เศรษฐกิจและการพานิชย์
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจปี’40
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของประเทศไทยลดลงสู่ 46 จุดในเดือนเมษายนจาก 48.5 จุดในเดือนมีนาคม ม.หอการค้าไทย ซึ่งรวบรวมรายงานประจำเดือน เปิดเผยว่า ดัชนีดังกล่าวต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2541 เนื่องจากผลกระทบของการระบาดของโรคโควิด-19 ล่าสุดนายธนวรรธน์ พลวิชัย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า “ผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปราะบางหลังจากการระบาดระลอกที่ 3 ซึ่งทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันพุ่งแตะ 4 หลักต่อเนื่องกัน อีกทั้งยอดผู้เสียชีวิตในแต่ละวันยังพุ่งแตะสองหลัก”อ่านต่อ ...
ธปท. ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง
ธนาคารแห่งประเทศตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยสำคัญไว้ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.50% ตามที่คาดกาณ์ไว้โดยยังคงรักษากระสุนไว้ได้อย่างจำกัด เนื่องจากเศรษฐกิจต้องดิ้นรนหลังต้องเผชิญกับการระบาดระลอกสาม การระบาดครั้งล่าสุดทำให้กิจกรรมในประเทศชะลอตัว เศรษฐกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยวในช่วงเวลาที่เตรียมเปิดรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง แต่การส่งออกที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญอีกประการหนึ่งเป็นตัวสนับสนุนในบางส่วนในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร 1 วัน (RP 1 วัน) นับเป็นครั้งที่แปดติดต่อกันอ่านต่อ ...
ดัชนีราคาผู้บริโภคพุ่งขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่โควิด-19 เริ่มมีการแพร่ระบาด
กระทรวงพาณิชย์รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของไทยในเดือนเมษายนพุ่งขึ้นร้อยละ 3.41 เมื่อเทียบเป็นรายปีสู่ระดับ 100.48 จุด นับเป็นครั้งแรกที่เพิ่มขึ้นในรอบ 14 เดือนนายวิชานัน นิวาตจินดา รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวว่า “ดัชนีราคาผู้บริโภคที่พุ่งสูงขึ้นในเดือนเมษายนถือเป็นสถิติสูงสุดในรอบ 8 ปี 4 เดือน” ดัชนี CPI ออกมาสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ในการสำรวจความคิดเห็นของนักวิเคราะห์ของรอยเตอร์ถึงร้อยละ 2.50 ในเดือนมีนาคมตัวเลขลดลงร้อยละ 0.08 จากปีที่แล้วอ่านต่อ ...
ศูนย์วิจัยกสิกรเผยยอดเงินฝากบริษัทลดลง
สภาพคล่องในภาคธนาคารในประเทศลดลงเนื่องจากยอดการถอนเงินฝากที่สูงขึ้นจากผู้ประกอบธุรกิจที่พยายามรับมือกับผลกระทบของการระบาดที่ยืดเยื้อจากข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทย (K-Research) เงินฝากคงค้างในธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียน 19 แห่งในไตรมาสแรกของปี พ.ศ.2564 มีมูลค่า 14.7 ล้านล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.98 เมื่อเทียบเป็นรายปีอย่างไรก็ตามอัตราการเติบโตลดลงจากร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่สี่ของปีที่แล้วอ่านต่อ ...
สมฤดี บ้านช้องด้วง
รัฐบาลเร่งขึ้นทะเบียน GI
ไทยกำลังเร่งขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ใน 4 ประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ขายจากต่างประเทศ อ้างว่าผลิตสินค้าในประเทศ และช่วยเพิ่มการส่งออกของไทยในช่วงที่เกิดการระบาดในปีนี้GI คือใบรับรองที่ระบุว่าสินค้ามาจากแหล่งผลิตที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งคุณภาพหรือชื่อเสียงของสินค้านั้น ๆ เป็นผลมาจากการผลิตในพื้นที่อ่านต่อ ...
