ข่าว

เศรษฐกิจไทยหดตัว 2.6% ในไตรมาส 1

เศรษฐกิจไทยหดตัวร้อยละ 2.6 ในไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งดีขึ้นหลังจากหดตัวร้อยละ 4.2 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากได้รับปัจจัยหนุนจากภาคการผลิตภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การฟื้นตัวของการผลิตนอกภาคเกษตร การเร่งลงทุนภายในประเทศ การเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายจากรัฐบาล และการส่งออกสินค้าที่ดีขึ้นอย่างไรก็ตามการระบาดระลอกใหม่ของเชื้อโควิด-19 ในช่วงปลายปี พ.ศ.2563 ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการใช้จ่าย เพื่อการบริโภคภาคเอกชนกระตุ้นให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์ฯ) ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นครั้งที่สอง เป็นร้อยละ 1.5-2.5 จาก 2.5-3.5 ในวันที่ 15 ก.พ. และเทียบกับการเติบโตร้อยละ 3.5-4.5 ในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วอ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์

นักเศรษฐศาสตร์รอยเตอร์คาดเศรษฐกิจไทยอาจหดตัวในไตรมาสที่ 1

ตามการสำรวจของรอยเตอร์เผยเศรษฐกิจไทยอาจหดตัวอีกครั้งในไตรมาสแรกของปีนี้ เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาส่งผลกระทบต่อการบริโภคและการท่องเที่ยวทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจช้าลงเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งพึ่งพาการท่องเที่ยวอย่างมากตามการประมาณการค่ามัธยฐานของนักเศรษฐศาสตร์ 11 คนในแบบสำรวจเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะหดตัวร้อยละ 3.3 ในไตรมาสแรก เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และหดตัวถึงร้อยละ 4.2 ในไตรมาสสุดท้ายของปี พ.ศ.2564อ่านต่อ ...

โชคร้ายจากโควิดระลอกที่ 3 ในไทย

การระบาดใหญ่ระลอกที่สามทำให้ธุรกิจต่างเสียขวัญ หลังก่อนหน้านี้เชื่อว่าจะสามารถฟื้นตัวได้ในปีนี้ หลังจากที่โควิด-19 กระทบต่อรายได้ในปี พ.ศ.2563 อย่างหนักจากความซับซ้อนของโควิด -19 สายพันธุ์อังกฤษที่แพร่ระบาดมากขึ้น โดยการระบาดระลอกที่สามนี้มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 1,000 คนต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน โดยมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นเลขสองหลักต่อวัน ขณะที่หน่วยวิจัยของธนาคารหลายแห่งได้ปรับลดแนวโน้มจีดีพี ปี พ.ศ.2564อ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจปี’40

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของประเทศไทยลดลงสู่ 46 จุดในเดือนเมษายนจาก 48.5 จุดในเดือนมีนาคม ม.หอการค้าไทย ซึ่งรวบรวมรายงานประจำเดือน เปิดเผยว่า ดัชนีดังกล่าวต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2541 เนื่องจากผลกระทบของการระบาดของโรคโควิด-19 ล่าสุดนายธนวรรธน์ พลวิชัย  ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า “ผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปราะบางหลังจากการระบาดระลอกที่ 3 ซึ่งทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันพุ่งแตะ 4 หลักต่อเนื่องกัน อีกทั้งยอดผู้เสียชีวิตในแต่ละวันยังพุ่งแตะสองหลัก”อ่านต่อ ...

ธปท.ปรับลดแนวโน้มการเติบโต

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีแนวโน้มที่จะลดการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของปีนี้ลด จากการคาดการณ์ครั้งก่อนที่ร้อยละ 3นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาคกล่าวว่า ธปท.กำลังติดตามผลกระทบของระลอกที่ 3 โดยอาจมีการปรับการเติบโตลง เนื่องจากผลกระทบของการระบาดระลอกใหม่ต่อการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอีกครั้งอ่านต่อ ...

