การเกษตรและการประมง
การทำประมง
ภัยคุกคามทางนิเวศวิทยาของการประมงขนาดเล็กในประเทศไทย
ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์สัตว์ทะเลเปิดเผยถึงการขยายขอบเขตการจับสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ โดยการประมงขนาดเล็กในประเทศไทยเป็นครั้งแรกการศึกษาของมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิลเป็นการประเมินครั้งแรกของการจับสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ประจำปี ซึ่งรวมถึงปลากระเบน ฉลาม เต่าทะเล โลมา และพะยูน ในการประมงขนาดเล็กของไทย การประมงโดยใช้เรือขนาดเล็ก อุปกรณ์เทคโนโลยีต่ำ และบ่อยครั้ง ลากเครื่องมือจับปลาด้วยมือมีการเผยแพร่ในวารสาร Aquatic Conservation: Marine and Freshwater Research ผลการวิจัย เผยว่า การจับปลากระเบน 5.6 ล้านตัวต่อปี ฉลาม 457,000 ตัว เต่าทะเล 2.4 พันตัว สัตว์จำพวกวาฬขนาดเล็ก 790 ตัว และพะยูน 72 ตัวในการประมงขนาดเล็กของไทยอ่านต่อ ...
คณะกรรมการแห่งชาติอนุมัติแผนการจัดการประมงปี พ.ศ.2563-2565
คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติได้อนุมัติแผนการจัดการการประมงปี พ.ศ.2563-2565 ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อให้แน่ใจว่าการพัฒนาของภาคการประมงที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น และแผนปฏิบัติการระดับชาติที่สองเกี่ยวกับ IUU (NPOA-IUU)นอกจากนี้ คณะกรรมการยังรับรองมาตรการต่างๆ ที่จะประกันการดำเนินการ IUU อย่างยุติธรรม โปร่งใส และรวดเร็ว และกรณีที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ โดยสนับสนุนเงินทุนจำนวน 2.82 พันล้าน เพื่อฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ของชาวประมง 188,134 ราย และการขยายเวลาของ ใบอนุญาตทำงานสำหรับแรงงานข้ามชาติในช่วงการระบาดของโควิด-19อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวกรมประชาสัมพันธ์
กนอ. ตั้งกองทุนเยียวยาช่วยเหลือชาวประมง
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้จัดตั้งกองทุนเยียวยา 2 กองทุน เพื่อช่วยเหลือชาวประมงที่เรียกร้องให้ชดเชยผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการถมที่ดินภายใต้โครงการท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุดระยะที่ 3 ของกนอ.อีกทั้งยังได้จัดตั้งคณะกรรมการไตรภาคี ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักวิชาการ และตัวแทนชาวประมง เพื่อตรวจสอบว่าการถมทะเลซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่เป็นไปตามแนวทางลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
การอุดหนุนของไทยอุปสรรคใหญ่ต่ออุตสาหกรรมประมงไทย
ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาหน้าฟีดของฉันต่างเต็มไปด้วยการสนทนา บทวิจารณ์ ชวนดู Seaspiracy สารคดีเรื่องใหม่ของ Netflix ซึ่งฉันมีปัญหาหลายประการเกี่ยวกับสารคดีเรื่องนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความแตกต่างระหว่างการค้ากับการประมงขนาดเล็กการถกเถียงเรื่องแคมเปญพลาสติกทางทะเลและการอ้างสิทธิ์ที่เป็นเท็จหลายอย่างที่เกิดขึ้นตลอดทั้งเรื่อง ฉันรู้สึกว่าบทความและบทวิเคราะห์ที่ยอดเยี่ยมมากมายได้กล่าวถึงข้อกังวลเหล่านี้แล้วและการให้มุมมองที่แตกต่างไปจากบทสนทนาที่กำลังเป็นประเด็นอยู่จะเป็นประโยชน์มากกว่าประเด็นหนึ่งที่สารคดีเรื่องนี้ให้ความสำคัญและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปฏิรูปการประมงเชิงพาณิชย์ทั่วโลกคือประเด็นเรื่องเงินอุดหนุนอ่านต่อ ...
ปิดโรงเรียนผู้อพยพ ผลักดันการใช้แรงงานเด็กในอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทย
Chit Su อยู่ที่บ้านเพื่อทำงานปอกปูกับยาย ตั้งแต่โรงเรียนสำหรับผู้อพยพชาวในพม่าภาคใต้ปิดเมื่อปีที่แล้ว แม้จะเป็นการทำงานแต่รายได้นั้นน้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำรายวัน โดยโรงเรียน 10 แห่งในจังหวัดระนอง ได้ปิดตัวลง ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2562 หลังจากเจ้าหน้าที่ไทยพบว่า ครูชาวพม่าโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานที่เหมาะสม ซึ่งมีคนกล่าวว่า การปิดโรงเรียนดังกล่าวได้ผลักดันให้อดีตนักเรียนจำนวนมากเข้าทำงานในอุตสาหกรรมอาหารทะเลที่ผิดกฎหมายอ่านต่อ ...
