดชา และผู้สนับสนุนสิทธิชุมชน กล่าวว่ากฎหมายยาเสพติดฉบับปรับปรุงใหม่ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญมีกระบวนการที่ซับซ้อน ซึ่งเชื่อว่ากฎหมายควรได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมให้กัญชาทางการแพทย์เป็น “อิสระอย่างแท้จริง” ซึ่งยังคงถูกจัดประเภทว่าเป็นยาเสพติดดังนั้นจึงควรสามารถใช้งานได้โดยไม่มีเงื่อนไขอ่านต่อ ...
ปิยะพร วงศ์เรือง
รัฐบาลรับยากในการลงโทษผู้ขับขี่ที่กระทำความผิดโดยการหักคะแนนแบบประเทศญี่ปุ่น
กระทรวงคมนาคมระบุว่ากฎหมายจราจรฉบับใหม่ของประเทศไทยจะใช้โมเดลแบบเดียวกับญี่ปุ่นที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งนายนายจิรุตม์ วิศาลจิตร รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่าทางกระทรวงได้ทำงานร่วมกับ กระทรวงที่ดิน ระบบโครงสร้างพื้นฐาน คมนาคม และการท่องเที่ยวญี่ปุ่น (MLIT) อ่านต่อ ...
ทศพล หงษ์ทอง
พรบ.โทรคมนาคมใหม่จะสามารถเข้าถึงข้อมูลทั่วไปได้
หน่วยงานกำกับดูแลด้านโทรคมนาคมได้เริ่มการพูดคุยในการแก้ไขรายละเอียดของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้รัฐสามารถเข้าถึงข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์มือถือ (ไม่รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคล) แต่กำลังเผชิญกับการตอบโต้จากผู้ประกอบการโทรคมนาคมรายใหญ่ 3 รายอ่านต่อ ...
คมสัน ต่อเติมวาสนา
ความวุ่นวายทางการเมืองส่งผลกระทบพ.ร.บ.ความมั่งคงไซเบอร์
ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย กล่าวว่า พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฉบับใหม่อาจล่าช้าเนื่องจากหน้าที่และคณะกรรมการที่สำคัญต่อประสิทธิภาพของกฎหมายจะต้องได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐบาลใหม่ ซึ่งวันที่จัดตั้งยังไม่มีความแน่นอนอ่านต่อ ...
สุจิตร ลีสงวนสุข
พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจะเพิ่มการใช้จ่ายในเทคโนโลยีการปกป้องข้อมูล
บริษัท เดลล์อีเอ็มซีกล่าวว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ฉบับใหม่ของประเทศไทยจะกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายในเทคโนโลยีการป้องกันข้อมูลในปี 2562 ซึ่งองค์กรในเอเชีย-แปซิฟิก และญี่ปุ่นได้พิสูจน์แล้วว่าการสูญเสียข้อมูลนั้นมีราคาแพงมาก ตามที่บริษัท ไอทีระบุว่าโดยเฉลี่ยแล้วการหยุดทำงาน 20 ชั่วโมงในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ต้นทุนทางธุรกิจจะมีมูลค่า $494,869 ในขณะที่บริษัท ที่สูญเสียข้อมูลจำนวน 2.04 เทราไบต์ โดยเฉลี่ยแล้วค่าเสียหายจะอยู่ที่ $939,703อ่านต่อ.. ...
สุจิตร ลีสงวนสุข
พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติมีข้อบกพร่องเกินกว่าที่จะให้ผ่านได้
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งร่างขึ้นโดยความหวังว่าจะนำพาการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่ามาสู่ภาคการศึกษาของประเทศกลับมีข้อบกพร่องเกินกว่าที่จะผ่านไปได้ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าาว่า “ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับนี้จะไม่ถูกนำมาใช้เป็นกฎหมาย เนื่องจากมีข้อบกพร่องมากมาย” อ่านต่อ ...
จุฬารัตน์ แสงปัสสา
นักวิเคราะห์ชี้ สิทธิชาวนาต้องมีความสำคัญในการประชุมผ่านร่างพ.ร.บ.ข้าววาระหน้า
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จึงตัดสินใจที่จะแก้ไขร่างพระราชบัญญัติวาระสุดท้าย เนื่องจากแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากความตั้งใจที่จะช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อที่จะประนีประนอม แต่ถึงกระนั้นเนื้อหาของพ.ร.บ.ก็เชื่อมโยงกับพันธุ์พืช และพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช และผู้คนที่ต่อต้านต่างมองว่าเป็นการทำให้เกษตรกรเสียเปรียบอ่านต่อ ...
ปิยะพร วงศ์เรือง
นักเคลื่อนไหวเตือนร่างพ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ละเมิดสิทธิ
องค์กร และนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้ติดธงแดงหรือให้ข้อสังเกตในร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ได้รับการอนุมัติเมื่อไม่นานมานี้ และกระตุ้นให้ผู้สมัครเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม ผลักดันการแก้ไขร่างพ.ร.บ. เพื่อจำกัด ตีความ และป้องกันการละเมิดเสรีภาพในการแสดงออก และสิทธิในความเป็นส่วนตัว ในขณะที่สมาชิกสภานิติบัญญัติยืนยันว่าวัตถุประสงค์ของกฎหมาย คือ ป้องกันการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ของประเทศ และไม่มีผลกระทบต่อเนื้อหาออนไลน์ โดยกลุ่มเฝ้าระวังอิสระ (iLaw) ที่ได้อ้างถึงปัญหาในมาตรา 59 ของร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวอ่านต่อ ...
อศินา พรวศิน