เศรษฐกิจและการพานิชย์

ประเทศไทยกลับสู่รากเหง้าเมื่อยอดการส่งออกอาหารพุ่ง

ประเทศไทยได้กลับสู่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ ในฐานะผู้ผลิตอาหารด้วยอุปสงค์จากต่างประเทศสำหรับข้าว อาหารทะเลผลไม้ และอาหารอื่น ๆ ที่ช่วยหนุนภาคการส่งออก ขณะที่การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ได้สร้างรูโหว่ต่อภาคการผลิต และขนส่งสินค้าอุตสาหกรรมนางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า สัดส่วนของการส่งออกด้านอาหาร และการเกษตรต่อการส่งออกทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 19.7 ในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบแปดปีที่ผ่านมา ขณะที่การส่งออกทั้งหมดลดลงร้อยละ 3.3อ่านต่อ ...

คลังฯเตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ทางกระทรวงมีแผนที่จะเปิดตัวมาตรการทั้งแบบทางการเงิน และไม่ใช่ทางการเงิน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ หากสถานการณ์การระบาดใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมซึ่งมาตรการดังกล่าวจะให้ความสำคัญถึงการสร้างงานให้กับเศรษฐกิจรากหญ้าโดยมาตรการได้ประกาศให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME D) และบรรษัทประกันสินเชื่อไทย (TCG) ดูแลผู้ประกอบการรายย่อย และผู้กู้นอกระบบอ่านต่อ ...

วิชิต จันทนุสรณ์ศิริ

ธปท.กังวลว่าค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นพร้อมให้คำมั่นออก 'มาตรการเพิ่มเติม'

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีความกังวลเกี่ยวกับการแข็งค่าของเงินบาทอย่างรวดเร็วในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา และสัญญาว่าจะกำหนดมาตรการเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขการไหลเข้าของเงินทุนระยะสั้น เช่นเดียวกับค่าเงินที่ปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้งในวันนี้ (1 มิถุนายน)นายเมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) กล่าวในวันนี้ว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างรวดเร็วกว่าปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสถานการณ์โควิด -19 ในประเทศไทยดีกว่าประเทศอื่นและตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาสแรกดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์อ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

ประเทศไทยผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อเยียวยาผลกระทบของโควิด-19

เมื่อวันอาทิตย์ (31 พฤษภาคม)รัฐสภาได้อนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่าเกือบ 60,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นการอัดฉีดเงินครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ถูกไวรัสโคโรนาเล่นงานโดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.9 ล้านล้านบาท (US $ 5.97 หมื่นล้าน) จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะหดตัวร้อยละ 6 ถึง 7 ในปี พ.ศ.2563อ่านต่อ ...

รัฐบาลจะพิจารณาเข้าร่วมสนธิสัญญาการค้าในเอเชีย-แปซิฟิกในอีกหนึ่งเดือนข้างหน้า

คณะรัฐมนตรีได้ตกลงที่จะจัดตั้งคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาว่าประเทศไทยควรเข้าร่วมเป็นสมาชิกในข้อตกลงการค้าในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกหรือไม่หลังจากที่มีการคัดค้านอย่างกว้างขวางในเดือนที่ผ่านมาดร.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเกี่ยวกับการเป็นสมาชิกของข้อตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก (CPTPP)อ่านต่อ ...

ไทยเตรียมผลักดันการท่องเที่ยวภายในประเทศ เนื่องจำนวนต่างชาติลดวูดจากโควิด

เมื่อวันจันทร์ (25 พ.ค.) สภาพัฒน์ฯเปิดเผยว่า ประเทศไทยวางแผนที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศในไตรมาสที่สาม เพื่อช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจที่กำลังดิ้นรนเนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนาได้ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวทั่วโลก และการบริโภคภายในประเทศเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยการส่งออกและการท่องเที่ยวอาจหดตัวร้อยละ 5 ถึง 6 ในปีนี้ ซึ่งเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียในปี พ.ศ.2540-41อ่านต่อ ...

แนวโน้มอีคอมเมิร์ซที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโรคระบาด

จากการศึกษาในปี พ.ศ.2562 โดย Facebook และ Bain & Company บริษัทให้คำปรึกษาด้านการจัดการระดับโลกเปิดเผยว่าผู้บริโภคดิจิทัลในอาเซียนจะใช้จ่ายสามเท่าในปี พ.ศ.2568การศึกษาร่วมกันพบว่าในขณะที่ผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้จ่ายโดยเฉลี่ย 125 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับการซื้อออนไลน์ในปี พ.ศ.2561 คาดว่ายอดรวมจะเพิ่มขึ้นสามเท่าเป็น 390 ดอลลาร์สหรัฐในปี พ.ศ.2568อ่านต่อ ...

หนี้ภาคครัวเรือนมีความเสี่ยงสูง

ประธานกรรมการบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) คาดการณ์ว่าหนี้เสียในครัวเรือนของประเทศจะสูงถึง 1 ล้านล้านบาทในปีนี้ ซึ่งจะทำให้อัตราส่วนสินเชื่อรวมพุ่งทะยานแตะเลขสองหลัก เนื่องจากความสามารถในการชำระหนี้ถูกบั่นทอนจากรายได้ที่ลดลงจากการระบาดของไวรัสโคโรนานายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่เครดิตบูโร กล่าวว่า สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ปรับตัวสูงขึ้นในไตรมาสที่สองสอดคล้องกับการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบจากการหดตัวที่รุนแรงที่สุดในช่วงที่การระบาดยังคงดำเนินต่อไป และการคงมาตรการล็อคดาวน์บางส่วนอ่านต่อ ...

สมฤดี บ้านช้องด้วง

การค้าออนไลน์จะมีมูลค่าสูงถึง 2.2 แสนล้านบาท ในปี พ.ศ.2563

Priceza เว็บไซต์เปรียบเทียบราคาสินค้าออนไลน์ รายงานว่า อีคอมเมิร์ซของประเทศไทย ซึ่งไม่รวมระหว่างธุรกิจกับธุรกิจคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 35% เป็น 2.2 แสนล้านบาทในปี พ.ศ.2563 โดยได้รับแรงหนุนจากการระบาดของไวรัสโคโรนาในขณะเดียวกันการแข่งขันระหว่าง Social commerce และ e-marketplaces คาดว่าจะรุนแรงขึ้นนายธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด และนายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย เปิดเผยว่า “ในโลกหลังยุคโควิด -19 ช่องทางออนไลน์ และอีคอมเมิร์ซไม่ได้เป็นทางเลือกอีกต่อไป แต่เป็นหนทางแห่งการเอาชีวิตรอด” อ่านต่อ ...

สุจิตร ลีสงวนสุข

สองสิ่งที่โควิด-19 กระทบเศรษฐกิจไทย

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานว่า เศรษฐกิจไทยหดตัวร้อยละ 1.8 ในไตรมาสแรกจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว หรือหดตัวร้อยละ 2.2 จากไตรมาสก่อนหน้าภาวะถดถอยครั้งนี้ได้แรงหนุนจากการระบาดของ Covid-19 ซึ่งทำให้การเดินทางและกิจกรรมสาธารณะทั้งหมดหยุดชะงัก แม้ว่าการล็อคดาวน์จะช่วยชะลอการแพร่ระบาดให้ช้าลง แต่ยังทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายอย่างต้องหยุดอย่างสมบูรณ์ ต้องปิดโดยไม่มีรายได้หรืองานอ่านต่อ ...

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

PL8EC
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!