เศรษฐกิจและการพานิชย์
ม.หอการค้าเผยยอดใช้จ่ายลดลง 5 หมื่นล้านบาทต่อเดือน
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC) คาดว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคจะลดลงมากถึง 5 หมื่นล้านบาทต่อเดือน อันเป็นผลมาจากการระบาดโควิด -19 ระลอกใหม่แถมอาจทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงอีกในช่วง 3 เดือนข้างหน้าโดยม.หอการค้าไทยเผยรัฐบาลต้องใช้เวลานานขึ้นในการควบคุมการติดต่อ ซึ่งเป็นผลมาจากสายพันธุ์ใหม่ที่ติดต่อกันได้ง่ายที่เรียกว่าสายพันธุ์อังกฤษ ผลกระทบต่อการบริโภคก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้นอ่านต่อ ...
ผุสดี อรุณมาศ
ธปท.เผยเศรษฐกิจไทยอาจเติบโตน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้หลังการระบาดระลอกใหม่
เจ้าหน้าที่จากธนาคารแห่งประเทศไทยเผยว่าเศรษฐกิจของไทยอาจขยายตัวน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ในปีนี้ หลังจากมีการติดเชื้อไวรัสโคโรนาระลอกที่สามและความกังวลเกี่ยวกับการแพร่กระจายของโรคติดต่อนส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวกับที่ประชุมนักวิเคราะห์ว่าเศรษฐกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยวประสบกับภาวะตกต่ำที่สุดในรอบสองทศวรรษเมื่อปีที่แล้ว หลังลดลงร้อยละ 6.1 จากผลกระทบของการระบาด ต่อภาคการท่องเที่ยวที่เป็นเสาหลักทางเศรษฐกิจความไม่แน่นอนยังคงมีอยู่ โดยมีความเสี่ยงที่การเติบโตในปีนี้อาจน้อยกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 3.0%อ่านต่อ ...
ส.อ.ท.กังวลเศรษฐกิจไทยมืดมน จากการระบาดระลอกใหม่
การระบาดของโรคโควิด -19 ระลอกใหม่ ได้สร้างความตกตะลึงให้กับคนไทยด้วยไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ควบคุมได้ยากยังคงสร้างความกังวลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้านสุขภาพ ทางเศรษฐกิจและเพิ่มภาระทางการเงินการคลังให้กับรัฐบาล ซึ่ง ณ ขณะนี้จีดีพีอาจโตไม่ถึงเป้าหมายเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เตือนรัฐบาลเกี่ยวกับโอกาสที่จะหารายได้หรือกู้เงินเพิ่ม เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และโควิด-19 ดัน e-money เติบโต
เงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-money) เติบโตขึ้นในแง่ของการใช้จ่าย และมูลค่าการเติมเงิน โดยได้รับแรงหนุนจากพฤติกรรมทางการเงินของผู้บริโภคในยุคดิจิทัลและการเว้นระยะห่างสังคมท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19ตามข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยมูลค่าการใช้จ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาอ่านต่อ ...
สมฤดี บ้านช้องด้วง
IMF เพิ่มการคาดการณ์การเติบโตทั่วโลก พร้อมเตือนแต่ละประเทศฟื้นตัวไม่เท่ากัน
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับเพิ่มการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกเป็นครั้งที่สองในรอบสามเดือน ในขณะที่คำเตือนเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมที่กว้างขึ้นและความแตกต่างระหว่างประเทศเศรษฐกิจชั้นนำ และประเทศที่พัฒนาน้อยกว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 6 ในปีนี้เพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 5.5 ในเดือนมกราคม ซึ่ง IMF กล่าวใน World Economic Outlook ที่เผยแพร่เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา นั่นเป็นจำนวนที่มากที่สุดในรอบสี่ทศวรรษ หลังจากหดตัวร้อยละ 3.3 ในปีที่แล้ว ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่อ่านต่อ ...