ผุสดี อรุณมาศ
ธปท.ปรับลดแนวโน้มการเติบโต
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีแนวโน้มที่จะลดการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของปีนี้ลด จากการคาดการณ์ครั้งก่อนที่ร้อยละ 3นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาคกล่าวว่า ธปท.กำลังติดตามผลกระทบของระลอกที่ 3 โดยอาจมีการปรับการเติบโตลง เนื่องจากผลกระทบของการระบาดระลอกใหม่ต่อการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอีกครั้งอ่านต่อ ...
สมฤดี บ้านช้องด้วง
PwCเผย ธุรกิจไทยกว่า 80% ประสบปัญหาจากโรคระบาด
PwC เผยผลสำรวจเมื่อไม่นานมานี้พบว่าองค์กรไทยมากกว่าร้อยละ 80 ระบุว่าพวกเขาได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด -19 ในขณะที่รายงานระบุว่าการกู้คืนวิกฤตที่ประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับการปรับความยืดหยุ่นประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งใน “Global Crisis Survey 2021” ของ PwC ซึ่งเป็นการสำรวจผู้นำธุรกิจทั่วโลก 2,814 รายใน 73 ประเทศ เพื่อสำรวจว่าผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทย 52 รายเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคระบาดอย่างไรสิ่งที่ได้เรียนรู้และการเตรียมตัวสำหรับอนาคตอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
รัฐฯเตรียมมาตรการใหม่ 3 แสนล้านบาท รับมือโควิด-19
รัฐบาลเตรียมออกมาตรการใหม่มูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชนและกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศท่ามกลางโควิด -19 ระบาดหนักนางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลังกล่าวว่า ทางกระทรวงฯได้จับตาดูการแพร่ระบาดของโควิด -19 ในประเทศอย่างใกล้ชิดและปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ และพร้อมที่จะออกมาตรการเพื่อแก้ไขผลกระทบอ่านต่อ ...
วิชิต จันทนุสรณ์ศิริ
ธนาคารคงอัตราส่วน NPL ท่ามกลางความเสี่ยงจากไวรัส
ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 10 แห่งได้ควบคุมอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในไตรมาสแรกของปี พ.ศ.2564 เนื่องจากพวกเขาตั้งสำรองสำหรับการสูญเสียเงินกู้ที่ค่อนข้างสูงท่ามกลางความไม่แน่นอนที่เกิดจากการระบาดในบรรดาผู้เล่นรายใหญ่ธนาคารกรุงเทพ (BBL) และธนาคารกรุงไทย (KTB) รายงานอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพลดลงเล็กน้อยเหลือร้อยละ 3.7 และ 3.66 ณ เดือนมีนาคมปีนี้จากร้อยละ 3.9 และ 3.81 ณ สิ้นเดือนธันวาคมปีที่แล้วอ่านต่อ ...
สมฤดี บ้านช้องด้วง
ม.หอการค้าเตือน’ ไทยสูญรายได้กว่า 1 แสนล้านบาทต่อเดือน หลังเกิดระบาดระลอกใหม่
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเตือนว่า เศรษฐกิจของไทยอาจสูญเสียเงินถึง 1 แสนล้านบาท (3.2 พันล้านดอลลาร์) ต่อเดือน เนื่องจากประเทศกำลังต่อสู้กับไวรัสโคโรนาระลอกที่สามมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยกล่าวว่า การระบาดระลอกล่าสุดสามารถก่อให้เกิดการปลดแรงงานมากถึง 149,000 คนต่อเดือน โดยส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมบริการและภาคการท่องเที่ยว ซึ่งได้รับความเสียหายจากการระบาดของโควิดผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี ม.หอการค้าไทย กล่าวบรรยายสรุปว่ามหาวิทยาลัยคาดกาณ์การระลอกใหม่จะสามารถควบคุมได้ภายในสองหรือสามเดือนเหมือนการระบาดครั้งก่อน แต่กล่าวว่ามีแนวโน้มที่จะลดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ลงร้อยละ 1.2 เหลือร้อยละ 1.8 อ่านต่อ ...