ข่าว

การส่งออกเดือน เม.ย. มีแนวโน้มโตมากกว่า 10%

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การส่งออกของไทยยังคงมีการเติบโตที่ดีและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% ในเดือนเมษายนนายจุรินทร์เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่าการส่งออกของประเทศผ่านจุดต่ำสุด โดยการส่งออกไปต่างประเทศในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% มูลค่า 1.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (6 แสนล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันเมื่อปีที่แล้วโดยทางกระทรวงมีกำหนดจะประกาศตัวเลขการส่งออกของเดือนเมษายนในวันอังคารหน้าอ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์

โควิดระลอกสามเขย่าเศรษฐกิจไทย

ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศกำลังดิ้นรนกับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด -19 ในขณะที่ประเทศหลายนี้ต่างรอการเริ่มโครงการฉีดวัคซีนจำนวนมาก เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดระบบการเงินของไทยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาระลอกล่าสุด และธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่าเศรษฐกิจของประเทศมีความเสี่ยงมากขึ้นอ่านต่อ ...

เศรษฐกิจไทยหดตัว 2.6% ในไตรมาส 1

เศรษฐกิจไทยหดตัวร้อยละ 2.6 ในไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งดีขึ้นหลังจากหดตัวร้อยละ 4.2 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากได้รับปัจจัยหนุนจากภาคการผลิตภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การฟื้นตัวของการผลิตนอกภาคเกษตร การเร่งลงทุนภายในประเทศ การเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายจากรัฐบาล และการส่งออกสินค้าที่ดีขึ้นอย่างไรก็ตามการระบาดระลอกใหม่ของเชื้อโควิด-19 ในช่วงปลายปี พ.ศ.2563 ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการใช้จ่าย เพื่อการบริโภคภาคเอกชนกระตุ้นให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์ฯ) ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นครั้งที่สอง เป็นร้อยละ 1.5-2.5 จาก 2.5-3.5 ในวันที่ 15 ก.พ. และเทียบกับการเติบโตร้อยละ 3.5-4.5 ในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วอ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์

สภาพัฒน์ฯเผยจีดีพีโตของอยู่กับการฉีดวัคซีน

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) เผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของไทยในไตรมาสแรกของปีนี้หดตัวร้อยละ 2.6 เนื่องจากการระบาดของเชื้อโควิด -19 ระลอกที่ 3 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามมันเป็นการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหลังหดตัวร้อยละ 4.2 ในไตรมาสที่สี่ของปีที่แล้วนายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒน์ฯกล่าวว่า ทางสภาฯได้ปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของจีดีพีของประเทศในปีนี้ลงเหลือร้อยละ 1.5 ถึง 2.5 จากตัวเลขก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.5 ถึง 3.5อ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

นักเศรษฐศาสตร์รอยเตอร์คาดเศรษฐกิจไทยอาจหดตัวในไตรมาสที่ 1

ตามการสำรวจของรอยเตอร์เผยเศรษฐกิจไทยอาจหดตัวอีกครั้งในไตรมาสแรกของปีนี้ เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาส่งผลกระทบต่อการบริโภคและการท่องเที่ยวทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจช้าลงเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งพึ่งพาการท่องเที่ยวอย่างมากตามการประมาณการค่ามัธยฐานของนักเศรษฐศาสตร์ 11 คนในแบบสำรวจเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะหดตัวร้อยละ 3.3 ในไตรมาสแรก เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และหดตัวถึงร้อยละ 4.2 ในไตรมาสสุดท้ายของปี พ.ศ.2564อ่านต่อ ...

