เศรษฐกิจและการพานิชย์
สภาพัฒน์เผยวิกฤต Covid-19 อาจทำ หนี้ครัวเรือนพุ่งทะยานเกิน 80% ของ GDP
สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เตือนว่า วิกฤตโควิด-19 จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อหนี้ครัวเรือน และคาดการณ์ว่าตัวเลขจะพุ่งสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 80 ของจีดีพี หนี้ครัวเรือนของไทยอยู่ที่ 79.8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ในไตรมาสแรกของปีนี้อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
JSCCIB หนุนรัฐบาลเข้าร่วมเจรจา “CPTPP”
คณะกรรมาธิการร่วมด้านการพาณิชย์ อุตสาหกรรม และการธนาคาร (JSCCIB) สนับสนุนความเคลื่อนไหวที่ให้ประเทศไทยเป็นสมาชิกของข้อตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับความร่วมมือข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก (CPTPP) เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศในช่วงหลังการระบาดใหญ่โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI) ได้เปิดเผยถึงจุดยืนของคณะกรรมาธิการฯ หลังจากศึกษาข้อตกลงร่วมกันเป็นระยะเวลา 1 เดือนกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยอ่านต่อ ...
ลมลเพ็ชร อภิสิทธิ์นิรันดร์
การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคในภาวะ new normal ช่วยกระตุ้นยอดขายออนไลน์
วันพุธที่ 10 มิถุนายน เว็บไซต์ Priceza.com เปิดเผยว่า มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยในปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 35% หรือ 220,000 ล้านบาท รับ “new normal” ที่เกิดจากมาตรการล็อคดาวน์ของรัฐบาล ท่ามกลางวิกฤตโควิด -19 Priceza.com เป็นเว็บไซต์เปรียบเทียบราคาชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และปัจจุบันดำเนินงานในประเทศไทยและอินโดนีเซียอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
การระบาดของโควิด-19 ได้ปิดประตูการค้าชายแดน ไทย - พม่าที่ผิดกฎหมายมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์
การป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ถือเป็นปิดประตูการค้าที่ผิดกฎหมายหลายสิบแห่งตามแนวชายแดนประเทศไทย ทำให้เกิดการขาดแคลนทุกอย่างนับตั้งแต่เบียร์ และเครื่องดื่มชูกำลังไปจนถึงผงซักฟอกและเครื่องสำอางนับเป็นเวลาหลายทศวรรษที่สินค้ามูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ที่ทำการซื้อ-ขายระหว่างชายแดนไทย – พม่า โดยผ่านช่องทางที่ผิดกฎหมายหลายสิบแห่งในเมืองเมียวดี รัฐกะเหรี่ยงซึ่งดำเนินการโดยกลุ่มติดอาวุธอ่านต่อ ...
ภาคเอกชน ต้องการความชัดเจนของ CPTPP
ภาคเอกชนร้องให้รัฐบาลดำเนินการอย่างรวดเร็ว และชัดเจนเกี่ยวกับความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP)โดยบริษัทต่าง ๆ อ้างถึงนักลงทุนต่างชาติที่พร้อมลงทุนและมีความสนใจในประเทศไทยต่อไป และภาคเอกชนกำลังรอการตัดสินใจของรัฐบาลเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในสนธิสัญญานี้ เพื่อพิจารณาการดำเนินการในอนาคตอ่านต่อ ...
ผุสดี อรุณมาศ
EIC คาดการณ์เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวแบบตัวยู
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวเป็นแบบ U-Shape และกลับสู่ระดับการเติบโตในช่วงก่อนเกิดการระบาดใหญ่ในอีก 2 ปีนายยรรยง ไทยเจริญ ผู้บริหารสูงสุด EIC กล่าวว่า การเติบโตของจีดีพีจะอยู่ในระดับเดียวกับช่วงก่อนการระบาดใหญ่ ภายในปี พ.ศ.2565อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
กสิกรเผยเงินบาทแข็งค่าขึ้นในสัปดาห์หน้า แต่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงเป็นปัจจัยสำคัญ
ธนาคารกสิกรไทยเปิดเผยว่าค่าเงินบาทที่ทำซื้อขายในสัปดาห์หน้า (วันที่ 8-12 มิถุนายน) จะอยู่ในระดับ 31.30-31.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามคือการประชุมเฟด และแผนการซื้อขายและการคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐโดยตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ดัชนีราคาผู้บริโภค/ผู้ผลิต ดัชนีส่งออก/นำเข้า และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะประกาศในสัปดาห์หน้าอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
สภาธุรกิจตลาดทุนเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนพุ่ง
สภาธุรกิจตลาดทุน กล่าวว่า ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาดการเงินของประเทศไทยในช่วง 3 เดือนข้างหน้าจะพุ่งทะยานแตะระดับสูงสุดของปีนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากการผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้สภาธุรกิจตลาดทุนไทยเปิดเผยว่า จากการสำรวจในเดือนพฤษภาคมพบว่าดัชนีความเชื่อมั่นของนักลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 96.93 จากระดับ 80.4 ในเดือนเมษายน และทำสถิติต่ำสุดที่ 56.7 ในเดือนมีนาคมอ่านต่อ ...
ประเทศไทยกลับสู่รากเหง้าเมื่อยอดการส่งออกอาหารพุ่ง
ประเทศไทยได้กลับสู่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ ในฐานะผู้ผลิตอาหารด้วยอุปสงค์จากต่างประเทศสำหรับข้าว อาหารทะเลผลไม้ และอาหารอื่น ๆ ที่ช่วยหนุนภาคการส่งออก ขณะที่การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ได้สร้างรูโหว่ต่อภาคการผลิต และขนส่งสินค้าอุตสาหกรรมนางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า สัดส่วนของการส่งออกด้านอาหาร และการเกษตรต่อการส่งออกทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 19.7 ในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบแปดปีที่ผ่านมา ขณะที่การส่งออกทั้งหมดลดลงร้อยละ 3.3อ่านต่อ ...
คลังฯเตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ทางกระทรวงมีแผนที่จะเปิดตัวมาตรการทั้งแบบทางการเงิน และไม่ใช่ทางการเงิน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ หากสถานการณ์การระบาดใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมซึ่งมาตรการดังกล่าวจะให้ความสำคัญถึงการสร้างงานให้กับเศรษฐกิจรากหญ้าโดยมาตรการได้ประกาศให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME D) และบรรษัทประกันสินเชื่อไทย (TCG) ดูแลผู้ประกอบการรายย่อย และผู้กู้นอกระบบอ่านต่อ ...
วิชิต จันทนุสรณ์ศิริ