เศรษฐกิจและการพานิชย์
ตลาดส่งออกของไทยฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งเนื่องจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างช้าๆ
มูลค่าการส่งออกของไทยในเดือนเมษายนแตะมากกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นเวลา 3 เดือนติดต่อกัน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.09 ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 36 เดือนในขณะเดียวกันการนำเข้าของไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.79 มาอยู่ที่ 2.125 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยเฉพาะการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งดีดตัวขึ้นด้วยการเติบโตร้อยละ 45.11การส่งออกของไทยฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งเนื่องจากอุปสงค์ทั่วโลกปรับตัวขึ้นท่ามกลางความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนโควิด -19 ทั่วโลกอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
เศรษฐกิจไทยดิ่งหนัก
เศรษฐกิจของไทยติดหล่มอยู่ในภาวะหดตัวติดต่อกัน 5 ไตรมาส โดยเริ่มจากการลดลง 1.8% ในไตรมาสแรกของปี พ.ศ.2563 ตามด้วยการดิ่งลง 12.2% ในไตรมาสที่สองโดยไตรมาสที่สาม หดตัวรุนแรงเล็กน้อยที่ 6.4% และลดลงเหลือ 4.2% ในไตรมาสสุดท้าย และเหลือเพียง 2.6% ในไตรมาสแรกของปีนี้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนเมษายน ที่วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ยังเพิ่มขึ้น 3.41% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 8 ปี 4 เดือนอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
สภาพัฒน์ฯเผยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอาจไม่ฟื้นตัว จนกว่าจะถึงปี’2569
ประเทศไทยอาจต้องใช้เวลาอีกห้าปี ก่อนที่การท่องเที่ยวจะฟื้นตัวเต็ม ซึ่งเป็นลางไม่ดีต่อประเทศที่เศรษฐกิจพึ่งพาการท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่อ้างอิงจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้เปิดเผยว่ากว่าที่การท่องเที่ยวไทยจะฟื้นตัวจนกลับสู่ภาวะปกติอาจใช้เวลานานถึงปี พ.ศ.2569อ่านต่อ ...
การส่งออกเดือน เม.ย. มีแนวโน้มโตมากกว่า 10%
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การส่งออกของไทยยังคงมีการเติบโตที่ดีและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% ในเดือนเมษายนนายจุรินทร์เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่าการส่งออกของประเทศผ่านจุดต่ำสุด โดยการส่งออกไปต่างประเทศในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% มูลค่า 1.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (6 แสนล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันเมื่อปีที่แล้วโดยทางกระทรวงมีกำหนดจะประกาศตัวเลขการส่งออกของเดือนเมษายนในวันอังคารหน้าอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
จำนวนระดมทุนสตาร์ทอัพไทยลดฮวบ ด้วยพิษโควิด
Techsauce สื่อเทคโนโลยีชื่อดังเผยจำนวนข้อตกลงการระดมทุนสตาร์ทอัพลดลงเหลือ 30 ในปี พ.ศ.2564 ลดลงจาก 41 ในปีก่อนหน้า เนื่องจากการลงทุนมุ่งเน้นไปที่บริษัท ต่างๆที่อยู่ในช่วงเติบโตอย่างไรก็ตามการลงทุนทั้งหมดในสตาร์ทอัพภายในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 364 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.1 หมื่นล้านบาท) ในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นจาก 109 ล้านดอลลาร์ ในปี พ.ศ.2562โดยนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 มีการลงทุนในสตาร์ทอัพไทยทั้งหมด 845 ล้านดอลลาร์อ่านต่อ ...
สุจิตร ลีสงวนสุข
โควิดระลอก 3 ทำระบบการเงินไทยเสี่ยงสูงขึ้น
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยระบบการเงินของไทยมีความเสี่ยงมากขึ้นจากผลกระทบเชิงลบหลังโควิด-19 เกิดระบาดระลอกใหม่สถานการณ์ทางการเงินของครัวเรือนไทยมีความเปราะบางมากขึ้น โดยสะท้อนจากอัตราส่วนหนี้สินต่อรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆตามรายงานการประชุมฉบับแก้ไขของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ระบุ หนี้ครัวเรือนส่วนใหญ่ประกอบด้วยสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง ส่งผลให้ภาระการชำระหนี้ต่อเดือนอยู่ในระดับสูงตามอ่านต่อ ...
สมฤดี บ้านช้องด้วง
ธนาคารออมสินระงับการขอสินเชื่อ หลังยอดลงทะเบียนพุ่ง
ในวันพฤหัสบดีนี้ ธนาคารออมสิน (GSB) หยุดรับคำขอสินเชื่อ เพื่อเยียวยาโควิด-19 ชั่วคราว เนื่องจากคำขอมากกว่า 100,000 คำขออยู่ระหว่างดำเนินการในระบบท่ามกลางกระแสฟันเฟืองออนไลน์ นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสินกล่าวในแถลงการณ์ว่า “เราคาดว่าจะกลับมาดำเนินการขอสินเชื่อได้อีกครั้งในต้นสัปดาห์หน้า”เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ธนาคารได้เปิดให้กลุ่มที่ได้รับผลกระทบลงทะเบียน เพื่อขอสินเชื่อซึ่งปลอดการชำระหนี้ในช่วงหกเดือนแรก ผ่านแอปพลิเคชันธนาคารออนไลน์ MyMo โดยเริ่มจากพื้นที่สีแดงเข้มอ่านต่อ ...
โควิดระลอกสามเขย่าเศรษฐกิจไทย
ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศกำลังดิ้นรนกับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด -19 ในขณะที่ประเทศหลายนี้ต่างรอการเริ่มโครงการฉีดวัคซีนจำนวนมาก เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดระบบการเงินของไทยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาระลอกล่าสุด และธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่าเศรษฐกิจของประเทศมีความเสี่ยงมากขึ้นอ่านต่อ ...
ธปท.กังวลเอ็นพีแอลพุ่ง ในกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กังวลตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เนื่องจากโควิด -19 ระลอกที่ 3ทั้ง ธปท. และสถาบันการเงินมีความกังวลเกี่ยวกับ NPL ที่เพิ่มขึ้นในภาคการท่องเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวที่รวมถึงธุรกิจการบิน การขนส่ง และร้านอาหาร ซึ่งกำลังประสบปัญหาอย่างหนักจากการระบาดอ่านต่อ ...
สมฤดี บ้านช้องด้วง
เศรษฐกิจไทยหดตัว 2.6% ในไตรมาส 1
เศรษฐกิจไทยหดตัวร้อยละ 2.6 ในไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งดีขึ้นหลังจากหดตัวร้อยละ 4.2 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากได้รับปัจจัยหนุนจากภาคการผลิตภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การฟื้นตัวของการผลิตนอกภาคเกษตร การเร่งลงทุนภายในประเทศ การเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายจากรัฐบาล และการส่งออกสินค้าที่ดีขึ้นอย่างไรก็ตามการระบาดระลอกใหม่ของเชื้อโควิด-19 ในช่วงปลายปี พ.ศ.2563 ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการใช้จ่าย เพื่อการบริโภคภาคเอกชนกระตุ้นให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์ฯ) ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นครั้งที่สอง เป็นร้อยละ 1.5-2.5 จาก 2.5-3.5 ในวันที่ 15 ก.พ. และเทียบกับการเติบโตร้อยละ 3.5-4.5 ในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์