ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นโยบายและการจัดการป่าไม้
กฎหมายและนโยบายด้านป่าไม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 (ฉบับแก้ไข 2562) พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507นโยบายการป่าไม้แห่งชาติ พ.ศ. 2528 (ปัจจุบันอยู่ระหว่างการแก้ไข 2563) มติครม. เรื่องการปิดป่าสัมปทาน (17 มกราคม พ.ศ. 2532)1พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 (ฉบับแก้ไข 2562)พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 และฉบับแก้ไข พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. 2545ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ. 2553 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562ประเทศไทยบังคับใช้นโยบายและกฎหมายด้านการจัดการป่าไม้อย่างเป็นระบบและยั่งยืนมานานกว่าสามทศวรรษ ถึงแม้จะพบความท้าทายอย่างมากทั้งในเชิงปฏิบัติ การมีส่วนร่วมและสิทธิของชุมชน2 หลักธรรมาภิบาลจึงถือได้ว่าเป็นปัจจัยบวกที่ส่งเสริมต่อความสมบูรณ์ของป่าไม้ไทย3นิยามของป่าไม้โดยทั่วไป “ป่า” หมายถึง ขอบเขตพื้นที่ป่าที่มิได้มีกรรมสิทธิ์ของบุคคลตามกฎหมายที่ดินและไม่เกี่ยวข้องกับป่าปกคลุม ...
ป่าไม้และวนศาสตร์
ป่าไม้เป็นระบบนิเวศที่สำคัญยิ่งและเป็นแหล่งเศรษฐกิจหลักของประเทศไทย อีกทั้งเป็นแหล่งทำมาหากินของคนไทยจำนวนมากในปี 2561 ผลิตภัณฑ์จากป่ามีมูลค่าส่งออกรวมโดยประมาณ 118 พันล้านบาท (หรือเทียบเท่า 3.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ)1 หรือคิดเป็นร้อยละ 1.2 ของสินค้าและบริการที่ส่งออกทั้งหมด2 ตัวเลขดังกล่าวไม่รวมมูลค่าการบริโภคผลิตภัณฑ์ป่าไม้ภายในประเทศหรือมูลค่าที่ได้จากบริการระบบนิเวศป่าไม้หลังจากปริมาณป่าปกคลุมลดลงอย่างชัดเจนในช่วงสองทศวรรษระหว่างปี 2503-2523 ประเทศไทยเริ่มมีเสถียรภาพด้านป่าไม้และเปลี่ยนปริมาณป่าปกคลุมให้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ถึงแม้ความท้าทายด้านการกำกับดูแลงานและความขัดแย้งยังคงมีอยู่ป่าดิบเขาบนดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ประเทศไทย. ภาพถ่ายโดย @icon0com, pxhere.com. ภายใต้ลิขสิทธิ์ CC0 Public Domain.ป่าปกคลุมและการเปลี่ยนแปลงจากรายงานของ FAO พบว่าในปี 2559 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้จำนวน 16.4 ล้านเฮกตาร์ (102.5 ล้านไร่) หรือประมาณร้อยละ 32 ของพื้นที่ทั้งหมด ลดลงเล็กน้อยจากปี 2543 ที่มีประมาณ 17 ล้านเฮกตาร์ (106.25 ล้านไร่) ...
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ในปี พ.ศ.2559 ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในลำดับที่ 20 ของประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.90 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกหรือปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปีละ 327 ตัน การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ดังกล่าวสอดคล้องกับอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อคนที่ปริมาณ 4.7 ตัน ซึ่งต่ำกว่าอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกต่อคนเล็กน้อยที่ปริมาณ 4.80 ตัน 1 ประชากรและขนาดของเศรษฐกิจของประเทศได้รับการรายงานว่าเป็น 2 ตัวขับเคลื่อนหลักของตัวเลขเหล่านี้ทั่วโลกอุทกภัยในแม่น้ำเจ้าพระยาครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างใกล้กับกรุงเทพมหานคร ภาพโดยข่าวสารประเทศไทย แหล่งข้อมูลจากกูเกิ้ลอิมเมจ ภายใต้ลิขสิทธิ์ของ CC BY 2.0ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเป็นที่ประจักษ์แล้วทั่วโลก ประเทศไทยในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของลุ่มแม่น้ำโขงกำลังพยายามจัดการกับผลกระทบเหล่านี้ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากแรงกดดันต่อระบบนิเวศที่เกิดจากการพัฒนาเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ การตัดไม้ทำลายป่า การกัดเซาะชายฝั่งทะเล และ ความเป็นเมือง ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรประมาณ 70 ล้านคนและมีความเสี่ยงจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแบบสุดขั้ว เช่น อุทกภัยและภัยแล้ง ซึ่งกำลังเกิดขึ้นบ่อยครั้งและมีความรุนแรงอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนของสภาพภูมิอากาศ ตัวอย่าง เช่น ในปี 2554 ประเทศไทยประสบกับอุทกภัยที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ ต้องใช้งบประมาณเพื่อซ่อมแซมและฟื้นฟูจำนวน 46 พันล้านเหรียญสหรัฐ และเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครต้องใช้งบประมาณซ่อมแซมและฟื้นฟูรวมทั้งสิ้นจำนวน 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ วิกฤตอุกทกภัยในครั้งนั้นส่งผลกระทบต่อประชากรจำนวน ...
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมไปด้วย ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนวิถีชีวิตของท้องถิ่นและขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ป่าไม้ แหล่งต้นน้ำ สภาพแวดล้อมทางทะเลและทรัพยากรธรณีเป็นเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิต การส่งออกและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเศรษฐกิจ อย่างรวดเร็วในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมามักเกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้อย่างไม่ยั่งยืน ลำดับความสำคัญทางเศรษฐกิจมักมีความสำคัญมากกว่าการอนุรักษ์ในหลาย ๆ กรณี 1ประเทศไทยเผชิญกับความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมในหลายภูมิภาครวมทั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและประชากรสัตว์ป่าที่ลดลง การตัดไม้ทำลายป่า การกลายเป็นทะเลทราย การขาดแคลนน้ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและมลพิษทางอากาศและทางน้ำ 2การกวาดล้างที่ดินและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย ภาพถ่ายโดย อีวาน เอช บี, ฟลิคเกอร์ ถ่ายภาพเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2549 ภายใต้ลิขสิทธิ์ CC BY-NC-ND 2.0คุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้บรรลุผลการพัฒนาที่ยั่งยืน สิ่งสำคัญคือต้องทำความเข้าใจกับความสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม มีเครื่องมือมากมายที่ใช้ในประเทศไทยเพื่อประเมินค่าการให้บริการระบบนิเวศและมีการตัดสินใจอย่างรอบคอบเกี่ยวกับนัยยะของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่าง เช่น การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ที่ได้รับ 3 และเครื่องมือประเมินมูลค่าระบบนิเวศ 4 ได้รับการใช้เพื่อประโยชน์ในการออกแบบ การชำระเงินสำหรับแผนการให้บริการระบบนิเวศ ที่สร้างแรงจูงใจให้กับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยมีการคาดการณ์ว่ามีการใช้นโยบายการเติบโตสีเขียว การริเริ่มการเจริญเติบโตของคาร์บอนต่ำ: ประเทศไทย ...