อุตสาหกรรมสาร

'เร่ง' แก้ไขความขัดแย้งในพื้นที่เขตทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา

ดร.คุรุจิต นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนที่ทั้งไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์ควรได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุดเพื่อช่วยต่อสู้กับวิกฤตพลังงานที่กำลังขยายตัวของไทยดร.คุรุจิต ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการกระทรวงพลังงาน ได้กล่าวสุนทรพจน์ใน​​สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “การอ้างสิทธิในไหล่ทวีปในอ่าวไทยระหว่างไทย – กัมพูชา” ซึ่งจัดโดยคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศดร.คุรุจิต กล่าวว่า จำเป็นต้องแก้ไขความขัดแย้งเพราะจะช่วยประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤตพลังงานที่กำลังจะเกิดขึ้น เนื่องจากพื้นที่ที่มีการแข่งขันนี้อาจกลายเป็นแหล่งปิโตรเลียมแห่งใหม่ทางตอนบนของอ่าวไทย ตั้งอยู่ใกล้แหล่งก๊าซบงกชและเอราวัณอ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์

ชาวบ้านแม่ลาน้อย ลุกขึ้นต้านสัมปทานเหมืองแร่ฟลูออไรด์ ชี้เอื้อนายทุน แต่ทำลายสิ่งแวดล้อม-วิถีชุมชน

ชาวบ้าน ผู้นำท้องถิ่น อำเภอแม่ลาน้อย ยังคงผนึกกำลังการเคลื่อนไหวต่อต้านไม่เอาเหมืองแร่ฟลูออไรด์อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีความกังวลถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต และแม่น้ำแม่ลา ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงคนในพื้นที่หลายชุมชนตลอดลำห้วย โดยได้เดินทางไปยื่นหนังสือคัดค้านต่อกรรมาธิการที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้ระงับยกเลิกโครงการนี้จวน สุจา ตัวแทนชาวบ้าน และเป็นสมาชิกอบต.ตำบลแม่ลาหลวง อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า แรกเริ่มเดิมที มีการสัมปทานเหมืองแร่ตอนแรก เมื่อ 30 ปีมาแล้ว ซึ่งสมัยนั้น ไม่มีประชาพิจารณ์ ไม่มีประชาคม ก็เลยมีการทำเหมืองแร่เกิดมาได้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ.2532 รัฐบาลสมัยนั้น มีนโยบายปิดป่า จึงทำให้มีการยกเลิกสัมปทานเหมืองแร่นี้ไปด้วย ก็เลยหยุดไป จนกระทั่งในปี 2562 บริษัท ยูนิเวอร์แซลมายนิ่ง จำกัด ได้มีการยื่นขอสัมปทานเหมืองแร่นี้ขึ้นมาใหม่ จนทำให้ชาวบ้านหลายหมู่บ้านในเขตพื้นที่ตำบลสันติคีรี อ.แม่ลาน้อย ซึ่งอยู่ต้นน้ำ รวมไปถึงชาวบ้านในเขตพื้นที่ ต.แม่ลาหลวง ซึ่งเป็นพื้นที่ซึ่งอยู่กลางน้ำ ...

ชาวบ้านฟ้องร้องให้ยกเลิกใบอนุญาตโรงไฟฟ้าถ่านหินของทีพีไอ

ชาวบ้านจากตำบลมิตรภาพ และมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรีจำนวนกว่า 50 ราย ได้ยื่นฟ้องบริษัท ทีพีไอโพลีนเพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ในการพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 150 เมกะวัตต์ ณศาลปกครองกลาง เมื่อวันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม ) ที่ผ่านมาโดยชาวบ้านกล่าวว่า รายงานการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพสิ่งแวดล้อม (EHIA) ของโครงการนี้ไม่ครอบคลุมถึงผลกระทบของโรงงานต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม การท่องเที่ยว สังคม และสุขภาพอ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

ความหิวกระหายสินแร่ของจีนกับการต่อต้านของชาวบ้านในพื้นที่ของไทย

เกิดความไม่แน่นอนในอนาคตของเหมืองแร่โปแตชไทย – จีนที่วางแผนไว้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เนื่องจากชาวบ้านมีการต่อต้านอย่างรุนแรงอันเกิดจากความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงในการดำรงชีวิต สุขภาพ และสิ่งแวดล้อมหลังจากกลุ่มผู้ประท้วงกลุ่มหนึ่ง ซึ่งนำโดยชาวบ้านในพื้นที่ได้ปิดกั้นการเข้าถึงแหล่งขุดเจาะเมื่อปีที่แล้ว ทำให้บริษัทเหมืองแร่ของจีนได้ยื่นฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อชาวบ้านเป็นเงินจำนวน 34 ล้านบาท (ประมาณ 1.07 ล้านเหรียญสหรัฐ)อ่านต่อ ...

ความต้องการแร่โปแตชของจีนทำให้เกิดการต่อต้านในชนบทของไทย

อนาคตของเหมืองแร่โปแตชที่วางแผนไว้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเกิดความไม่แน่นอนขึ้น เนื่องจากมีการต่อต้านอย่างรุนแรง เพราะชาวบ้านในพื้นที่เกิดจากความกังวลเกี่ยวกับวิถีชีวิต สุขภาพ และสิ่งแวดล้อมเมื่อปีที่แล้วกลุ่มคนซึ่งนำโดยผู้หญิงในพื้นที่ได้ปิดกั้นการเข้าถึงแหล่งขุดเจาะสำรวจในอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เพื่อตอบโต้ต่อการที่บริษัท China Ming Ta Potash Corporation ยื่นฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากชาวบ้านจำนวน 34 ล้านบาท (1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) อ่านต่อ ...

ยศพล เกิดวิบูลย์

กระทรวงอุตฯเรียกร้องให้ผู้ผลิตเหล็กในประเทศจัดทำโรดแมปเพื่อรับรองอีอีซี

กระทรวงอุตสาหกรรมเรียกร้องให้ผู้ผลิตเหล็กในประเทศร่วมมือกันจัดทำแผนงานระยะเวลา 5-10 ปี. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กของประเทศ ในการรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC)อ่านต่อ ...

ลมลเพ็ชร อภิสิทธิ์นิรันดร์

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC)

รัฐบาลไทยกำลังผลักดันนโยบาย “อุตสาหกรรมไทย 4.0” โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจโดยรวม และเพิ่มประสิทธิภาพของภาคอุตสาหกรรมในประเทศ หนึ่งในบทบาทของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) คือความพยายามในการพัฒนาโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC) และให้มั่นใจว่าสามารถแข่งขันในระดับภูมิภาคอ่านต่อ ...

รัฐบาล บริษัทเหมืองแร่ ละเมิดสิทธิของชาวบ้าน จากรายงานความรุนแรงและตอบโต้ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

องค์กรฟอร์ติฟายไรท์ (Fortify Rights)  กล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ไทยและบริษัทเหมืองแร่ทองคำไทยละเมิดสิทธิของผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการคัดค้านเหมืองทองคำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมานานกว่าทศวรรษ องค์กรได้เปิดตัวรายงาน 90 หน้า “เราสูเ้พื่อปกป้องบ้านของเรา: การตอบโต้นักพิทักษ์สิทธิสิ่งแวดล้อมในจังหวัดเลย” รายงานฉบับนี้ได้กล่าวถึง การละเมิดสิทธิของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ ในอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงการกลั่นแกล้งในการพิจารณาคดี การกักขังโดยพลการ การขู่ฆ่า และการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก การชุมนุมอย่างสันติ และสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพอ่านต่อ ...

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

HehVn
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!