เศรษฐกิจและการพานิชย์

สภาพัฒน์ฯเผยจีดีพีโตของอยู่กับการฉีดวัคซีน

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) เผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของไทยในไตรมาสแรกของปีนี้หดตัวร้อยละ 2.6 เนื่องจากการระบาดของเชื้อโควิด -19 ระลอกที่ 3 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามมันเป็นการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหลังหดตัวร้อยละ 4.2 ในไตรมาสที่สี่ของปีที่แล้วนายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒน์ฯกล่าวว่า ทางสภาฯได้ปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของจีดีพีของประเทศในปีนี้ลงเหลือร้อยละ 1.5 ถึง 2.5 จากตัวเลขก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.5 ถึง 3.5อ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

แบงก์ชาติเผยแบงก์ไทยแข็งแกร่ง พร้อมรับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่าระบบธนาคารของไทยยังคงมีความยืดหยุ่น โดยมีทั้งเงินทุนและสภาพคล่องสูง เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ เนื่องจากประเทศไทยกำลังประสบวิกฤตโควิด-19 ระบาดระลอกที่ 3การระบาดครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศในขณะนี้ส่งผลกระทบต่อการบริโภค และการท่องเที่ยวทำให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์ฯ) ตัดสินใจปรับลดแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจลงอ่านต่อ ...

นักเศรษฐศาสตร์รอยเตอร์คาดเศรษฐกิจไทยอาจหดตัวในไตรมาสที่ 1

ตามการสำรวจของรอยเตอร์เผยเศรษฐกิจไทยอาจหดตัวอีกครั้งในไตรมาสแรกของปีนี้ เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาส่งผลกระทบต่อการบริโภคและการท่องเที่ยวทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจช้าลงเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งพึ่งพาการท่องเที่ยวอย่างมากตามการประมาณการค่ามัธยฐานของนักเศรษฐศาสตร์ 11 คนในแบบสำรวจเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะหดตัวร้อยละ 3.3 ในไตรมาสแรก เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และหดตัวถึงร้อยละ 4.2 ในไตรมาสสุดท้ายของปี พ.ศ.2564อ่านต่อ ...

เอสเอ็มอีขาดสภาพคล่องถึง 80% 1 แสนรายอาจปิดตัวลงหากวิกฤตโควิดยังคงอยู่

นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เตือนผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ราวร้อยละ 70 ถึง 80 กำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องนับตั้งแต่โควิด -19 ระลอกที่ 3 ได้ระบาดในประเทศไทยในช่วงปลายเดือนมีนาคม และอาจต้องปิดกิจการมากถึง 100,000 ราย พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนโดยนายแสงชัยเผย “ สมาพันธ์ประเมินว่าธุรกิจขนาดเล็กประมาณ 2.7 ล้านราย และวิสาหกิจขนาดกลาง 400,000 ราย ต่างกำลังประสบปัญหาในการทำให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้”อ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

โชคร้ายจากโควิดระลอกที่ 3 ในไทย

การระบาดใหญ่ระลอกที่สามทำให้ธุรกิจต่างเสียขวัญ หลังก่อนหน้านี้เชื่อว่าจะสามารถฟื้นตัวได้ในปีนี้ หลังจากที่โควิด-19 กระทบต่อรายได้ในปี พ.ศ.2563 อย่างหนักจากความซับซ้อนของโควิด -19 สายพันธุ์อังกฤษที่แพร่ระบาดมากขึ้น โดยการระบาดระลอกที่สามนี้มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 1,000 คนต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน โดยมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นเลขสองหลักต่อวัน ขณะที่หน่วยวิจัยของธนาคารหลายแห่งได้ปรับลดแนวโน้มจีดีพี ปี พ.ศ.2564อ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์

วีซ่าเผยผลศึกษาพบผู้บริโภคชาวไทยเกือบครึ่งหลีกเลี่ยงการใช้เงินสด แม้โควิดสิ้นสุดลง

การศึกษาทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภค โดย Visa พบว่าเกือบครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคชาวไทยทั้งหมด (ร้อยละ 45) มีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงการใช้เงินสดหลังจากการระบาดของโรคโควิด -19 สิ้นสุดลงการศึกษายังเจาะลึกถึงกิจกรรมที่ผู้บริโภคชาวไทยรอคอยที่จะใช้จ่ายในช่วงที่กำลังฟื้นตัวกิจกรรมสามอันดับแรก ได้แก่ การเดินทางภายในประเทศไทย (ร้อยละ 35) การเดินทางไปต่างประเทศไปยังจุดหมายปลายทางที่ปลอดภัยจากโควิด (ร้อยละ 29) และการเดินทางท่องเที่ยวเล็ก ๆ น้อย ๆ ในเมืองของตนเอง (ร้อยละ 19)อ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

การสัมมนาออนไลน์มีเป้าหมาย เพื่อนำสินค้า SME ไปวางจำหน่ายบนชั้นวางของผู้ค้าปลีกรายใหญ่มากขึ้น [วิดีโอ]

มีการเปิดตัวแคมเปญใหม่เพื่อช่วย SMEs ฝ่าวิกฤตโควิด-19 โดยมีการจัดสัมมนาออนไลน์เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการเกี่ยวกับตลาดโมเดิร์นเทรด โดยกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ SMEs ขายสินค้าในห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ตได้มากขึ้น ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ลูกค้าได้มากขึ้นดูต่อ ...

ครม.อนุมัติ 'กนศ.' ยืดเวลาศึกษา 'CPTPP' ออกไปอีก 50 วัน [วิดีโอ]

ตามกระแสแฮชแท็ก #NOCPTPP เป็นการต่อต้านโดยตรงต่อการที่ประเทศไทยเข้าร่วมในความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP)กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงว่า ครม. เห็นชอบขยายเวลาศึกษาข้อมูลและผลกระทบเพื่อตัดสินใจว่าเราจะเข้าไปเจรจาเป็นสมาชิก CPTPP หรือไม่ ออกไปอีก 50 วันดูต่อ ...

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจปี’40

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของประเทศไทยลดลงสู่ 46 จุดในเดือนเมษายนจาก 48.5 จุดในเดือนมีนาคม ม.หอการค้าไทย ซึ่งรวบรวมรายงานประจำเดือน เปิดเผยว่า ดัชนีดังกล่าวต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2541 เนื่องจากผลกระทบของการระบาดของโรคโควิด-19 ล่าสุดนายธนวรรธน์ พลวิชัย  ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า “ผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปราะบางหลังจากการระบาดระลอกที่ 3 ซึ่งทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันพุ่งแตะ 4 หลักต่อเนื่องกัน อีกทั้งยอดผู้เสียชีวิตในแต่ละวันยังพุ่งแตะสองหลัก”อ่านต่อ ...

ธปท. ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง

ธนาคารแห่งประเทศตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยสำคัญไว้ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.50% ตามที่คาดกาณ์ไว้โดยยังคงรักษากระสุนไว้ได้อย่างจำกัด เนื่องจากเศรษฐกิจต้องดิ้นรนหลังต้องเผชิญกับการระบาดระลอกสาม การระบาดครั้งล่าสุดทำให้กิจกรรมในประเทศชะลอตัว เศรษฐกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยวในช่วงเวลาที่เตรียมเปิดรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง แต่การส่งออกที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญอีกประการหนึ่งเป็นตัวสนับสนุนในบางส่วนในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร 1 วัน (RP 1 วัน) นับเป็นครั้งที่แปดติดต่อกันอ่านต่อ ...

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

xyVMZ
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!