การผลิตไฟฟ้า
พลังงานน้ำ
การพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำโขง ทำให้เกิดความกังวลเรื่องความยั่งยืน
การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนเขื่อนริมแม่น้ำโขง กำลังเปลี่ยนแปลงเครือข่ายพลังงาน อาหาร การขนส่ง ความปลอดภัย และระบบนิเวศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งขณะนี้เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ 11 แห่ง ตั้งอยู่แม่น้ำสายหลักก่อนที่จะออกจากจีน โดยมีอีกหลายร้อยเขื่อนที่มีการวางแผนไว้หรืออยู่ระหว่างการก่อสร้างในประเทศอื่น ๆ ที่มีบางส่วนของต้นน้ำแม่น้ำโขงที่สำคัญนี้ ซึ่งการพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็วและยังไม่ทราบผลที่ตามมาที่กระทบต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่อ่านต่อ ...
โรงไฟฟ้าพลังน้ำของ กฟผ. เขื่อนผาจุก จะเดินเครื่องได้ภายในปี’65-สิ้นสุดตามแผน
นายทิเดช เอี่ยมสาย ผู้ช่วยผู้ว่าการวิศวกรรมและก่อสร้างโรงไฟฟ้า กล่าวเมื่อวันพุธว่า การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขื่อนผาจุก อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ กำลังดำเนินไปตามแผนที่วางไว้และจะดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ตามเป้าหมายในเดือนธันวาคม พ.ศ.2565อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
ภูมิรัฐศาสตร์แสดงให้เห็นข้อสงสัย เกี่ยวกับเขื่อนและสนธิสัญญาในแม่น้ำโขง
ช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้เห็นพัฒนาการใหม่ของความตึงเครียดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในแม่น้ำโขงและน่านน้ำ ในขณะที่ลุ่มแม่น้ำเผชิญกับวิกฤตทางนิเวศวิทยาและน่านน้ำก็ได้มีบทบาทมากขึ้นในด้านภูมิรัฐศาสตร์ประเทศไทยได้ประกาศว่ากำลังพิจารณาการตัดสินใจซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนสานะคา ซึ่งเป็นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่บนแม่น้ำโขงในประเทศลาวอีกครั้งอ่านต่อ ...
รัฐบาลเตือนแผนสร้างเขื่อนของลาว
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา รัฐบาลกล่าวว่าจะไม่ซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนสันกำแพงในลาว หลังทราบว่าโครงการฯอาจส่งผลกระทบต่อแม่น้ำโขงนายสมเกียรติ ประจักษ์วงศ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กล่าวหลังการสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำโขงในกรุงเทพฯ ว่า “อาณาเขตของประเทศเป็นสิ่งสำคัญยิ่งของเรา” อ่านต่อ ...
อภิญญา วิภาตะโยธิน
เขื่อนจีนและภัยแล้งในแม่น้ำโขง
ตามรายงานล่าสุดจากลุ่มน้ำโขงตอนล่างทำให้เกิดความกังวลอย่างมากว่าจะเกิดภัยแล้งที่เหมือนกับปี พ.ศ.2562 ซึ่งส่งผลกระทบต่อ ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม โดยคาดว่าฝนจะตกในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน แต่ขณะนี้กรกฎาคมยังคงไม่ตก และระดับน้ำที่ไหลในแม่น้ำลดต่ำลงมาก จนทำให้ลำน้ำสาขาที่ไหลลงโตนเลสาบที่พนมเปญเกิดการไหลย้อนขึ้น ซึ่งไม่เคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อนอ่านต่อ ...
