บางกอกโพสต์
สมคิดกังวลเรื่องการส่งออกท่ามกลางความไม่สงบในระดับโลก
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เผยถึงสิ่งที่น่ากังวลและควรจับตาในปีหน้า คือ การส่งออกและความเชื่อมั่น ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกพร้อมกล่าวว่า “เราไม่แน่ใจว่าจะมีอะไรในปีหน้า ดังนั้นเราจำเป็นต้องสร้างความแข็งแกร่งให้กับตัวเอง” การเพิ่มแรงกระตุ้นทางเศรษฐกิจจะเป็นประเด็นสำคัญในปีนี้ ดังนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องดูแลเศรษฐกิจ เพื่อป้องกันไม่ให้เย็นลงมากเกินไปใน ขณะที่การปฏิรูปเศรษฐกิจจะต้องทำควบคู่กันอ่านต่อ ...
วิชิต จันทนุสรณ์ศิริ
นักกิจกรรม LGBT เดินหน้าเพื่อความเท่าเทียมในการสมรสระหว่างบุคคลเพศเดียวกัน
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา นักเคลื่อนไหว LGBT ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญในการเสนอเพื่อเปลี่ยนกฎหมายที่จำกัดการแต่งงานระหว่างชายและหญิง ซึ่งเป็นความพยายามที่จะบรรลุความเท่าเทียมกันด้านการสมรสในภูมิภาคเอเชียโดยนักเคลื่อนไหวได้ กล่าวถึง คำจำกัดความของการสมรสในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทย ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิทธิส่วนบุคคลขัดต่อรัฐธรรมนูญที่ระบุว่า “ทุกคนมีความเสมอภาคกันตามกฎหมายและจะมีสิทธิและเสรีภาพและได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย” อ่านต่อ ...
ตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนตุลาคม ลดลง 4.5%
ตามที่นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ได้เปิดเผยถึงยอดตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนตุลาคมอยู่ที่ 2.08 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 4.5% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทำให้การหดตัวในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2562 อยู่ที่ 2.35% โดยภาพรวมยังคงเป็นลบสาเหตุมาจากการลดลงอย่างมีนัยสำคัญของราคาน้ำมันและปัญหาเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าของไทยอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
กรมเจรจาการค้าคาด ความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป (FTA ไทย-อียู) จะช่วยกระตุ้น GDP ของไทย
การศึกษาร่วมกันของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกับ สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (IFD) ระบุว่าข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับสหภาพยุโรปมีแนวโน้มที่จะกระตุ้นการส่งออก รวมถึงการนำเข้าและการลงทุน อีกทั้งยังช่วยเพิ่ม GDP ของประเทศไทยกว่าปีละ 1.63% นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า จากการศึกษาผลกระทบจากการจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป (FTA ไทย-อียู) คาดว่าจะช่วยเพิ่มการส่งออก 3.43% การนำเข้าเพิ่มขึ้น 3.42% และการลงทุน 2.74% ต่อปีอ่านต่อ ...
ผุสดี อรุณมาศ
ไทย-พม่าลงนามในข้อตกลงฯการขนส่งข้ามแดน
ในวันพุธที่ผ่านมา นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมให้สัมภาษณ์ว่าประเทศไทย และเมียนมาร์ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) เกี่ยวกับการขนส่งข้ามแดนในระหว่างการประชุมความร่วมมือเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ครั้งล่าสุดรโดยการลงนามในครั้งนี้ได้เกิดขึ้นในระหว่างการประชุม GMS ครั้งที่ 23 ณ กรุงพนมเปญ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาซึ่งบันทึกความเข้าใจ (MoU) เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกการขนส่งข้ามแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS CBTA) อันเป็นสนสนธิสัญญาการปรับปรุงการขนส่งข้ามพรมแดนและโลจิสติกส์อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
ปลดล็อกรายงานตรวจสอบแทนที่ EIA เขื่อนกันคลื่น
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจะใช้ “รายการตรวจสอบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น” เพื่อตรวจสอบข้อเสนอเกี่ยวกับการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งรายการตรวจสอบจะได้รับการออกแบบในลักษณะที่แสดงประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญอย่างชัดเจน ซึ่งผู้ยื่นโครงการต้องระบุในการวางแผนโครงการ โดยทางกระทรวงฯระบุว่ารายการตรวจสอบนี้จะเข้ามาแทนที่ข้อกำหนดการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) สำหรับโครงการที่เกี่ยวข้องกับกำแพงกันคลื่นอ่านต่อ ...
อภิญญา วิภาตะโยธิน
แผนระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์เล็งประเดิมการทำธุรกรรมข้ามพรมแดน
แผนระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (National e-Payment) ปี พ.ศ.2563 ได้ให้ความสำคัญการชำระเงินข้ามพรมแดนและการโอนเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มธุรกรรมทางการเงินผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลทั่วอาเซียน และการรวมกลุ่มของภูมิภาคในเชิงลึกนายยศ กิมสวัสดิ์ หัวหน้าสำนักระบบการชำระเงิน สมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ภายใต้แผนระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติระยะเวลา 3 ปีจนถึงปี พ.ศ.2565 โดยในปีหน้าจะมุ่งเน้นไปที่การทำธุรกรรมข้ามพรมแดนอ่านต่อ ...
สมฤดี บ้านช้องด้วง
นายกฯไม่หวั่นแม้อัตราการว่างงานเพิ่ม
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลกำลังพยายามหาวิธีช่วยเหลือแรงงานที่ถูกปลดออกจากงานหลังจากโรงงานเกือบ 1,400 แห่งปิดตัวลงในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา โดยรัฐบาลยังชี้ไปยังโรงงานที่เปิดใหม่กว่า 2,000 แห่ง ซึ่งสร้างงานมากกว่า 80,000 คนอ่านต่อ ...
มงคล บางประภา
ผลสำรวจพบว่าการยอมรับ AI ของไทยยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น
ตามการสำรวจของสถาบันไอเอ็มซี (IMC Institute) องค์กรวิจัยและฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีเปิดเผยว่า การนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในประเทศไทยยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น โดยมี Chatbot ระบบการทำงานอัตโนมัติแบบหุ่นยนต์ (RPA) และการแบ่งกลุ่มผู้บริโภคตามเป้าหมายหลักสำหรับธุรกิจนายธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการสถาบันไอเอ็มซี กล่าวว่า “ธุรกิจในประเทศไทยมีความตระหนักถึงประโยชน์ และความสำคัญของ AI ในการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม แต่พวกเขายังไม่ได้ใช้ความพยายามหรือสนับสนุนเงินทุนในทิศทางดังกล่าวมากนัก เนื่องจากยังขาดความเชี่ยวชาญ” อ่านต่อ ...
สุจิตร ลีสงวนสุข
อันดับขีดความสามารถของไทยลดลงหนึ่งอันดับ
ประเทศไทยติดอันดับที่ 43 ลดลงหนึ่งจาก 63 ประเทศ ตามการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ในขณะที่เพื่อนบ้านในระดับภูมิภาคอย่างสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ต่างก้าวหน้าขึ้นตามรายงานที่จัดทำโดยสถาบัน IMD World Competitiveness Center ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นรายงานการจัดอันดับฉบับที่ 6 ที่คำนึงถึงการลงทุน และการพัฒนา ความพร้อมและการดึงดูดการลงทุนอ่านต่อ ...
สุจิตร ลีสงวนสุข