ข่าว
ดัชนีราคาผู้บริโภค พ.ค. พุ่ง 2.44%
กระทรวงพาณิชย์เผยดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) เดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 2.44% เมื่อเทียบเป็นรายปี มาอยู่ที่ 99.55 จุด โดยปัจจัยหลักมาจากราคาในกลุ่มพลังงานและอาหารสด“ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปปรับตัวสูงขึ้นเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน แต่น้อยกว่าเดือนก่อน” นายวิชานัน นิวาตจินดา รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.) กระทรวงพาณิชย์กล่าวว่า CPI ในเดือนเมษายนทำสถิติสูงสุดในรอบ 8 ปี โดยเพิ่มขึ้น 3.41% จากปีที่แล้วซึ่งปัจจัยหลักคือราคาพลังงานที่พุ่งขึ้น 24.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี ประกอบกับราคาเนื้อหมู อาหารทะเล และผลไม้ที่เพิ่มสูงขึ้นอ่านต่อ ...
เศรษฐกิจไทยดิ่งหนัก
เศรษฐกิจของไทยติดหล่มอยู่ในภาวะหดตัวติดต่อกัน 5 ไตรมาส โดยเริ่มจากการลดลง 1.8% ในไตรมาสแรกของปี พ.ศ.2563 ตามด้วยการดิ่งลง 12.2% ในไตรมาสที่สองโดยไตรมาสที่สาม หดตัวรุนแรงเล็กน้อยที่ 6.4% และลดลงเหลือ 4.2% ในไตรมาสสุดท้าย และเหลือเพียง 2.6% ในไตรมาสแรกของปีนี้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนเมษายน ที่วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ยังเพิ่มขึ้น 3.41% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 8 ปี 4 เดือนอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
ดัชนีราคาผู้บริโภคพุ่งขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่โควิด-19 เริ่มมีการแพร่ระบาด
กระทรวงพาณิชย์รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของไทยในเดือนเมษายนพุ่งขึ้นร้อยละ 3.41 เมื่อเทียบเป็นรายปีสู่ระดับ 100.48 จุด นับเป็นครั้งแรกที่เพิ่มขึ้นในรอบ 14 เดือนนายวิชานัน นิวาตจินดา รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวว่า “ดัชนีราคาผู้บริโภคที่พุ่งสูงขึ้นในเดือนเมษายนถือเป็นสถิติสูงสุดในรอบ 8 ปี 4 เดือน” ดัชนี CPI ออกมาสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ในการสำรวจความคิดเห็นของนักวิเคราะห์ของรอยเตอร์ถึงร้อยละ 2.50 ในเดือนมีนาคมตัวเลขลดลงร้อยละ 0.08 จากปีที่แล้วอ่านต่อ ...
ดัชนีราคาผู้บริโภคลดลง 12 เดือนติด
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนกุมภาพันธ์ของไทยลดลง 1.17% เมื่อเทียบเป็นรายปี นับเป็นการลดลงติดต่อกันครั้งที่ 12 นับตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ.2563นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวว่า การลดลงส่วนใหญ่เป็นผลมาจากมาตรการของรัฐบาลในการลดค่าครองชีพผ่านค่าไฟฟ้าและค่าน้ำ ซึ่งมีผลตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมอ่านต่อ ...
ผุสดี อรุณมาศ
ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือน ม.ค.หดตัว 11 เดือนติดต่อกัน
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนที่ผ่านมาลดลงร้อยละ 0.34 เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นการลดลง 11 เดือนติดต่อกัน นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ระบุว่าเป็นผลมาจากราคาน้ำมัน ค่าไฟฟ้า ที่ปรับตัวลดลง จากการที่ภาครัฐลดค่า FT ลง ร่วมกับราคาข้าวและข้าวเหนียวที่ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2563 เนื่องจากการผลิตข้าวไทยไม่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ขณะที่อุปสงค์ยังคงทรงตัวอ่านต่อ ...
ผุสดี อรุณมาศ
ดัชนีราคาผู้บริโภคร่วงหนักในรอบ 10 ปี
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ถือเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนเมษายนลดลง 2.99% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งลดลงมากที่สุดในรอบ 10 ปี และ 9 เดือนโดยส่วนที่ส่งผลกระทบหนักมาจากราคาพลังงานซึ่งลดลงมากที่สุดในรอบ 11 ปี 2 เดือน และลดราคาสินค้าและบริการภายใต้มาตรการของรัฐบาลที่มุ่งลดค่าครองชีพในช่วงวิกฤตไวรัสโคโรนาอ่านต่อ ...
ผุสดี อรุณมาศ
ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมีนาคมลดลง 0.54 ต่ำสุดในรอบ 4 ปี
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) ของประเทศไทย ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.54 ในเดือนมีนาคมเมื่อเทียบจากปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 51 เดือน แต่ดีกว่าที่คาดการณ์เล็กน้อยรอยเตอร์โพลคาดการณ์ว่าลดลง ร้อยละ 0.60% และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.74 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์อ่านต่อ ...
อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ. ชะลอตัวลงต่ำกว่าคาดการณ์
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.74 จากปีก่อนหน้า ซึ่งชะลอตัวจากเดือนก่อนและต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้จากการสำรวจของรอยเตอร์ได้คาดการณ์ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.77 เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนกุมภาพันธ์หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.05 ในเดือนมกราคมอ่านต่อ ...
ไทยติดอันดับ 99 จาก 180 ประเทศในดัชนีการรับรู้การทุจริต
ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 99 จาก 180 ประเทศ ในปี 2561 ดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (CPI) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแม้จะมีความคืบหน้าบางอย่าง หลายประเทศยังคงล้มเหลวในการต่อต้านการรับสินบนอย่างจริงจังดัชนีจัดอันดับประเทศตามระดับการรับรู้การทุจริตในภาครัฐตามผู้เชี่ยวชาญและนักธุรกิจในระดับ 0 ถึง 100 โดยที่ 0 มีการคอรัปชั่นสูง และ 100 มีความโปร่งใสมากอ่านต่อ ...
ประดิษฐ์ พูลสาริกิจ