หน่วยงานไทยเร่งหาวิธีบรรเทาผลกระทบจากเขื่อนสานะคามในประเทศลาว
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีขอร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งหารือ และหาแนวทางในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการเขื่อนเขื่อนสานะคามในประเทศลาวในการประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชนที่จะมาถึงพลเอกประวิตรในฐานะประธานคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติ กล่าวว่า “ทางคณะกรรมการมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของเขื่อนเนื่องจากอยู่ห่างจากชายแดนไทยเพียง 2 กิโลเมตร ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับคำสั่งให้มุ่งเน้น และวิเคราะห์ผลกระทบของเขื่อนต่อกระแสน้ำและตะกอน การประมง การเดินเรือทางเรือและความปลอดภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความสมบูรณ์ของโครงสร้างเขื่อน”อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
ผลกระทบที่มองไม่เห็นต่อมนุษย์จากพลังงานราคาถูก
เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2561 ชาวบ้านในแขวงอัตตะปือ เมืองที่เงียบสงบทางตอนใต้ของลาวได้ประสบกับฝันร้ายที่เลวร้ายที่สุดเมื่อเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้อย ได้พังทลายลงพร้อมปลดปล่อยมวลน้ำจำนวนมหาศาลพร้อมกลืนกินหมู่บ้านในพื้นที่ ทำให้มีคนไร้บ้านมากกว่า 7,000 ราย โดยผู้รอดชีวิตต่างต้องสูญเสียทรัพย์สิน บ้าน ปศุสัตว์และพืชผลทั้งหมดอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
ปรับแผน ‘แบตเตอรี่เอเชีย’
ในเดือนนี้เมื่อสองปีที่แล้ว ชาวบ้านในแขวงอัตตะปือ ทางตอนใต้ของลาวได้พบกับฝันร้ายที่เลวร้ายที่สุดเมื่อเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อยที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างได้พังทลาย ทำให้กระแสน้ำขนาดใหญ่พัดทำลายหลายหมู่บ้านทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 71 ราย สร้างความเสียหายอย่างหนักต่อทรัพย์สินซึ่งสายตาของชาวบ้านที่อยู่บนหลังคา ขณะที่รอเจ้าหน้าที่กู้ภัยช่วยเหลือได้กลายเป็นพาดหัวข่าวทั่วโลกอ่านต่อ ...
NGO ไทยเรียกร้องให้รัฐบาลไม่ซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนสานะคามในประเทศลาว
เขื่อนที่มีแผนก่อสร้างในแม่น้ำโขง โดยประเทศลาวจะสร้างผลกระทบเชิงลบ ไม่เพียงแต่หมู่บ้านในประเทศลาวเท่านั้น แต่ยังกระทบถึงประเทศใกล้เคียงอย่างไทยอีกด้วย ซึ่งกลุ่มพันธมิตรด้านสิ่งแวดล้อมของไทย กล่าวเพิ่มเติมว่ารัฐบาลควรยกเลิกแผนการซื้อไฟฟ้าจากโครงการที่มีข้อพิพาทเขื่อนสานะคามขนาด 684 เมกะวัตต์ ถือเป็นเขื่อนขนาดใหญ่อันดับเจ็ดในแม่น้ำโขง โดยปัจจุบันมีการร่วมดำเนินการกับเขื่อนไซยะบุรีและดอนสะโฮง และมีแผนสร้างเพิ่มอีก 4 เขื่อนได้แก่ เขื่อนปากแบง เขื่อนปากลาย เขื่อนหลวงพระบางและเขื่อนภูงอยอ่านต่อ ...
ชาวบ้าน 8 จังหวัดภาคอีสานคัดค้านโครงการเขื่อนแห่งที่ 6 ของลาว
ชาวไทยที่อาศัยอยู่ใน 8 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวแม่น้ำโขงไม่เห็นด้วยกับแผนการของลาวที่จะสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำแห่งใหม่ในแม่น้ำโขง เพราะกลัวว่าจะเป็นภัยคุกคามต่อระบบแม่น้ำ ในช่วงน้ำหลากที่ส่งผลต่อการประมงและเกษตรกรรมในพื้นที่การประท้วงเกิดขึ้นเมื่อลาวส่งแผนการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำสานะคาม (Sanakham) กับคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ซึ่งเป็นหน่วยงานระหว่างรัฐบาลที่ทำงานร่วมกับรัฐบาลระดับภูมิภาคอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์