ม.หอการค้าเตือน’ ไทยสูญรายได้กว่า 1 แสนล้านบาทต่อเดือน หลังเกิดระบาดระลอกใหม่

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเตือนว่า เศรษฐกิจของไทยอาจสูญเสียเงินถึง 1 แสนล้านบาท (3.2 พันล้านดอลลาร์) ต่อเดือน เนื่องจากประเทศกำลังต่อสู้กับไวรัสโคโรนาระลอกที่สามมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยกล่าวว่า การระบาดระลอกล่าสุดสามารถก่อให้เกิดการปลดแรงงานมากถึง 149,000 คนต่อเดือน โดยส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมบริการและภาคการท่องเที่ยว ซึ่งได้รับความเสียหายจากการระบาดของโควิดผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี ม.หอการค้าไทย กล่าวบรรยายสรุปว่ามหาวิทยาลัยคาดกาณ์การระลอกใหม่จะสามารถควบคุมได้ภายในสองหรือสามเดือนเหมือนการระบาดครั้งก่อน แต่กล่าวว่ามีแนวโน้มที่จะลดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ลงร้อยละ 1.2 เหลือร้อยละ 1.8 อ่านต่อ ...

ภาคเอกชนปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจท่ามกลางกระแสโควิด

คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เมื่อวันพุธที่ผ่านมาได้ปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยลงเหลือร้อยละ 1.5 ถึง 3 จากแรงฉุดของกำลังซื้อและอัตราการจ้างงานที่ลดลงแนวโน้มคาดการณ์ของกกร.ต่ำกว่าช่วงก่อนหน้าในเดือนมีนาคมที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 ถึง 3.5 หลังจากประเมินผลกระทบของการระบาดของโรคโควิด -19 ในปัจจุบันอ่านต่อ ...

ศูนย์วิจัยกสิกรปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี พ.ศ.2564 จากร้อยละ 2.6 เป็นร้อยละ 1.8 ตามการแพร่ระบาดของโควิด -19 ล่าสุดในประเทศศูนย์วิจัยกล่าวว่าการปรับลดดังกล่าวเกิดขึ้นแม้จะมีปัจจัยบวก เช่นการส่งออกที่เพิ่มขึ้น รวมถึงมาตรการแก้ไขของรัฐบาลทั้งในปัจจุบันและอนาคตอ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

ดุสิตโพลเผยคนไทยส่วนใหญ่สนับสนุนแผนประกาศวันหยุดพิเศษของรัฐบาล

ตามการสำรวจของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตหรือสวนดุสิตโพลพบว่าประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับความตั้งใจของรัฐบาลในการจัดทำวันหยุดยาวพิเศษคล้ายวันสงกรานต์ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจที่ตกต่ำของประเทศการสำรวจความคิดเห็นจัดทำขึ้นทางออนไลน์เมื่อวันที่ 6-15 เมษายนในประชาชน 1,447 คนทั่วประเทศ โดยถามว่าพวกเขามองแผนของรัฐบาลอย่างไรส่วนใหญ่เห็นด้วยร้อยละ 62.34  ไม่เห็นด้วย 23.50 และไม่แน่ใจ 14.16อ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์

ธปท.เผยเศรษฐกิจไทยอาจเติบโตน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้หลังการระบาดระลอกใหม่

เจ้าหน้าที่จากธนาคารแห่งประเทศไทยเผยว่าเศรษฐกิจของไทยอาจขยายตัวน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ในปีนี้ หลังจากมีการติดเชื้อไวรัสโคโรนาระลอกที่สามและความกังวลเกี่ยวกับการแพร่กระจายของโรคติดต่อนส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวกับที่ประชุมนักวิเคราะห์ว่าเศรษฐกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยวประสบกับภาวะตกต่ำที่สุดในรอบสองทศวรรษเมื่อปีที่แล้ว หลังลดลงร้อยละ 6.1 จากผลกระทบของการระบาด ต่อภาคการท่องเที่ยวที่เป็นเสาหลักทางเศรษฐกิจความไม่แน่นอนยังคงมีอยู่ โดยมีความเสี่ยงที่การเติบโตในปีนี้อาจน้อยกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 3.0%อ่านต่อ ...

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

tURsw
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!