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงจากความกลัวเรื่องโควิด
นักเศรษฐศาสตร์เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของไทยในเดือนมีนาคมล่วงลงสู่ระดับ 48.5 จุดจาก 49.4 จุดในเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากความกลัวว่าโควิด-19 ระบาดระลอกใหม่ และความไม่แน่นอนทางการเมืองมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งเป็นผู้วัดดัชนีดังกล่าวเปิดเผยว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจอาจลดลงร้อยละ 2 หากการแพร่กระจายของโรคโควิด-19 ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยกล่าวว่าดัชนีปรับตัวลดลงหลังจากความเชื่อมั่นกลับไปในแดนบวกในช่วง 3 เดือนแรกของปีเมื่อเดือนที่ผ่านมาอ่านต่อ ...
รายงานธปท.เผย การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวมีผลกระทบที่จำกัดต่อเศรษฐกิจ
ธนาคารแห่งประเทศไทยรู้สึกว่าการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวมีผลกระทบที่จำกัดต่อเศรษฐกิจ เมื่อตัดสินใจคงระยะเวลาอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญไว้ที่ระดับต่ำสุดในเดือนที่แล้ว ตามรายงานการประชุมระบุว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยระยะยาวสอดคล้องกับอัตราผลตอบแทนของกระทรวงการคลังสหรัฐในระยะยาว ในช่วงไตรมาสแรกของปี พ.ศ.2564 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปีเพิ่มขึ้น 61.5 จุด ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นรายไตรมาสที่รุนแรงที่สุดในรอบ 12 ปีอ่านต่อ ...
ธปท.พร้อมทดสอบสกุลเงินดิจิทัล
ธนาคารแห่งประเทศไทยกล่าวว่าจะเริ่มทดสอบการใช้สกุลเงินดิจิทัลสำหรับธุรกรรมรายย่อยของภาคธุรกิจและประชาชนในไตรมาสที่สองของปีหน้า ก่อนที่จะนำไปใช้อย่างเต็มรูปแบบในอีกสามถึงห้าปีข้างหน้านางสาววชิรา อารมย์ดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สกุลเงินดิจิทัลสำหรับธุรกรรมรายย่อยของภาคธุรกิจและประชาชน (Retail CBDC) มุ่งเป้าไปที่การเข้าถึงบริการทางการเงินที่สะดวกและปลอดภัยอ่านต่อ ...
ค่าเงินบาทแย่ที่สุดในอาเซียน
ค่าเงินบาทเป็นสกุลเงินที่แย่ที่สุดในบรรดาสกุลเงินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการซื้อขายกันทั่วไปในช่วงไตรมาสแรก เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานถูกปรับลดลง เนื่องจากตัวเลขยอดจ่ายของนักท่องเที่ยวที่ไม่ดีตามข้อมูลของ Refinitiv พบว่าค่าเงินบาทอ่อนค่าลงร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐสู่ระดับ 31.24 การร่วงลงนั้นดูหนักกว่าประเทศเพื่อนบ้านร่วมภูมิภาคที่ลดลงเช่นกัน หลังวันพุธที่ผ่านมา ค่าเงินบาทแตะระดับต่ำสุดในรอบครึ่งปีอ่านต่อ ...
เศรษฐกิจหดตัวในไตรมาสแรกนื่องจากการระบาดของไวรัส
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยเศรษฐกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยวอาจหดตัวในไตรมาสแรกคล้ายคลึงกับสามเดือนก่อนหน้าเมื่อปีที่ผ่านมา เนื่องจากผลกระทบของการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการแพร่ระบาดของโควิด -19 โดยส่วนใหญ่ระบาดหนักในช่วงกลางปี พ.ศ.2563 แต่การระบาดครั้งใหม่ที่เกิดขึ้นในเดือนธันวาคมทำให้กิจกรรมในประเทศชะลอตัวลงอ่านต่อ ...