[ปิดรับสมัครแล้ว] รับสมัครนักวิจัยไทยร่วมทีมภูมิภาคเอเชีย: ขยายเวลารับสมัครถึง 28 ก.พ.นี้
[ขออภัย … ปิดรับสมัครแล้ว!]
รับสมัครนักวิจัยในแต่ละประเทศสำหรับโครงการ Global Data Barometer ภูมิภาคเอเชีย
Open Data for Development Asia Hub (D4DAsia) กำลังเปิดรับสมัครนักวิจัยอิสระ (ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือหน่วยงาน) ของ 14 ประเทศ ดังนี้
อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, กัมพูชา, สปป. ลาว, เมียนมา, ไทย, เวียดนาม, ศรีลังกา, อินเดีย, เนปาล, บังคลาเทศ, ไต้หวัน และ ญี่ปุ่น
นักวิจัยที่ได้รับการคัดเลือกจะทำหน้าที่เป็นนักวิจัยของแต่ละประเทศสำหรับ Global Data Barometer รุ่นแรก (พ.ศ. 2563-2564) D4DAsia เป็นหน่วยงานกลางประสานงานโครงการ Global Data Barometer ภูมิภาคเอเชีย และดูแลรับผิดชอบประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย ซึ่งประกอบด้วย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ กัมพูชา สปป. ลาว เมียนมาร์ ไทย เวียดนาม ศรีลังกา อินเดีย บังกลาเทศ เนปาล ไต้หวันและญี่ปุ่น การรับสมัครนักวิจัยครั้งนี้เปิดกว้างสำหรับทั้งบุคคลและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ตลอดจนภาคประชาสังคมอิสระใน 14 ประเทศที่ระบุไว้ข้างต้น
Global Data Barometer เป็นงานศึกษาข้อมูลใหม่เพื่อสาธารณะประโยชน์ที่พัฒนางานต่อยอดจากโครงการ Open Data Barometer ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ โครงการนำร่องของ Global Data Barometer นี้ได้รับเงินทุนสนับสนุนภายใต้ทุนเพื่อการวิจัย 109517-001 จากศูนย์วิจัยและพัฒนาระหว่างประเทศ (International Development Research Center) ของแคนาดา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Data for Development
นักวิจัยไทยที่สนใจไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือองค์กรควรมีประสบการณ์ในสาขาต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งสาขา เช่น ข้อมูลเปิด ข้อมูลเปิดภาครัฐ ข้อมูลเพื่อสาธารณประโยชน์ การใช้ข้อมูลเพื่อติดตามหรือประเมินการให้บริการสาธารณะ การอบรมหรือการเสริมสร้างขีดความสามารถในการใช้ข้อมูล การใช้ข้อมูลเพื่อสร้างแอปพลิเคชันที่มีคุณค่าทางสังคม หรือส่งเสริมการใช้ข้อมูลระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ชุมชนนักพัฒนาหรือการทำข่าวเชิงลึก
นักวิจัยที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องรับผิดชอบกรอกแบบประเมินความคิดเห็นโดยผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียด ซึ่งครอบคลุมด้านนโยบาย แนวปฏิบัติ ชุดข้อมูล และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล ความสามารถ ความพร้อมใช้งาน และการใช้ข้อมูลในประเทศของตน คำตอบในแบบประเมินจะได้รับการตรวจทานโดยคณะนักวิจัย (Peer Review) โดยนักวิจัยต้องตอบกลับต่อข้อเสนอแนะของผู้ตรวจสอบ และปรับปรุงคำตอบให้เหมาะสม ผู้สมัครเป็นนักวิจัยควรเป็นที่รู้จักและมีความน่าเชื่อถือในประเทศของตน สามารถทำงานอิสระได้ และไม่มีความเกี่ยวข้องทางการเมืองหรือหน่วยงานของรัฐแต่อย่างใด
ข้อกำหนดเพิ่มเติม
นักวิจัยไทยต้อง:
- มีทักษะการเขียนและความเข้าใจภาษาอังกฤษเป็นอย่างสูง
- มีความคล่องแคล่วในการสื่อสารภาษาหลักที่เป็นภาษาราชการของประเทศที่ทำงานวิจัยอย่างน้อยหนึ่งภาษา
- มีความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับประเทศที่ทำงานวิจัย รวมถึงความรู้ด้านงานพัฒนานโยบายปัจจุบัน
- มีความรู้และความเข้าใจที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการปกป้องข้อมูล นโยบายข้อมูล ข้อมูลเปิด และการแบ่งปันข้อมูล และ
- มีรายชื่อผู้ติดต่อและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าถึงข้อมูลได้
นักวิจัยไทยจะต้องไม่:
- เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างหรือผู้รับจ้างที่มีรายได้จากรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่ หรือ
