ผลกระทบ COVID-19 ต่อตลาดแรงงานไทย

การระบาดของ COVID-19 นับเป็นช่วงเวลาท้าทายสำหรับผู้นำประเทศทั่วโลกในการออกมาตรการอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที เพื่อลดผลกระทบของ COVID-19 ในขณะเดียวกันก็แจ้งให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง อันที่จริงแล้ว COVID-19 ทำให้ความไม่เท่าเทียมทวีความรุนแรงขึ้น และทำให้การเติบโตของรายได้ทั่วโลกต้องหยุดชะงักในช่วงครึ่งแรกของปี 2563

ประเทศไทยเริ่มใช้มาตรการปิดพื้นที่หรือล็อกดาวน์ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมจนถึงเดือนมิถุนายน 2563 จากข้อมูลกำลังแรงงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สช.) มาตรการต่าง ๆ ที่ประกาศใช้เพื่อควบคุมการระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการจ้างงานและคนทำงานในไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 

 

ดูเพิ่มเติม แดชบอร์ด: โควิด-19 และตลาดแรงงาน

ปัญหาการว่างงานเริ่มเป็นที่กังวล เมื่อข้อมูลจาก สช. แสดงให้เห็นถึงอัตราว่างงานที่เพิ่มสูงถึงร้อยละ 2 ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 โดยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การว่างงานของไทยอยู่ในอัตราร้อยละ 0.61 ทางสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่ามีแรงงานที่เสี่ยงถูกเลิกจ้าง 8.4 ล้านคน​​ จากการระบาดของโควิด-19 ในไตรมาสที่ 2 และ 3 ของปี 2563 ทั้งนี้ไม่รวมเกษตรกรกว่าหกล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งแล้ว2 ภาคส่วนสำคัญของไทยได้รับกระทบอย่างหนัก​ รายงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) คาดการณ์ว่าคนงานในภาคการท่องเที่ยวของไทยยกว่าหกล้านคนขึ้นไปจะตกงาน เนื่องจากการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างมากจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและการเว้นระยะห่างทางสังคม3

ผลกระทบจาก COVID-19 ต่อแรงงานแต่ละภาคธุรกิจมีความรุนแรงที่ไม่เท่ากัน ทางสมาพันธ์แรงงานนอกระบบในประเทศไทย (FIT) รายงานว่า ธุรกิจขนาดเล็กมีรายได้เพียงร้อยละ 20 หรือน้อยกว่านั้นของรายได้ก่อนการระบาด COVID-19 มีหลายธุรกิจต้องลดชั่วโมงทำงาน หรือให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน และมีแรงงานจำนวนหนึ่งที่เผชิญกับสภาวะตกงานโดยสิ้นเชิง4 ทั้งนี้ คนที่ทำงานอยู่ในการจ้างงานนอกระบบที่มีความเสี่ยงอยู่แล้วยิ่งได้รับผลกระทบจาก COVID-19 มากขึ้นอีก ​

ความเปราะบางของงานนอกระบบ

แรงงานนอกระบบ หมายถึง ผู้มีงานทำที่ไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้โครงการประกันสังคมเช่นเดียวกับแรงงานในระบบ มีสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของการจ้างงานในประเทศไทยหรือคิดเป็นมากกว่า 20 ล้านคน5 แรงงานนอกระบบในประเทศไทยส่วนใหญ่หมายถึงคนที่ประกอบธุรกิจครัวเรือน หรือธุรกิจส่วนตัว ได้รับค่าจ้างรายวัน หรือทำงานมีสัญญาที่ไม่รวมความคุ้มครองตามหลักประกันสังคม6 บางครั้งเราจะได้ยินคำเรียก การจ้างงานนอกระบบ​ว่า “กิ๊ก” (มาจากคำว่า “Gig”) ซึ่งหมายถึง คนทำงานฟรีแลนซ์ ลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับค่าตอบแทนรายครั้งหรือระยะสั้น อาชีพเหล่านี้มีมากมาย รวมถึงเกษตรกร คนขายของริมถนน คนงานก่อสร้าง มอเตอร์ไซค์รับจ้าง เป็นต้น7 จำนวนแรงงานนอกระบบที่เพิ่มขึ้นถือเป็นประเด็นสังคมเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีแอปพลิเคชันออนไลน์ที่รองรับการทำงานนอกระบบนี้เพิ่มขึ้น สังคมเมืองของไทยก้าวสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้น โดยมีแรงงานนอกระบบคิดเป็นประมาณร้อยละ 28 ของการจ้างงานในกรุงเทพฯ และคิดเป็นร้อยละ 42 ของเมืองหลักอื่น ๆ ในไทย8

โดยปกติในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ งานนอกระบบเป็นทางออกชดเชยการสูญเสียงานประจำ​ ช่วยให้แรงงานสามารถสร้างรายได้ของตัวเอง และลดการพึ่งพาเงินพิเศษจากภาครัฐ แต่มาตรการด้าน COVID-19 ส่งผลกระทบต่อกลุ่มงานนอกระบบอย่างหนักหน่วง การสูญเสียรายได้ของแรงงานนอกระบบจะผลักดันให้คนจำนวนมากเข้าเกณฑ์กลุ่มที่มีรายได้น้อย หรือใต้เกณฑ์ความยากจนสากล (คือมีรายได้ขั้นต่ำน้อยกว่า 1.90 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 60 บาทต่อวัน) มีการประเมินว่าสัดส่วนของคนยากจนในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.7 เป็นร้อยละ 11 ของการจ้างงานทั้งหมดในปีนี้9 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรการล็อกดาวน์ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ค้าปลีกและผู้ค้ารายย่อย การลดลงของภาคการท่องเที่ยวและภาคการผลิต​ยิ่งส่งผลให้งานนอกระบบที่พึ่งพิงภาคส่วนเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานขับรถส่งของ และผู้ค้าขายริมถนน ต้องซบเซาลงไปด้วย

ผลกระทบต่อสวัสดิการครัวเรือนยังมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยคาดการณ์ว่าในปี 2563 คนที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางขาดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เช่น ผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 5.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจาก 4.7 ล้านคนในไตรมาสที่ 1 เป็น 9.7 ล้านคนในไตรมาสที่ 2 และจะสถานการณ์จะฟื้นตัวเล็กน้อยเป็น 7.8 ล้านคนในไตรมาสที่ 310

เศรษฐกิจอาชีพอิสระ (Gig Economy) ของไทย 

ในขณะที่เศรษฐกิจอาชีพอิสระ หรือ Gig Economy ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เร็ว ๆ นี้เศรษฐกิจอาชีพอิสระได้รับการกล่าวขานอีกครั้ง เนื่องด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคแบบ “ปกติวิถีใหม่” และการเกิดขึ้นของแอปพลิเคชันออนไลน์ยี่ห้อต่าง ๆ สำหรับให้บริการตามเงื่อนไขการว่าจ้าง ในปัจจุบันมีแอปพลิเคชันมากมาย เช่น LINE, Grab, Food Panda, Gojek และ Get เป็นต้น ที่พัฒนาเป็นแพลตฟอร์มศูนย์รวมให้ผู้ใช้สั่งอาหารจากร้านอาหารที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแฟรนไชส์ขนาดใหญ่หรือแผงลอยริมถนน การส่งอาหารแต่ละครั้งจะทำโดยผู้ขับขี่ที่ไร้สัญญา แต่ยินดีรับงาน “อิสระ” หรือ “Gig” ผ่านแอปพลิเคชันและมีรายได้ต่อเที่ยว โดยมีระบบคล้ายกับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง

นับเป็นเรื่องยากที่จะนำเสนอตัวเลขการจ้างงานที่ชัดเจนและถูกต้องของเศรษฐกิจอาชีพอิสระ เนื่องจากแอปพลิเคชันส่งอาหารยังไม่ได้อยู่ในความควบคุมของรัฐบาล อีกทั้ง คนทำอาชีพอิสระยังไม่ได้เข้าระบบคุ้มครองภายใต้ประกันสังคม ทั้ง ๆ ที่ภาครัฐพยายามให้คนมีงานทำทุกคนเข้าสู่ระบบประกันสังคมเป็นสิทธิพื้นฐาน 