สมฤดี บ้านช้องด้วง

ม.หอการค้าเตือน’ ไทยสูญรายได้กว่า 1 แสนล้านบาทต่อเดือน หลังเกิดระบาดระลอกใหม่

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเตือนว่า เศรษฐกิจของไทยอาจสูญเสียเงินถึง 1 แสนล้านบาท (3.2 พันล้านดอลลาร์) ต่อเดือน เนื่องจากประเทศกำลังต่อสู้กับไวรัสโคโรนาระลอกที่สามมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยกล่าวว่า การระบาดระลอกล่าสุดสามารถก่อให้เกิดการปลดแรงงานมากถึง 149,000 คนต่อเดือน โดยส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมบริการและภาคการท่องเที่ยว ซึ่งได้รับความเสียหายจากการระบาดของโควิดผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี ม.หอการค้าไทย กล่าวบรรยายสรุปว่ามหาวิทยาลัยคาดกาณ์การระลอกใหม่จะสามารถควบคุมได้ภายในสองหรือสามเดือนเหมือนการระบาดครั้งก่อน แต่กล่าวว่ามีแนวโน้มที่จะลดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ลงร้อยละ 1.2 เหลือร้อยละ 1.8 อ่านต่อ ...

ศูนย์วิจัยกสิกรปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี พ.ศ.2564 จากร้อยละ 2.6 เป็นร้อยละ 1.8 ตามการแพร่ระบาดของโควิด -19 ล่าสุดในประเทศศูนย์วิจัยกล่าวว่าการปรับลดดังกล่าวเกิดขึ้นแม้จะมีปัจจัยบวก เช่นการส่งออกที่เพิ่มขึ้น รวมถึงมาตรการแก้ไขของรัฐบาลทั้งในปัจจุบันและอนาคตอ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

แนวทางเศรษฐกิจของไทยต่อการระบาดระลอกที่สาม

การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยอาจล่าช้าออกไปอีก เนื่องจากประเทศต้องเผชิญกับการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกที่ 3 ซึ่งอาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และอุตสาหกรรมที่เปราะบางอยู่แล้วจนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ประเทศได้รับการพิจารณาว่ามีผลงานที่โดดเด่นในการรับมือกับผู้ป่วยโรคโควิด -19 แต่กำลังโดนคลื่นระลอกใหม่ซัดมา ซึ่งเริ่มต้นที่ตลาดสดบางแคเมื่อเกือบ 3 สัปดาห์ที่แล้ว และเมื่อไม่นานมานี้ บาร์และผับชั้นสูงในย่านทองหล่อและเอกมัยเกิดการระบาดขึ้นอ่านต่อ ...

ส.อ.ท.กังวลเศรษฐกิจไทยมืดมน จากการระบาดระลอกใหม่

การระบาดของโรคโควิด -19 ระลอกใหม่ ได้สร้างความตกตะลึงให้กับคนไทยด้วยไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ควบคุมได้ยากยังคงสร้างความกังวลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้านสุขภาพ ทางเศรษฐกิจและเพิ่มภาระทางการเงินการคลังให้กับรัฐบาล ซึ่ง ณ ขณะนี้จีดีพีอาจโตไม่ถึงเป้าหมายเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เตือนรัฐบาลเกี่ยวกับโอกาสที่จะหารายได้หรือกู้เงินเพิ่ม เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์

รัฐบาลคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ร้อยละ 7

รัฐบาลไม่มีแผนที่จะปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในปีนี้ที่ร้อยละ 4นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ประเทศไทยได้กำหนดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ร้อยละ 10 ตามประมวลรัษฎากรนับตั้งแต่เปลี่ยนจากระบบภาษีการค้าเป็นระบบภาษีมูลค่าเพิ่มในปี พ.ศ.2535 แต่ได้ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มลงอ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

wWzjB
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!