ข่าว
ดัชนีอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 6.6% ในเดือนมกราคม แตะระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือน
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของไทย (Manufacturing Production Index; MPI) เพิ่มขึ้น 6.6% จากเดือนธันวาคมปีที่แล้วแตะ 99.8 จุดในเดือนมกราคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือน จากกิจกรรมทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น ซึ่งได้แรงหนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่พุ่งสูงขึ้นสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า MPI เดือนมกราคม ลดลง 4.35% เมื่อเทียบเป็นรายปี เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
ผลผลิตของโรงงานเดือนเมษายนเพิ่มขึ้น 0.56% ต่อปี ต่ำกว่าที่คาดการณ์
ผลผลิตโรงงานของไทยในเดือนเมษายนปีนี้เพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้นยังคงส่งผลกระทบต่อการผลิต แม้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะดีขึ้นก็ตาม กระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวเมื่อวันจันทร์ว่า ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) เพิ่มขึ้น 0.56% ในเดือนเมษายนเมื่อเทียบปีต่อปี ต่ำกว่าการคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น 1.6% ในการสำรวจของรอยเตอร์ และเทียบกับการเพิ่มขึ้น 0.44% ในเดือนมีนาคมอ่านต่อ ...
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมยังคงเติบโตท่ามกลางการระบาดใหญ่
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) รายงานว่า การระบาดของโควิด-19 ทำให้ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) ลดลงร้อยละ 4.15 เมื่อเทียบเป็นรายปี มาอยู่ที่ 87.71 จุดในเดือนสิงหาคม แต่ดัชนียังคงเติบโตในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ แม้จะมีผลกระทบจากการระบาดใหญ่ต่อภาคอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม เมื่ออัตราการติดเชื้อสูงและมีมาตรการล็อกดาวน์ที่รุนแรง แต่ดัชนี MPI ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงสิงหาคมยังคงมีการเติบโต โดยได้แรงหนุนจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอันเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
คาดการณ์ MPI ปรับขึ้นสูงสุด 4-5% จากการเติบโตของการส่งออก
ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของไทย (MPI) คาดว่าจะขยายตัว 4-5% ในปีนี้ เพิ่มขึ้นจากที่สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 2-3% เนื่องจากการส่งออกที่เติบโตอย่างรวดเร็วการปรับการคาดการณ์ได้รับการประกาศเมื่อ สศอ. รายงานว่าดัชนี MPI สำหรับเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้น 17.58% เมื่อเทียบเป็นรายปีมาอยู่ที่ 97.73 จุดระดับดัชนีสำหรับเดือนมิถุนายนลดลง 2.65% จากเดือนพฤษภาคมอ่านต่อ ...
ลมลเพ็ชร อภิสิทธิ์นิรันดร์
สศอ.เผยดัชนี MPI ลดลงเล็กน้อย แต่เศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้น
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) รายงานว่าดัชนีการผลิตภาคการผลิต (MPI) ของไทยยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องในเดือนก. พ. โดยลดลงร้อยละ 1.08 สู่ 99.68 จุดเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าเนื่องจากการผลิตน้ำมันที่ลดลงตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเดือนกุมภาพันธ์ต่ำกว่าที่รอยเตอร์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือนมกราคมและธันวาคม ที่ MPI ลดลงร้อยละ 2.8 และ 2.44% เมื่อเทียบเป็นรายปีตามลำดับนายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการ สศอ. เปิดเผยว่า “ เนื่องจากการระบาดของโควิด -19 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รัฐบาลได้กำหนดมาตรการกักตัวในบางพื้นที่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและอุปสงค์ในประเทศจึงซบเซา”อ่านต่อ ...
ดัชนี MPI เดือนมกราคมของไทย เพิ่มขึ้น 6.03%
ดัชนีอุตสาหกรรม (MPI) ของไทยในเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.03 มาอยู่ที่ 101.82 จาก 96.03 จุดในเดือนธันวาคม ท่ามกลางการระบาดของโควิด -19 ระลอกสอง ขณะที่ทางสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) คาดว่าแนวโน้มทางเศรษฐกิจจะดีขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าหลังจากการส่งมอบวัคซีนล่าสุดการผลิตเม็ดพลาสติกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบเป็นรายปีเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่กระตุ้นดัชนี MPI ในเดือนมกราคม เนื่องจากมาตรการ work-from-home ที่กระตุ้นความต้องการผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์อ่านต่อ ...
ลมลเพ็ชร อภิสิทธิ์นิรันดร์
ดัชนี MPI เดือน พ.ค.ลดลง 23%
กระทรวงอุตสาหกรรมรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤษภาคม ปรับตัวลดลง 23.19% จากปีก่อนหน้า โดยได้รับแรงหนุนจากการผลิตรถยนต์ปิโตรเลียมและเครื่องปรับอากาศที่ลดลงเนื่องจากผลกระทบของการระบาดของไวรัสโคโรนาโดยการสำรวจของรอยเตอร์ที่การคาดการณ์ว่าจะลดลง 21.0% ในและดัชนี MPI ในเดือนเมษายนที่ลดลง 18.22%อ่านต่อ ...
ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนเมษายนของประเทศไทยลดลง 17.2% ซึ่งน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้
ดัชนีอุตสาหกรรม (MPI) ปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 12 ในเดือนเมษายนลดลงร้อยละ 17.21 จากปีก่อนหน้า โดยภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบ คือ ภาคการผลิตรถยนต์ ปิโตรเลียม และเบียร์ที่ลดลงท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนาซึ่งเปรียบเทียบกับการสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดการณ์ว่าจะลดลงร้อยละ 19.55 และเทียบกับเดือนมีนาคมลดลงร้อยละ 10.48อ่านต่อ ...
ดัชนี MPI ลดลงต่อเนื่อง 10 เดือนติดต่อกัน
กระทรวงอุตสาหกรรมรายงานเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 ในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงร้อยละ 5.19 จากปีก่อน โดยได้รับผลกระทบจากการผลิตรถยนต์ ยางรถยนต์และน้ำตาลที่ลดลงโดยการลดลงนั้นสอดคล้องกับการคาดการณ์ที่ลดลงร้อยละ 5.2 ในรอยเตอร์โพล และเมื่อเทียบกับเดือนมกราคมลดลงร้อยละ 4.59อ่านต่อ ...
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เดือนสิงหาคมลดลงร้อยละ 4.4 ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา กระทรวงอุตสาหกรรมได้เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือนสิงหาคมลดลงร้อยละ 4.4 จากปีก่อน โดยมีสาเหตุมาจากการผลิตที่ลดลงในกลุ่มอุตสาหกรรมมรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการคาดการณ์ของรอยเตอร์ที่คาดว่าลดลงร้อยละร้อยละ 3.6 และปรับลดลงร้อยละ 3.32 ในเดือนกรกฎาคมอ่านต่อ ...