งานวิจัยล่าสุดประเมินว่า รายได้ของผู้ขับขี่ส่งอาหารบนแพลตฟอร์มอยู่ระหว่าง 15,000 ถึง 40,000 บาทต่อเดือน โดยมีแรงจูงใจให้ขับขี่ส่งอาหารให้มากที่สุดและเพิ่มเวลาทำงาน เพื่อรายได้ที่สูงขึ้น รายได้ของผู้ขับขี่ไม่แน่นอนเพราะเป็นค่าตอบแทนรายครั้ง โดยไม่มีหลักประกันในการทำงานหรือสวัสดิการแรงงานขั้นต่ำ11 

ด้วยความไม่แน่นอนของอาชีพอิสระ คนขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างมักได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากมาตรการป้องกันโรคระบาด และอาจเผชิญกับผลกระทบที่ยืดเยื้อได้ ​ทั้งนี้ การจำกัดการเดินทางในช่วงการระบาดได้เพิ่มโอกาสให้เกิดการส่งอาหารตามความต้องการในรูปแบบ “ปกติวิถีใหม่” ซึ่งนับเป็นตลาดที่สมบูรณ์พร้อมให้บริการ ผู้บริโภคที่ถูกกักบริเวณ ไม่สามารถรับประทานอาหารภายในร้านได้ สามารถทำได้แค่ซื้ออาหารกลับบ้านหรือสั่งผ่านทางแพลตฟอร์มจัดส่งอาหารเท่านั้น อย่างไรก็ตาม คนขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างมีความเสี่ยงได้รับเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพส่วนบุคคล อาชีพขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างจึงได้รับผลกระทบอย่างมากเพราะความจำเป็นในการเดินทางลดลง ผู้โดยสารปกติเริ่มทำงานจากบ้านเพื่อรักษาระยะห่างทางสังคม 

Motorbike taxi in Thailand

อาชีพขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างในประเทศไทย โดย ibeeckmansCC Search ภายใต้ CC BY-NC-SA 2.0.

ต้นแบบเศรษฐกิจสมานฉันท์: ตามสั่ง-ตามส่ง

หนึ่งตัวอย่างจากอาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พัฒนาแพลตฟอร์มชุมชนที่มีชื่อว่า “ตามสั่ง-ตามส่ง” เพื่อรับมือกับความท้าทายความมั่นคงด้านอาชีพให้กับคนขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างและคนขายอาหาร​ อีกทั้งเพื่อดำเนินกาตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม 

การริเริ่มเปิดตัวแพลตฟอร์มส่งอาหาร “ตามสั่ง-ตามส่ง” เกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือชุมชนในย่านลาดพร้าว 101 กรุงเทพฯ โดยตั้งใจเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างสมานฉันท์ของชุมชน ด้วยการช่วยเหลือผู้ขายอาหาร คนขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง และลูกค้าให้ปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจแบบแพลตฟอร์มได้

โมเดลนี้พัฒนาด้วยกรอบแนวคิดของเศรษฐกิจสมานฉันท์ สามารถช่วยเพิ่มความมั่นคงในอาชีพและเสริมสร้างศักยภาพให้กับชุมชน แม้ว่ามาตรการเว้นระยะห่างจะยกเลิกแล้วก็ตาม ปัจจุบัน มีผู้ประกอบการขายอาหารกว่า 60 ราย และคนขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง 34 รายเข้าร่วมเป็นสมาชิกบนแพลตฟอร์ม ขั้นต่อไป ผู้พัฒนามุ่งหวังให้ชุมชนผู้ประกอบการและคนขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างย่านลาดพร้าว 101 ได้ใช้และร่วมพัฒนาให้แพลตฟอร์มนี้ยั่งยืน12

References

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

uPC4X
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!