ข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง

รายงานสังเคราะห์: ชนเผ่าพื้นเมือง 10 กลุ่มชาติพันธุ์ 

ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยต้องอยู่อย่างยากลำบากมานานหลายทศวรรษต่อสู้กับข้อจำกัดต่างๆ อาทิเช่น การเข้าถึงที่ดินทำกินของบรรพบุรุษ และสิทธิในการเข้าถึงบริการสาธารณะจากรัฐ เนื่องจากยังมีชนเผ่าพื้นเมืองอีกหลายคนยังไม่ได้รับสัญชาติไทย จากรายงานสังเคราะห์ปี 25611 ระบุการศึกษากรณีของชนเผ่าพื้นเมือง 10 กลุ่มชาติพันธุ์ประกอบด้วย ชนเผ่ามละบริ ก่อ (อึมปี้) บีซู ชอง ญัฮกุร ไทแสก มอแกน มอแกลน อูรักลาโว้ย และมานิ พบว่าทั้ง 10 ชนเผ่าพื้นเมืองนี้ได้เผชิญกับปัญหาด้านสิทธิความเป็นพลเมือง สิทธิในที่ดินทำกินการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ และสิทธิความเป็นตัวตนที่ได้รับการยอมรับจากสังคม
 
มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม และองค์กรภาคีได้จัดทำการศึกษานี้เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อเสริมสร้างศักยภาพแกนนำชนเผ่าพื้นเมืองด้านการสื่อสาร รณรงค์ และต่อรองเพื่อสร้างกลไกการเคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิภาพ รายงานการศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลองค์ความรู้ชุมชนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มชายขอบและเปราะบางในประเทศไทย สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป (European Union) และคณะทํางานระหว่างประเทศว่าด้วยประเด็นชนเผ่าพื้นเมือง (International Workgroup for Indigenous Affairs) 
 
ภาพข้อมูลด้านล่างนี้จัดทำโดย Open Development Thailand เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์สู่สาธารณะเกี่ยวกับการประเมินความเปราะบางและความเป็นชายขอบของชนเผ่าพื้นเมือง 10 กลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 4 ด้านดังนี้

ด้านประชากร

ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ชนเผ่าพื้นเมือง 10 กลุ่มชาติพันธ์ุกลายเป็นกลุ่มประชากรขนาดเล็กของประชากรในหมู่บ้านจากการพัฒนาท้ังโครงสร้างและบริบทพื้นที่หมู่บ้านตามความหมายของทางราชการ​ ประชากรชนเผ่าพื้นเมืองจึงกลายเป็นคนกลุ่มน้อยของหมู่บ้าน ส่งผลให้จำนวนประชากรชนเผ่าพื้นเมืองมีผลต่อการบริหารอำนาจการตัดสินใจและเข้าถึงการบริการของภาครัฐของหมู่บ้าน 

ด้านเศรษฐกิจ

นโยบายจากภาครัฐและการเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมายส่งผลกระทบอย่างมากต่อวิถีการดำรงชีวิตของชนเผ่าพื้นเมือง โดยเฉพาะส่งผลต่อการอพยพเคลื่อนย้ายถิ่นทำกิน ข้อมูลที่รวบรวมในการศึกษาครั้งนี้แสดงถึงข้อกังวลด้านเศรษฐกิจของชนเผ่าพื้นเมืองทั้ง 10 กลุ่มคือ ความไม่มั่นคงในที่ดินทำกิน ความสามารถในการเข้าถึงและจัดการทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน และรายได้ที่มาจากการเป็นแรงงานรับจ้างตามฤดูกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองชาวประมงในภาคใต้

ด้านสังคม

การศึกษาแสดงให้เห็นถึงข้อกังวลของชนเผ่าพื้นเมืองด้านการสูญเสียเอกลักษณ์ รวมถึงภาษาพูดของชนเผ่าพื้นเมือง และพิธีกรรมและแนวปฏิบัติทางวัฒนธรรมต่าง ๆ ถึงแม้จะมีความพยายามในการอนุรักษ์หรือฟื้นฟูวัฒนธรรมของชนเผ่าพื้นเมือง แต่ปัจจุบันแนวปฏิบัติและพิธีกรรมในระดับครัวเรือนเริ่มลดลง

ด้านการเมือง

ประชากรชนเผ่าพื้นเมืองหลายคนยังไม่ได้รับสัญชาติไทย นั่นก็หมายถึงว่าไม่ได้รับสิทธิบริการและสวัสดิการพื้นฐานด้วย จึงมีการคาดหวังว่าการขับเคลื่อนของสถาบันของชนเผ่าพื้นเมืองจะช่วยให้ผู้นำของชนเผ่าพื้นเมืองในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์มีอำนาจและธำรงอำนาจของความเป็นชนเผ่าพื้นเมืองไว้อย่างมั่นคง มีการตัดสินใจด้วยตนเอง และมีศรัทธาในความเป็นตัวตนชนเผ่าพื้นเมือง

คุณสามารถดาวน์โหลดและอ่านรายงานสังเคราะห์ฉบับเต็มเพิ่มเติมได้

Mlabri children participated in data collection processes.

เด็ก ๆ มละบริมีส่วนร่วมในการเก็บข้อมูลชุมชน  ที่มา: รายงานสังเคราะห์ ความเป็นคนชายขอบของชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มเปราะบาง ในประเทศไทย. ภายใต้ CC BY-SA-4.0

References

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

kfmsF
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!