ที่ดิน

ผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ

นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนทั้ง 10  แห่งของประเทศไทยโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เกิดขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของพื้นที่ชายแดนด้อยพัฒนา และเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่อาศัยในบริเวณนั้น แต่ทว่า กระบวนการได้มาและจัดการที่ดินทั้งพื้นที่ป่าและพื้นที่สาธารณะเพื่อใช้ประโยชน์เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนสร้างก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับรัฐบาล ซึ่งกลไกการตัดสินใจโดยมากเกิดขึ้นจากภาครัฐ ขาดการมีส่วนร่วมของคนท้องถิ่น ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในพื้นที่ นำไปสู่ข้อร้องเรียนต่างๆ และทำให้เกิดความล่าช้าในการพัฒนา ป้ายคัดค้านการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบนรั้วที่ดินในอำเภอแม่สอด ที่มา: Heinrich Boll-Stiftung South East Asia การอนุญาต: CC BY-NC-SA 2.0นโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทรัพยากรที่ดินสาธารณะที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมและที่อยู่อาศัยที่ไม่ได้มีการรับรองโดยภาครัฐ มีการใช้มาตรการกระตุ้นดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาพัฒนาพื้นที่ โดยกำหนดให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ราชพัสดุ โดยมีกรมธนารักษ์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและดำเนินการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินเพื่อการใช้ประโยชน์ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และมีการจัดสรรพื้นที่ให้หน่วยงานราชการ หรือการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือนักลงทุนใช้ประโยชน์1ทั้งนี้ จากนั้นหน่วยงานภาครัฐจะจัดสรรที่ดินให้กับนักลงทุน สร้างแรงจูงใจด้วยการทำข้อตกลงเฉพาะการเจรจาด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจในพื้นที่และผลประโยชน์สาธารณะที่คาดว่าจะเกิดขึ้น อย่างไรก็ดี จากประสบการณ์ที่ผ่านมา​พบว่า การเจรจาระหว่างภาครัฐและชาวบ้านในพื้นที่มักจะล้มเหลว ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งที่จำกัดความยั่งยืนทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของพื้นที่เหล่านี้ผลที่ตามมาคือ โครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนี้มีความเสี่ยงที่จะล่าช้าออกไปและประโยชน์ที่คาดไว้จะถูกถ่ายโอนไปยังภูมิภาคอื่น และเป็นที่ทราบกันดีว่าโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทยได้ส่งผลผลักดันราคาที่ดินในภูมิภาคให้สูงขึ้นตามการเก็งกำไร ด้วยเหตุนี้ ความล้มเหลวในการเจรจาจะตัดโอกาสให้คนในพื้นที่เป็นเจ้าของโครงการผลกระทบทางสังคม การดำเนินงานของโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษส่งผลกระทบทางสังคมมากมาย เช่น ...

กฎหมายและนโยบายสำหรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

ประเทศไทยกำลังดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนทั้ง 10 จังหวัดทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม ร่าง พรบ. เขตเศรษฐกิจพิเศษ กฎหมายเฉพาะที่เป็นกฎหมายแม่บทกำกับดูแลในเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษยังอยู่ในกระบวนการทางนิติบัญญัติ ซึ่งใช้ระยะเวลานาน เพื่อเข้าใจผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งแง่บวกและแง่ลบจากการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ การศึกษาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวทางของอาเซียน จึงมีความสำคัญยิ่ง1การติดตามบทบาทการทำงานของสถาบันรัฐที่กํากับดูแลการทํางาน และมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของภาครัฐ อาทิเช่น สำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI) และมาตรการที่อยู่นอกเหนือจาก BOI จึงมีความสำคัญยิ่งเพื่อให้การดำเนินงานเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ภาคประชาสังคมมีบทบาทสำคัญดังกล่าวเพื่อลดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินมาตรการกระตุ้นการลงทุนของภาครัฐที่มีต่อประชาชนในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายเกี่ยวกับการถือครองและจัดการที่ดิน มาตรการจัดการแรงงาน มาตรการด้านสาธารณสุข เป็นต้นนโยบายการถือครองและจัดการที่ดินที่เกี่ยวข้องกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ประกาศนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อสร้างฐานการผลิตเชื่อมโยงกับอาเซียนและพัฒนาเมืองชายแดน และอาศัยมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว ได้มีคำสั่งอย่างต่อเนื่องเพื่อเอื้อต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างรวดเร็ว2 เช่น คำสั่ง คสช. ที่ 72/2557 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) 27 มิถุนายน ...