กรมประมงกระตุ้นการส่งออกไปยังจีน รับมือภาวะอุปทานปลากะพงล้นตลาด
กรมประมงกำลังหารือกับพันธมิตรต่างชาติถึงความเป็นไปได้ในการส่งออกปลากะพงขาวซึ่งเป็นปลาชนิดหนึ่งที่พบในแม่น้ำและทะเล ไปยังตลาดจีนที่ยังมีความต้องการสูงเพื่อบรรเทาปัญหาอุปทานล้นตลาดในไทยนายวิชาญ อิงศรีสว่าง รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า “จีนสัญญาว่าจะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบกระบวนการผลิตในไทย เพื่อให้ได้คุณภาพและความปลอดภัย” และกล่าวว่า “ในขณะเดียวกันทางจีนจะทำการสำรวจตลาดในจีน เพื่อให้แน่ใจว่าปลากะพงไม่แข่งขันกับผลิตภัณฑ์อื่นที่มีอยู่ในท้องถิ่นได้”อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
สมาคมประมงยื่นจดหมายถึงนายกฯ ชี้ IUU ทำลายการประมงไทย
สมาคมการประมงแห่งชาติได้เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหา IUU (การทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม) ที่เกิดขึ้นมากว่า 6 ปี และบังคับให้ชาวประมงใน 22 จังหวัดต้องขายเรือประมงมากกว่า 2,500 ลำนายกำจร มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมฯ เปิดเผยข้อความในจดหมายปิดผนึกถึงนายกฯ ว่า “ หากปัญหายังคงมีอยู่เราคาดว่าชาวประมงไทยอาจต้องขายเรือที่ไม่เป็นไปตามกฎระเบียบ IUUไปกว่า 5,000 ลำ จากเรือประมงทั้งหมด 12,000 ลำทั่วประเทศ” อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
อาหารทะเลจากแรงงานทาส เหตุใดการละเมิดของชาวประมงยังคงไม่หายไป
แม้จะมีความพยายามของรัฐบาล แต่การตรวจสอบที่หละหลวม ยังคงทำให้เกิดเอารัดเอาเปรียบในอุตสาหกรรมประมงของไทย เช่น การไม่จ่ายค่าจ้าง และเรือประมงที่เปลี่ยนชื่อหรือธงโดยโครงการ Undercover Asia พบว่า นาย Aung Ye Tun วัยเพียง 17 ปี ถูกหลอกและถูกบังคับให้ทำงานภายใต้สภาพที่เหมือนทาสในเรือประมงไทยอ่านต่อ ...
Desmond Ng
กลุ่มประมงอวนลากขู่ชุมนุมหากมีการกำหนดโควต้าการจับปลา
เมื่อวานนี้ กลุ่มเจ้าของเรือลากอวนยืนยันว่าจะมีการชุมนุมใหญ่ในกรุงเทพฯ หากกรมประมงยังคงยืนกรานที่จะกำหนดโควต้าการจับปลาใหม่ เพื่อเอาใจสหภาพยุโรปหลังจากที่เรียกร้องให้ไทยดำเนินมาตรการที่ยั่งยืนในอุตสาหกรรมอาหารทะเล เมื่อปีที่แล้วเมื่อวันอังคาร ทางกรมประมง จัดประชุมครั้งแรกเกี่ยวกับโครงการริเริ่มผลผลิตสูงสุดที่ยั่งยืน (MSY) กับเจ้าของเรืออวนลาก โดยจะ จำกัดปริมาณของอาหารทะเลที่สามารถเก็บเกี่ยวได้เป็นประจำ เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียในระยะยาวอ่านต่อ ...
อภิญญา วิภาตะโยธิน
ชาวประมงหันมาใช้เทคโนโลยีเป็นจุดนับพบขายสินค้า
ไม่เหมือนกับผู้คนนับพันที่ว่างงานและหิวโหยจากวิกฤติ Covid-19 หลายครอบครัวที่พึ่งพาวิธีการจับปลาแบบดั้งเดิม ตามวิถีชีวิตชายฝั่งยังคงสามารถจัดการกับอาหารบนโต๊ะได้เป็นอย่างดีแต่อย่างไรก็ตามการแพร่ระบาดทำให้พวกเขาขาดรายได้ ซึ่งไม่สามารถขายอาหารทะเลได้อีกต่อไป หลังจากตลาดปลาในท้องถิ่นจำเป็นต้องปิดตัวลง แต่ชาวประมงเหล่านี้ยังคงต้องการเงินเพื่อซื้อสิ่งของจำเป็นที่ไม่สามารถจับได้ในทะเล เช่น ข้าวอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์