- มีผลประโยชน์ทับซ้อนที่จะส่งผลต่อความสามารถในการประเมินผลอย่างเป็นกลาง
หน้าที่ความรับผิดชอบ ได้แก่:
- ศึกษาคู่มือการวิจัย
- เข้าร่วมในการอบรมนักวิจัยแบบออนไลน์
- ดำเนินการวิจัยเอกสาร (Desk Research) เป็นหลัก เพื่อค้นคว้าหลักฐานข้อมูลอ้างอิงเพื่อตอบคำถามแต่ละข้อ
- ศึกษาคำแนะนำจากคู่มือการวิจัย เพื่อประเมินหลักฐานข้อมูลและให้คะแนนตามมาตรประมาณค่าหรือตอบคำถามปลายปิด ใช่/ไม่ใช่
- อธิบายความคิดเห็นและเหตุผลของการประเมิน เอกสารที่ใช้อ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษอย่างชัดเจน
- ส่งแบบประเมินที่เสร็จสมบูรณ์ภายใน 6 สัปดาห์หลังจากได้เริ่มงาน และ
- ตอบกลับความคิดเห็นของผู้ตรวจสอบได้อย่างทันที
ขั้นตอนการปฏิบัติงานนี้จะเกี่ยวข้องกับการวิจัยเอกสาร (Desk Research) และอาจจะมีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant Interviews) ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาในการปฏิบัติงานทั้งสิ้นไม่เกิน 20 วัน (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เฉพาะของประเทศและประสบการณ์ของนักวิจัย) ภายในระยะเวลา 1.5 เดือน โดยกำหนดระยะเวลาโครงการนี้ระหว่างเดือนมีนาคม – มิถุนายน 2564 นักวิจัยอาจได้รับเชิญให้เข้าร่วมในกิจกรรมประชาสัมพันธ์ระดับภูมิภาคซึ่งจะเกิดขึ้นหลังเดือนมิถุนายน 2564 โดยนักวิจัยสามารถเลือกได้ว่าจะเข้าร่วมกิจกรรมนี้ หรือจะนำเสนอบทสรุปงานวิจัยของประเทศสำหรับเป็นส่วนหนึ่งของรายงานระดับภูมิภาค หรือมีส่วนร่วมในการสัมมนาผ่านเว็บเพื่อเผยแพร่ข้อมูลในระดับภูมิภาค
ผู้สมัครจะต้องส่งจดหมายปะหน้าระบุรายละเอียดด้านล่างนี้ พร้อมส่งประวัติย่อ (CV) มาทางอีเมลrecruitment@opendevmekong.net ขยายวันรับสมัครถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 การสัมภาษณ์ผู้สมัครนักวิจัยจะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1-8 มีนาคม 2564 เฉพาะผู้สมัครที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกจึงจะได้รับการติดต่อแจ้งให้ทราบ
+++++++++++++++
General details:
- Name:
- Contact details:
- Where are you currently based:
[ ] I am interested in being a country researcher for the following country:
[ ] I confirm I am neither employed nor primarily funded by the government of this country, and I have no conflicts of interest that would prevent me from being an independent researcher.
- Please briefly describe your connection to, or knowledge of, data issues in this country:
For example: Do you live in this country? Are you fluent in key national languages? How are you connected to this country’s data policy issues?
- Please rate your knowledge in relation to the following topics:
No knowledge ←—–——-→ Expert | |
|
- Please briefly describe your relevant qualifications, for example, you might list your highest degree or training and/or prior research experience.
- If applying as an organisation, share in brief how this assignment might be connected to the organisation’s strategy and ongoing activities.
- Honorarium
Our current budget will allow us to offer an honorarium of approximately US$1500 for the 10-20 days of effort researchers will undertake.
- We recognise that:
- Some people/Organizations will be able to undertake research as part of their existing work, and will not need or be able to claim this honorarium.
- Some people/Organizations may not be able to act as researchers without a top-up to this honorarium because of their financial situation.
- If selected as a researcher:
[ ] I/We do not intend to claim the $1500 honorarium
[ ] I /We intend to claim the $1500 honorarium
+++++++++