เขตเศรษฐกิจพิเศษ
Sa Kaeo is an example, where an SEZ is being developed on the Thai-Cambodia border

เขตเศรษฐกิจพิเศษประเทศไทย คือ บริเวณพื้นที่ที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) กำหนดให้เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งรัฐจะสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน สิทธิประโยชน์การลงทุน การบริหารแรงงานต่างด้าวแบบไป-กลับ การให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จและการบริการอื่นที่จำเป็น1ตัวอย่างเขตเศรษฐกิจพิเศษ สระแก้ว กำลังดำเนินการพัฒนาบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ส่วนหนึ่งของระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง​​ เน้นการขนส่งสินค้าจากไทยไปยังเวียดนามใต้ ​อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ เกษตรกรรม เฟอร์นิเจอร์ อัญมณี อิเล็กทรอนิกส์ พลาสติก ยา การท่องเที่ยว เป็นต้น ​ที่มา: สำนักงานต่างประเทศ รัฐบาลไทย ​การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณชายแดนของประเทศไทย เริ่มจากการผลักดันของธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ภายใต้กลยุทธ์ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากโครงการระเบียงเศรษฐกิจ ในปี พ.ศ. 2541 โดยกำหนดการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนใส่ในแผนปฏิบัติการเพื่อการเปลี่ยนระเบียงการขนส่ง (Transport Corridors) ให้เป็นระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridors)231 มี.ค. 2556 มติคณะรัฐมนตรีมอบหมายสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ...

ที่ดิน

ประเทศไทยมีความร่ำรวยที่สุดในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ประเทศไทยยังมีนโยบายและแนวปฏิบัติด้านที่ดินที่ยาวนานรวมทั้งแนวปฏิบัติการครอบครองที่ดินของเอกชนโดยปราศจากการถูกแทรกแซง ประมวลกฎหมายที่ดินออกในปี พ.ศ. 2497 และได้แก้ไขเพิ่มเติมเมื่อเร็ว ๆ นี้ในปี พ.ศ. 25511 กรอบทางกฎหมายนี้ยังคงมีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่องโดยการสืบทอดผ่านระบอบการเมืองที่ต่างกันไปในขณะที่สถานะของที่ดินมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2504 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้ร้อยละ 53 ของพื้นที่ทั้งประเทศ และในปี พ.ศ. 2549 พื้นที่ป่าไม้ลดลงเหลือร้อยละ 25 พื้นที่การเกษตรขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยผ่านการตัดไม้ทำลายป่าแล้วลดลงจากการแปลงเป็นพื้นที่เมืองหรือการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์2 ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาพื้นที่การเกษตรได้ฟื้นตัวขึ้นและขณะนี้ร้อยละ 43 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศถูกนำมาใช้เพื่อการเพาะปลูก 3 จากข้อมูลล่าสุดในปี พ.ศ. 2560 พื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 32 ของพื้นที่ทั้งหมด4 การเพิ่มจำนวนประชากร การเปิดเสรีของตลาดที่ดินและการเติบโตของธุรกิจการเกษตรเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการเป็นเจ้าของที่ดิน มีจำนวนเกษตรกรที่ไม่มีที่อยู่อาศัยหรือชาวนาที่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ5 อย่างไรก็ดี เกษตรกรรายย่อยปัจจุบันยังคงไม่ได้รับความเท่าเทียมในการถือครองที่ดิน6 ​แหล่งที่มาของข้อมูล: องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและการกำกับดูแลทรัพยากรของประเทศไทย *สำนักงานสถิติแห่งชาติ สร้างโดย ODI เมื่อเดือนพฤษภาคม ...

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

JGW8j
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!